สิ่งที่พึงระวังในการเผยแผ่ศาสนาผ่านโลกออนไลน์
  จำนวนคนเข้าชม  1751


สิ่งที่พึงระวังในการเผยแผ่ศาสนาผ่านโลกออนไลน์ 

 

อิสมาอีล กอเซ็ม เรียบเรียง

 

     มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺผู้อภิบาลแห่งสากลโลก 

         

     การที่บุคคล คนหนึ่งได้รับความรู้ความเข้าใจในศาสนาของอัลลอฮฺ บุคคลผู้นั้นย่อมมีภาระหน้าที่มากมาย ในการเผยแผ่ความรู้ 

 

     ภาระประการแรกคือ การนำความรู้มาปฏิบัติกับตัวเอง และสั่งสอนความรู้แก่บุคคลที่อยู่ภายใต้การปกครอง ตลอดจนเครือญาติ และบุคคลทั่วไป เพราะการที่เรามีความรู้แล้วไม่ปฏิบัติตามความรู้ และไม่นำความรู้ไปเผยแผ่ เราก็เป็นบุคคลที่มีลักษณะคล้ายกับบรรดาผู้รู้ของชาวยิว ที่ไม่ปฏิบัติตามความรู้ และปกปิดความรู้ที่ถูกต้อง ไม่นำความรู้ที่ถูกต้องไปเผยแผ่แก่ผู้คน 

 

          ดังนั้น หากผู้ที่มีความรู้ ลุกขึ้นมาทำการเผยแผ่พร้อมกัน ร่วมมือกันคนละเล็กคนละน้อย เช่น สอนอัลกุรอ่าน สอนหะดีษ สอนมารยาทอิสลาม การอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน และอีกมากมายที่เราสามารถทำการสอนผู้คน ใครที่ได้รับความรู้ ความเข้าใจในศาสนาแต่ไม่ได้ทำการเผยแผ่ความรู้ที่ตัวเองมี คนคนนั้นเข้าข่ายในการปกปิดความรู้ ซึงคนที่ปกปิดความรู้นั้นมีโทษมากมาย

 

อัลลอฮฺ ตาอาลาได้ตรัสไว้ว่า 

 

قال الله تعالى: {إِنَّ الَّذِينَ يَكْتُمُونَ مَا أَنْزَلْنَا مِنَ الْبَيِّنَاتِ وَالْهُدَى مِنْ بَعْدِ مَا بَيَّنَّاهُ لِلنَّاسِ فِي الْكِتَابِ أُولَئِكَ يَلْعَنُهُمُ اللَّهُ وَيَلْعَنُهُمُ اللَّاعِنُونَ [159] إِلَّا الَّذِينَ تَابُوا وَأَصْلَحُوا وَبَيَّنُوا فَأُولَئِكَ أَتُوبُ عَلَيْهِمْ وَأَنَا التَّوَّابُ الرَّحِيمُ [160]} [البقرة: 

 

     “แท้จริงบรรดาผู้ที่ปิดบังหลักฐานอันชัดเจน (1) และข้อแนะนำอันถูกต้องที่เราได้ให้ลงมาหลังจากที่เราได้ชีแจงมันไว้แล้วในคัมภีร์ สำหรับมนุษย์นั้น ชนเหล่านี้แหละอัลลอฮ์จะทรงขับไล่พวกเขาให้พ้นจากความเมตตาของพระองค์ และผุ้สาปแช่งทั้งหลายก็จะสาปแช่งพวกเขาด้วย

 

     “ นอกจากผู้ที่สำหนึกผิดกลับเนื้อกลับตัว และปรับปรุงแก้ไข และชี้แจงสิ่งที่ปกปิดไว้ (1) ชนเหล่านี้ข้าจะอภัยโทษให้แก่พวกเขา และข้าคือผู้อภัยโทษ และเมตตาเสมอ

 

(1) หมายถึงอะฮ์ลุลกิตาบ

 

          ในอายะห์นี้แม้จะกล่าวถึงชาวคัมภีร์ แต่ครอบคลุมทุกคนที่มีคุณลักษณะแบบพวกเขา ในมีคุณลักษณะไม่รับผิดชอบกับความรู้ที่ตัวเองได้รับ และถือว่าอยู่ในข่ายของผู้ที่จะได้รับการลงโทษผู้ทีแสวงหาวิชาความรู้ด้านศาสนา แต่หวังผลประโยชน์ทางโลกดุนยา

 

وَعَنْ أَبي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ: قَالَ رَسُولُ الله: «مَنْ تَعَلَّمَ عِلْماً مِمَّا يُبْتَغَى بهِ وَجْهُ الله عَزَّ وَجَلَّ لاَ يَتَعَلَّمُهُ إِلاَّ لِيُصِيبَ بهِ عَرَضاً مِنَ الدُّنْيَا لَمْ يَجِدْ عَرْفَ الجَنَّةِ يَوْمَ القِيَامَةِ يَعْنِي رِيحَهَا». أخرجه أبو داود وابن ماجه.

