เพราะอะไร เราจึงถือศีลอด ?
  จำนวนคนเข้าชม  2811


เพราะอะไร เราจึงถือศีลอด ?

 

แปลเรียบเรียง .อาบีดีน พัสดุ

 

          พวกท่านทั้งหลายพึงทราบเถิด ขออัลลอฮฺทรงสอนฉันและพวกท่าน ที่จริงแล้วมีขอชี้ขาดและเป้าหมายต่างๆอันสูงส่ง และด้วยสิ่งเหล่านั้น อัลลอฮฺทรงบัญญัติการถือศีลอดให้เป็นฟัรฏูเหนือพวกเรา เพราะฉะนั้น นี่คือจุดมุ่งหมายบางประการ และเจตนาที่ผู้เป็นมุสลิม สมควรที่จะให้เป็นเป้าประสงค์ของพวกเขาในการถือศีลอด


 

     ประการที่ ท่านถือศีลอด เพราะท่านเป็นมุสลิม ท่านศรัทธาว่าอัลลอฮฺเป็นพระเจ้า ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม และศรัทธาว่าท่านนบีมุฮัมมัด ซ็อลฯ เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ 

 

     มุสลิมก็คือ ผู้ที่น้อมรับสิ่งที่อัลลอฮฺทรงบัญญัติ

 

﴿ إِنَّمَا كَانَ قَوْلَ الْمُؤْمِنِينَ إِذَا دُعُوا إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ لِيَحْكُمَ بَيْنَهُمْ أَنْ يَقُولُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا وَأُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ *

وَمَنْ يُطِعِ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَيَخْشَ اللَّهَ وَيَتَّقْهِ فَأُولَئِكَ هُمُ الْفَائِزُونَ ﴾ [النور: 51، 52]،

 

     “แท้จริงคำกล่าวของบรรดาผู้ศรัทธา เมื่อพวกถูกเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์เพื่อให้ตัดสินระหว่างพวกเขา พวกเขาจะกล่าวว่า เราได้ยินแล้ว และเราเชื่อฟังปฏิบัติตาม และชนเหล่านี้พวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ

     และผู้ใดเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ และเกรงกลัวอัลลอฮฺและยำเกรงพระองค์แล้ว ดังนั้น ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ได้รับชัยชนะ

 

     มุสลิมคือผู้ที่รวมไว้ซึ่งหลักอันสำคัญห้าประการ ดังที่ปรากฏในฮาดีษ , จากท่านอิบนุอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

((بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ: شَهَادَةِ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ، وأقام الصَّلَاةِ، وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ، وَالْحَجِّ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ)) 

 

อิสลามนั้นตั้งอยู่บน ประการด้วยกันคือ การปฏิญานตน أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ

การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด , การจ่ายซากาต , การทำฮัจญ์ , และการถือศีลอดเดือนรอมฏอน 

 

          ท่านอิบนุ บัฏฏอล ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า ท่านมุฮฺลับ กล่าวว่า นี่คือหลักห้าประการแห่งอิสลาม ที่เป็นสาเหตุให้อิสลามคงอยู่ อิสลามได้ยึดโยงกับหลักห้าประการนี้ และการที่ยังคงมีหลักห้าประการนี้อยู่ เลือดเนื้อและทรัพย์จะได้รับการพิทักษ์ปกป้อง ท่านมิได้พิจารณาคำกล่าวของท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม หรอกหรือ

 

((أُمرت أن أقاتل الناس حتى يقولوا لا إله إلا الله وأنَّ محمدًا رسول الله، ويقيموا الصلاة، ويؤتوا الزكاة، فإذا فعلوا ذلك عصموا مني دماءهم وأموالهم، إلَّا بحقِّها، وحسابهم على الله))

 

     “ฉันถูกสั่งใช้เพื่อต่อสู้กับมนุษย์ จนกว่าพวกเขาจะปฏิญานว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมมัดคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ และจนกว่าพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาด จนกว่าพวกเขาจะจ่ายซากาต

     ดังนั้น เมื่อพวกเขาปฏิบัติตามสิ่งดังที่กล่าวมานั้นแล้ว เลือดเนื้อและทรัพย์สินของพวกเขาย่อมได้รับการคุ้มครองจากฉัน เว้นแต่ด้วยสิทธิของอิสลาม และการสอบสวนของพวกเขาเป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺ"

