มนุษย์นั้นเป็นพยานต่อตนเองในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ
  จำนวนคนเข้าชม  1576


มนุษย์นั้นเป็นพยานต่อตนเองในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ

 

อาบีดีณ โยธาสมุทร...แปลเรียบเรียง

 

ดั้ฟอุอีฮามิลิฏติร้อบฯ โดยเชค มุฮัมหมัด อมีน อั้ชชันกีตี้ย์ ซูเราะฮฺ อั้ลอาดิย้าต

 

บิ้สมิ้ลลาฮิ้รร่อฮฺมานิ้รร่อฮีม คำพูดของพระองค์ ตะอาลา ที่ว่า

 

إِنَّ الْإِنسَانَ لِرَبِّهِ لَكَنُودٌ (6) وَإِنَّهُ عَلَىٰ ذَٰلِكَ لَشَهِيدٌ (7)

 

แน่นอนว่า มนุษย์เป็นพวกที่ฝ่าฝืนดื้อดึงต่อพระเจ้าของเขาจริงๆ

และแน่นอนว่าเขาเองก็เป็นพยานยืนยันในเรื่องๆนี้เองด้วย

 

          อายะฮฺนี้บ่งบอกให้ทราบไว้ว่า มนุษย์เป็นผู้ที่เป็นพยานยืนยันในการฝ่าฝืนดื้อดึงของตนเอง  ซึ่งก็หมายถึง การเป็นที่สุดของเขาในเรื่องการปฏิเสธนั่นเอง

 

          ที่จริงแล้วมีอายะฮฺอื่นๆอีกมากมายที่ให้ข้อมูลบ่งบอกไว้ขัดแย้งกับข้อมูลข้างต้น เช่น คำพูดของพระองค์ที่ว่า

 

وَهُمْ يَحْسَبُونَ أَنَّهُمْ يُحْسِنُونَ صُنْعًا )(104  الكهف)

 

ในขณะที่พวกเขาเองคิดกันว่า พวกเขานั้นได้กำลังทำให้พฤติกรรมที่มีเป็นสิ่งที่ดีเลิศกันอยู่

 

และคำพูดของพระองค์ที่ว่า

 

وَيَحْسَبُونَ أَنَّهُم مُّهْتَدُونَ (37  الزخرف)

 

และพวกเขาคิดกันว่า พวกเขานี้แหละคือพวกที่อยู่บนทางที่ถูกต้อง

 

และคำพูดของพระองค์ที่ว่า 

 

وَبَدَا لَهُم مِّنَ اللَّهِ مَا لَمْ يَكُونُوا يَحْتَسِبُونَ (47  الزمر)

 

และสิ่งที่พวกเขาไม่เคยคาดคิดกันก็ปรากฏชัดขึ้นแก่พวกเขาจากอัลลอฮฺ

 

 

ซึ่งคำตอบของกรณีนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ช่องทาง 

 

     1. การที่มนุษย์เป็นพยานว่า ตนฝ่าฝืนดื้อดึงนั้น คือ การที่สภาพของเขาได้เข้ามาเป็นพยานยืนยันด้วยการมีการฝ่าฝืนและดื้อดึงปรากฏชัดออกมานั่นเอง ซึ่งบางทีการกระทำที่เกิดขึ้นก็สามารถทำหน้าที่แทนคำพูดได้อย่างครบถ้วนพออยู่แล้ว

 

     2. การเป็นพยานของเขาต่อตนเองในเรื่องที่ว่านี้ มีขึ้นในวันกิยามะฮฺ   ดังที่คำพูดของพระองค์ที่ว่า

 

وَشَهِدُوا عَلَىٰ أَنفُسِهِمْ أَنَّهُمْ كَانُوا كَافِرِينَ (130 الأنعام)

 

และพวกเขาก็ต่างเป็นพยานยืนยันต่อตัวของพวกเขาเองว่า พวกเขาเป็นพวกที่ปฏิเสธกันมา

 

และคำพูดของพระองค์ที่ว่า 

 

فَاعْتَرَفُوا بِذَنبِهِمْ فَسُحْقًا لِّأَصْحَابِ السَّعِيرِ (11  الملك)

 

แล้วพวกเขาจึงพากันยอมรับต่อบาปของพวกเขากัน ดังนั้น ช่างห่างไกลอย่างยิ่งสำหรับพวกชาวนรก

 

และคำพูดของพระองค์ที่ว่า 

 

قَالُوا بَلَىٰ وَلَٰكِنْ حَقَّتْ كَلِمَةُ الْعَذَابِ عَلَى الْكَافِرِينَ (71 الزمر)

 

พวกเขาพูดกันว่า ใช่ครับ แต่ว่าคำแห่งการลงโทษได้เกิดขึ้นจริงต่อพวกที่ปฏิเสธเสียแล้ว

(ได้บ่งบอกเอาไว้)

 

     3. สรรพนามในคำพูดของพระองค์ที่ว่า

 

وَإِنَّهُ عَلَىٰ ذَٰلِكَ لَشَهِيدٌ (7)

 

และแน่นอนว่าเขาเองก็เป็นพยานยืนยันในเรื่องๆนี้เองด้วย” 

 

 กลับไปหาพระเจ้าของมนุษย์ซึ่งถูกมีการกล่าวถึงไว้ในคำพูดของพระองค์ที่ว่า

 

إِنَّ الْإِنسَانَ لِرَبِّهِ لَكَنُودٌ (6)

 

แน่นอนว่า มนุษย์เป็นพวกที่ฝ่าฝืนดื้อดึงต่อพระเจ้าของเขาจริงๆ

 

          ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่า ไม่มีประเด็นปัญหาใดๆในอายะฮฺนี้อีก แต่อย่างไรก็ดี การให้สรรพนามในอายะฮฺกลับไปหาคำว่า มนุษย์ นั้น สอดคล้องกับรูปแบบการสื่อความหมายของข้อความตามนัยปกติมากกว่า โดยอาศัยหลักฐานจากคำพูดของพระองค์ที่ว่า

 

وَإِنَّهُ لِحُبِّ الْخَيْرِ لَشَدِيدٌ (8)

 

และแน่นอนว่าเขาก็เป็นผู้ที่รักทรัพย์สินอย่างมากเอาเสียด้วย

 

 

และความรู้ที่เที่ยงแท้นั้นอยู่ที่อัลลอฮฺตะอาลา