 

     มีรายงานจากท่านอบี อบูฮุรอยรเราะห์ รอฎิยัลลอฮูอันฮู ท่านได้กล่าว ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า 

 

     “บุคคลใดได้แสวงหาวิชาความรู้จากสิ่งที่ต้องแสวงหามัน เพื่อความพอใจของอัลลอฮฺผู้ทรงเกียติรผู้ทรงสูงส่ง โดยที่เขาได้แสวงหาความรู้นั้น เพียงแค่ให้เขาได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินชีวิตในโลกนี้เท่านั้น เขาจะไม่พบกลิ่นไอของสวรรค์ในวันกิยามะห์ หมายถึงกลิ่นไอของสวรรค์

 

         ปัจจุบันสำหรับนักเผยแผ่ศาสนา มีสื่อมากมายที่สามารถใช้มาทำการเผยแผ่ คำสอนของอิสลาม โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ จากการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันในการสื่อสาร ซึ่งมีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่รวดเร็ว และหลายช่องทาง ไม่ว่ารูปแบบจดหมายอีเมลล์ รูปแบบเสียง รูปแบบวีดีโอ หรือการถ่ายทอดสดผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก แต่แน่นอนการเผยแผ่ศาสนาไม่ว่าเราจะใช้สื่อตัวไหน เจตนาของเราต้องมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ 

 

     เพราะหัวใจของการทำอิบาดะห์นั้น มีเงื่อนไขที่จะทำให้การอิบาดะห์นั้นถูกตอบรับ เงื่อนไขที่ว่าคือ 

     1. มีความบริสุทธิ์ในการประกอบอิบาดะห์เพื่ออัลลอฮฺ 

     2. ตรงตามแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม 

     นี่คือสองเงื่อนไขสำคัญที่เราทำการอิบาดะห์ เราทุกคนเป็นมนุษย์ธรรมดา ที่มีอารมณ์ รัก โลภ โกรธหลง รักที่ลาภยศสรรเสริญ ดังนั้นการต้องการการชมเชยเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นในหัวใจของมนุษย์ทุกคนได้ 

 

        สิ่งที่นักเผยแผ่ศาสนาที่สมควรระวังคือ การโอ้อวดในการงานที่เราทำ เช่นการเผยแผ่ในโลกออนไลน์ ย่อมมีคนติดตามกดไลค์กดแชร์ หรือยอดวิวของคลิบวีดีโอ ที่เราทำการนำขึ้นสู่โลกออนไลน์ เพราะการงานที่โอ้อวดนั้นจะมาทำให้การงานที่ดีของเราเป็นโมฆะไม่ถูกตอบรับจาก อัลลอฮฺ ซุบหานาฮูวาตาอาลา และตัวอย่างที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ได้เปรียบเทียบเรื่องของการโอ้อวดในการทำอิบาดะห์นั้น มันคือการตั้งภาคีที่ซ่อนเร้น ที่ผู้กระทำแทบไม่รู้ตัวว่าการโอ้อวดเข้ามาในจิตใจของเขาในตอนไหน 

 

قال النبي صل الله عليه وسلم ( إِنَّ أَخْوَفَ مَا أَخَافُ عَلَيْكُمْ الشِّرْكُ الْأَصْغَرُ . قَالُوا : وَمَا الشِّرْكُ الْأَصْغَرُ يَا رَسُولَ اللَّهِ ؟ قَالَ : الرِّيَاءُ )

 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ได้กล่าวว่าแท้จริงสิ่งที่ฉันกลัวว่ามันจะเกิดขึ้นกับพวกเจ้า ก็คือการตั้งภาคีเล็ก 

     พวกเขากล่าวว่า "อะไรคือการตั้งภาคีเล็ก โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ?"

     ท่านกล่าวว่าการโอ้อวด

 

        ปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีผู้คนจำนวนมาก ที่ได้ถ่ายทอดพฤติกรรมของตัวเองผ่านโลกออนไลน์ โดยที่เราไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า ใครมีเจตนาอย่างไร แต่หากเราเป็นผู้หนึ่งที่ใช้สื่อออนไลน์สิ่งหนึ่งที่พึงระวัง คือการมีเจตนาจากการกระทำของเรา เพื่อการโอ้อวดและผลประโยชน์จากโลกดุนยา หลงภาคภูมิใจต่อยอดไลค์ ยอดแชร์ ยอดวิว การงานที่ดีๆของเราจะสูญเปล่า เพราะการโอ้อวดที่มาปนเปื้อนกับเจนาของเรา 

 

         ขอต่ออัลลอฮฺ ซุบหานาฮูวาตาอาลา ได้ประทานความบริสุทธิ์ในการงานของเราเพื่อพระองค์ และขอพระองค์ได้โปรดตอบรับการงานของเรา