 

          และด้วยคำกล่าวนี้เองท่านอบูบักร อัศศิดดี๊กได้ใช้เป็นเหตุผลและหลักการในการทำสงครามกับบรรดาพวกออกนอกศาสนาโดยที่พวกเขาไม่ยอมออกซากาต 

    และท่าน (อบูบักร) กล่าวว่าขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แน่นอนที่สุดฉันจะต่อสู้กับผู้ที่แบ่งแยกระหว่างการละหมาดและการจ่ายซากาต เพราะแท้จริงแล้วซากาตคือสิทธิของทรัพย์สิน

          แล้วบรรดาซอฮาบะฮฺทั้งหมดก็เห็นพ้องกับท่านในเรื่องดังกล่าว

 



     ประการที่ เพราะอัลลอฮฺทรงรักการถือศีลอดและบรรดาผู้ถือศีลอด ดังนั้นพวกเราจึงถือศีลอดเพื่อให้ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ

 

          แท้จริงท่านนบีได้ทรงบอกแก่พวกเราว่าอัลลอฮฺทรงรักการถือศีลอด จากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

((قَالَ اللَّهُ: كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ لَهُ إِلَّا الصِّيَامَ فَإِنَّهُ لِي، وَأَنَا أَجْزِي بِهِ، وَالصِّيَامُ جُنَّةٌ، وَإِذَا كَانَ يَوْمُ صَوْمِ أَحَدِكُمْ فَلَا يَرْفُثْ وَلَا يَصْخَبْ، فَإِنْ سَابَّهُ أَحَدٌ أَوْ قَاتَلَهُ فَلْيَقُلْ: إِنِّي امْرُؤٌ صَائِمٌ، وَالَّذِي نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ، لَخُلُوفُ فَمِ الصَّائِمِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ، لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ يَفْرَحُهُمَا: إِذَا أَفْطَرَ فَرِحَ، وَإِذَا لَقِيَ رَبَّهُ فَرِحَ بِصَوْمِهِ

 

     “อัลลอฮฺได้ตรัสว่า : การงานทุกอย่างของมนุษย์ทั้งหมดนั้นเป็นสิทธิ์ของเขาเองยกเว้นการถือศีลอดเพราะมันเป็นสิทธิ์ของข้า และข้าเป็นผู้ตอบแทนในสิ่งนี้

     และการถือศีลอดนั้นเป็นโล่กำบัง ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าเป็นวันถือศีลอดของคนหนึ่งในหมู่พวกท่านก็จงอย่าได้พูดจาหยาบคาย และอย่าได้ตะโกนเสียงดัง(ทะเลาะวิวาทกัน) และเมื่อมีคนหนึ่งได้ด่าทอเขาหรือวิวาทกับเขาก็ให้เขาจงกล่าวว่า ฉันนี้เป็นผู้ที่ถือศีลอด

     และขอสาบานด้วยชีวิตของมุหัมมัดที่อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงแล้วลมปากของผู้ที่ถือศีลอดนั้นหอมหวล อัลลอฮฺยิ่งกว่าน้ำหอมมิสกฺ(ชะมดเชียง)เสียอีก

     สำหรับผู้ที่ถือศีลอดนั้นมีความดีใจสองคราด้วยกัน ครั้งที่หนึ่งคือ เมื่อได้ละศีลอดเขาก็ดีใจที่ได้ละศีลอด ครั้งที่สองคือ เมื่อได้ไปพบกับพระเจ้าของเขา เขาก็ดีใจด้วยการถือศีลอดของเขา

 

          ฮาดีษบทนี้ถือเป็นแรงผลักดันอันสำคัญ ที่ผลักดันให้มุสลิมเร่งรีบไปสู่การถือศีลอดในเดือนดังกล่าว , เพราะผู้ที่รักนั้น จะรักในสิ่งที่ผู้เป็นที่รักของเขารัก

 



     ประการที่ เราถือศีลอดในเดือนรอมฏอน เพราะการถือศีลอดจะเป็นโล่และเครื่องป้องกันให้พ้นจากการกระทำความผิดและการฝ่าฝืนในรูปแบบต่างๆ

 

         พี่น้องผู้ร่วมศรัทธาทั้งหลาย ส่วนหนึ่งจากเป้าหมายของเดือนรอมฏอนซึ่งผู้ที่ถือศีลอดจะได้ประสบกับผลของมันในชีวิตประจำวันของเขาก็คือ การถือศีลอดจะเป็นสิ่งที่ป้องกันจากการตกอยู่ในบาปและการฝ่าฝืน จากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ แท้จริงท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

((الصِّيَامُ جُنَّةٌ، فَلَا يَرْفُثْ، وَلَا يَجْهَلْ، وَإِنْ امْرُؤٌ قَاتَلَهُ أَوْ شَاتَمَهُ فَلْيَقُلْ: إِنِّي صَائِمٌ مَرَّتَيْنِ، وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، لَخُلُوفُ فَمِ الصَّائِمِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللَّهِ تَعَالَى مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ، يَتْرُكُ طَعَامَهُ وَشَرَابَهُ وَشَهْوَتَهُ مِنْ أَجْلِي، الصِّيَامُ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ، وَالْحَسَنَةُ بِعَشْرِ أَمْثَالِهَا))[4]

 

     "การถือศีลอดนั้นเป็นโล่ป้องกัน (คือป้องกันไม่ให้ผู้ถือศีลอดประพฤติสิ่งที่ไม่ดี หรือป้องกันเขาจากการต้องเข้านรก)

     ดังนั้น(เมื่อผู้ใดถือศีลอด)แล้ว เขาอย่าได้พูดจาหยาบโลนและอย่าได้ประพฤติเยี่ยงผู้ที่ไร้จริยธรรม และหากแม้นมีผู้ใดต้องการทะเลาะเบาะแว้งหรือกล่าวด่าว่าร้ายเขา ก็ให้เขากล่าวแก่คนผู้นั้นว่าแท้จริงฉันเป็นผู้ถือศีลอด แท้จริงฉันเป็นผู้ถือศีลอด ,

     ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ พระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงแล้วลมปากของผู้ที่ถือศีลอดนั้นหอมหวล อัลลอฮฺยิ่งกว่าน้ำหอมมิสกฺ(ชะมดเชียง)เสียอีก

     เขาได้ละเว้นอาหาร เครื่องดื่ม อารมณ์ใคร่เพื่อข้า การถือศีลอดเป็นของข้า และข้าจะตอบแทนมันเอง และหนึ่งความดีจะได้รับการเพิ่มพูนถึงสิบเท่า"

 

     อิบนุหะญัร ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่าส่วนเจ้าของอันนิฮายะฮฺได้กล่าวว่า ความหมายของ ญุนนะฮฺ คือ ปกป้องเจ้าของของมันจากอารมณ์ฝ่ายต่ำที่จะทำร้ายเขา

 

     ท่านอัลกุรฏุบียฺ กล่าวว่า ญุนนะฮฺ คือ การปกปิด หมายถึง ตามแต่เป้าหมายของบทบัญญัติ สำหรับผู้ถือศีลอดจึงสมควรที่จะรักษาการถือศีลอดของเขาให้พ้นจากสิ่งที่จะทำให้มันเสียหาย และสิ่งที่จะทำให้ภาคผลการตอบแทนบกพร่อง ตามที่ท่านนบีได้บ่งบอกเอาไว้ว่า 

 

((فَإِذَا كَانَ يَوْم صَوْم أَحَدكُمْ فَلَا يَرْفُث...)) إِلَخْ

 

"ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าเป็นวันถือศีลอดของคนหนึ่งในหมู่พวกท่านก็จงอย่าได้พูดจาหยาบคาย"

 

          เพราะฉะนั้น เมื่อพี่น้องมุสลิมประสงค์ที่จะให้อัลลอฮฺอภัยโทษในความผิดแก่เขา ปกปิดไม่ทำให้เขาอับอาย เขาจะต้องถือศีลอด เพราะมันจะทำให้คนๆหนึ่ง ห่างไกลจากความผิดของเขา และช่วยชำระล้างเขาเหมือนดั่งการชำระล้างร่างกายด้วยน้ำ หิมะ ลูบเห็บ จากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ แท้จริงท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

: ((الصَّلَوَاتُ الْخَمْسُ وَالْجُمُعَةُ إِلَى الْجُمُعَةِ وَرَمَضَانُ إِلَى رَمَضَانَ مُكَفِّرَاتٌ مَا بَيْنَهُنَّ إِذَا اجْتَنَبَ الْكَبَائر))[5]

 

     "ช่วงเวลาระหว่าง การละหมาดห้าเวลา และระหว่างวันศุกร์หนึ่งไปยังอีกศุกร์หนึ่ง และระหว่างรอมฎอนหนึ่งไปยังอีกรอมฎอนหนึ่ง จะลบล้างความผิดในช่วงระยะเวลาระหว่างนั้น หากว่าเขาออกห่างจากการทำบาปใหญ่"

 



     ประการที่ เราถือศีลอดในเดือนรอมฏอน เพื่อให้ได้รับรางวัลการตอบแทนอย่างไม่สามารถคำนวนนับได้ ในวันกิยามะฮฺ 

 

          จากเจตนาและความตั้งใจที่ทั้งมุสลิมชายและหญิงควรจะต้องระลึกอยู่เสมอ คือการที่มุสลิมจะได้รับรางวัลการตอบแทนชนิดที่ไม่สามารถคำนวนนับได้ รางวัลของผู้ถือศีลอดอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงตอบแทนให้ จากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

((قَالَ اللَّهُ: كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ لَهُ إِلَّا الصِّيَامَ، فَإِنَّهُ لِي، وَأَنَا أَجْزِي بِهِ، وَالصِّيَامُ جُنَّة، وَإِذَا كَانَ يَوْمُ صَوْمِ أَحَدِكُمْ فَلَا يَرْفُثْ، وَلَا يَصْخَبْ، فَإِنْ سَابَّهُ أَحَدٌ أَوْ قَاتَلَهُ فَلْيَقُلْ: إِنِّي امْرُؤٌ صَائِمٌ، وَالَّذِي نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِه، لَخُلُوفُ فَمِ الصَّائِمِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ، لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ يَفْرَحُهُمَا: إِذَا أَفْطَرَ فَرِحَ، وَإِذَا لَقِيَ رَبَّهُ فَرِحَ بِصَوْمِهِ))[6]

 

     อัลลอฮฺได้ตรัสว่า : การงานทุกอย่างของมนุษย์ทั้งหมดนั้นเป็นสิทธิ์ของเขาเองยกเว้นการถือศีลอดเพราะมันเป็นสิทธิ์ของข้า และข้าเป็นผู้ตอบแทนในสิ่งนี้

     และการถือศีลอดนั้นเป็นโล่กำบัง ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าเป็นวันถือศีลอดของคนหนึ่งในหมู่พวกท่านก็จงอย่าได้พูดจาหยาบคาย และอย่าได้ตะโกนเสียงดัง(ทะเลาะวิวาทกัน) และเมื่อมีคนหนึ่งได้ด่าทอเขาหรือวิวาทกับเขาก็ให้เขาจงกล่าวว่า ฉันนี้เป็นผู้ที่ถือศีลอด

     และขอสาบานด้วยชีวิตของมุหัมมัดที่อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงแล้วลมปากของผู้ที่ถือศีลอดนั้นหอมหวล อัลลอฮฺยิ่งกว่าน้ำหอมมิสกฺ(ชะมดเชียง)เสียอีก

     สำหรับผู้ที่ถือศีลอดนั้นมีความดีใจสองคราด้วยกัน ครั้งที่หนึ่งคือ เมื่อได้ละศีลอดเขาก็ดีใจที่ได้ละศีลอด ครั้งที่สองคือ เมื่อได้ไปพบกับพระเจ้าของเขา เขาก็ดีใจด้วยการถือศีลอดของเขา


 

     ประการที่ เราถือศีลอดเพื่อที่เราจะได้เข้า (สวรรค์) ทางประตู อัรรอยยาน

 

          พึงรู้เถิดว่า ส่วนหนึ่งจากสาเหตุที่ผลักดันสู่การถือศีลอดในเดือนรอมฏอน คือการที่เราจะได้เขาสวนสวรรค์ทางประตูที่อัลลอฮฺทรงให้เป็นประตูเฉพาะสำหรับบรรดาผู้ถือศีลอด ไม่มีผู้ใดอื่นจากพวกเขาจะได้เข้าทางประตูดังกล่าว และการตอบแทนนั้นจะเป็นไปตามชนิดของการกระทำ จากท่าน ซะฮัล ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  จากท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 

 

((إِنَّ فِي الْجَنَّةِ بَابًا يُقَالُ لَهُ الرَّيَّانُ، يَدْخُلُ مِنْهُ الصَّائِمُونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، لَا يَدْخُلُ مِنْهُ أَحَدٌ غَيْرُهُمْ، يُقَالُ: أَيْنَ الصَّائِمُونَ؟ فَيَقُومُونَ، لَا يَدْخُلُ مِنْهُ أَحَدٌ غَيْرُهُمْ، فَإِذَا دَخَلُوا أُغْلِقَ، فَلَمْ يَدْخُلْ مِنْهُ أَحَدٌ))[7]

 

     "แท้จริง ในสวนสวรรค์ จะมีประตูบานหนึ่ง ที่ถูกขนานนามว่า อัร ร็อยยาน ซึ่งในวันกียามะห์ ผู้ที่ถือศีลอดเท่านั้นที่จะได้เข้าสวรรค์จากประตูบานนี้ และเมื่อบรรดาผู้ที่ถือศีลอดได้เข้าไปทุกคนแล้ว ประตูบานนี้ก็จะถูกปิด และจะไม่มีผู้ใดได้เข้าไปอีก"

 

          อัรรอยยาน เพียงแค่ชื่อของประตูก็บ่งบอกถึงความสุขสบาย เพราะฉะนั้นท่านจงพิจารณาเถิดว่า อัลลอฮฺทรงตอบแทนความหิวกระหายด้วยประตูที่มีชื่อบ่งบอกถึงการพักผ่อน แล้วท่านคิดว่าภายในจะมีความผาสุกเพียงใด 

          ดังนั้น ความผาสุกแด่ผู้ที่ให้ตัวเขาหิวกระหายเพื่อวันที่จะได้รับความชุ่มชื่นอย่างถาวร ความดีสำหรับผู้ที่ให้ตัวเองหิวเพื่อวันที่จะได้อิ่มอย่างสมบูรณ์ ความปิติยินดีแด่ผู้ที่ละทิ้งอารมณ์ฝ่ายต่ำของชีวิตชั่วคราวเพื่อวันนัดหมายที่ไม่เปิดเผยไม่เคยเห็น เมื่อใดที่ท่านมีความกระหายอย่างมาก ท่านจงยื่นมือแห่งความหวังสู่ผู้ทรงให้ความชุ่มชื่นอย่างสมบูรณ์ในวันกิยามะฮฺ

 

 

     ประการที่ การถือศีลอดและอัลกุรอ่าน ทั้งสองจะช่วยเหลือบ่าว

 

          จากเจตนาที่ท่านจำเป็นจะต้องให้มีปรากฏอยู่ในใจเสมอคือ การถือศีลอดจะช่วยเหลือท่านในวันกิยามะฮฺ ขณะอยู่ต่อหน้าพระพักต์ของอัลลอฮฺ จากท่านอับดิ้ลลาฮฺ บิน อัมรฺ แท้จริงท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 

 

((الصِّيَامُ وَالْقُرْآنُ يَشْفَعَانِ لِلْعَبْدِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، يَقُولُ الصِّيَامُ: أَيْ رَبِّ، مَنَعْتُهُ الطَّعَامَ وَالشَّهَوَاتِ بِالنَّهَارِ، فَشَفِّعْنِي فِيهِ، وَيَقُولُ: الْقُرْآنُ مَنَعْتُهُ النَّوْمَ بِاللَّيْلِ، فَشَفِّعْنِي فِيهِ، قَالَ فَيُشَفَّعَانِ))[8].

 

     "การถือศีลอดและอัลกุรอานนั้นจะมาให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวในวันกิยามะฮฺ การถือศีลอด พูดว่า

     ‘โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากอาหารและการสนองความใคร่ในยามกลางวัน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิด

     อัลกุรอานก็จะพูดว่า

     ‘โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากการหลับนอนในยามค่ำคืน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิด

     แล้วทั้งสองก็ได้รับอนุญาตเพื่อให้ความช่วยเหลือ"


 

     ประการที่ เราถือศีลอดเพื่อได้รับความปิติยินดี ทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺ

 

         พี่น้องในอิสลามทั้งหลาย แท้จริงการถือศีลอดคือสาเหตุแห่งความสุขทั้งดุนยาและอาคีเราะฮฺ ดังในฮาดีษที่เห็นพ้องกันระหว่างอิหม่ามบุคอรีและมุสลิม จากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ แท้จริงท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

 

((للصائم فرحتان: فرحة عند فطره، وفرحة عند لقاء ربِّه))

 

"สำหรับผู้ถือศีลอดนั้นมีความดีใจในสองคราด้วยกัน ดีใจในขณะที่ละศีลอด และดีใจในขณะที่พบกับองค์อภิบาลของเขา"

 

          ความปิติยินดีเมื่อเขาได้ละศีลอด ถือเป็นปฐมบทแห่งความผาสุกที่มุอฺมินได้รับในโลกดุนยานี้ ด้วยเหตุแห่งการเชื่อฟังและยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และมันคือความสุขที่แท้จริง ซึ่งความปิติยินดีในสองด้านด้วยกัน ในด้านที่หนึ่งคือ การที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติให้เขาดื่มกินในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น และจิตใจนั้นย่อมชอบที่จะกินและดื่มโดยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺด้วยการงดเว้นจากทั้งสอง

 

          ด้านที่สอง คือความดีอกดีใจที่อัลลอฮฺทรงช่วยเหลือให้สามารถถือศีลอดได้อย่างสมบูรณ์ในวันดังกล่าว และทำให้อิบาดะฮฺครบถ้วนและนี่คือสิ่งที่สูงส่งกว่าความดีใจที่ได้รับการอนุมัติให้รับประทาน

 

          บรรดาผู้ที่กลับเนื้อกลับตัวสำนึกผิดทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงละเว้นจากอารมณ์ความต้องการฝ่ายต่ำ เพื่อที่พวกท่านทั้งหลายจะได้ประสบพบเจอกับความผาสุกในวันแห่งการชุมนุม อย่าได้ทำให้ความหวังของพวกท่านยาวไกลด้วยวาระสุดท้ายที่ยังมาไม่ถึง แท้จริงวันแห่งการถือศีลอดจำนวนมากได้ผ่านพ้นไป ส่วนวันแห่งการชุมนุมนั้นได้ใกล้เข้ามา


 

     ประการที่ เราถือศีลอดในเดือนรอมฏอน เพื่อที่ลมปากของเราจะหอมหวน ยิ่งไปกว่ากลิ่นชมดเชียง ที่อัลลอฮฺ

 

       พี่น้องที่รักทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายทราบเถิดว่า ลมปากของผู้ถือศีลอดนั้นหอมหวนยิ่งไปกว่ากลิ่นชะมดเชียง ที่อัลลอฮฺ และลมปากของเขา ก็คือ กลิ่นที่มาจากกระเพาะอาหาร -เมื่อมันว่างเปล่าจากอาหาร- โดยออกมาทางปาก ซึ่งเป็นกลิ่นที่น่ารังเกียจสำหรับผู้คน แต่ทว่าเป็นที่รัก ผู้ทรงสร้าง ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า - ในฮาดีษที่บันทึกตรงกันระหว่างอิหม่ามบุคอรีและอิหม่ามมุสลิม

 

((والذي نفس محمد بيده؛ لخلوف فم الصائم أطيب عند الله مـن ريـح المسك))

 

   "ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของมุฮัมมัดอยู่ พระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงแล้วลมปากของผู้ที่ถือศีลอดนั้นหอมหวล อัลลอฮฺยิ่งกว่าน้ำหอมมิสกฺ(ชะมดเชียง)เสียอีก"

 

     อบูฮาติม กล่าวว่า สัญลักษณ์ของผู้ศรัทธาในวันกิยามะฮฺคือร่องรอยการอาบน้ำละหมาดของพวกเขาในโลกดุนยา ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างพวกเขากับประชาชาติอื่นๆ และคุณลักษณะของพวกเขาในวันกิยามะฮฺ จากการถือศีลอดของพวกเขาก็คือ ลมปากของพวกเขาจะหอมหวลยิ่งไปกว่าชะมดเชียง เพื่อจะได้เป็นที่รับรู้ถึงการรวมไว้ซึ่งอิบาดะฮฺทั้งสอง



 

คุตบะห์วันศุกร์