คุณลักษณะพาไปสู่สวรรค์
  จำนวนคนเข้าชม  6936


คุณลักษณะพาไปสู่สวรรค์

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา แปลเรียบเรียง

 

          อัลลอฮฺทรงกล่าวถึง คุณลักษณะของมนุษย์ที่จะนำพาพวกเขาไปสู่สวรรค์ ในสูเราะฮฺ อัร-เราะอฺด์โองการ ที่ 20-24

 

الَّذِينَ يُوفُونَ بِعَهْدِ اللَّهِ وَلاَ يَنقُضُونَ الْمِيثَاقَ وَالَّذِينَ يَصِلُونَ مَا أَمَرَ اللَّهُ بِهِ أَن يُوصَلَ وَيَخْشَوْنَ رَبَّهُمْ وَيَخَافُونَ سُوءَ الْحِسَابِ وَالَّذِينَ صَبَرُواْ ابْتِغَاء وَجْهِ رَبِّهِمْ وَأَقَامُواْ الصَّلاةَ وَأَنفَقُواْ مِمَّا رَزَقْنَاهُمْ سِرًّا وَعَلانِيَةً وَيَدْرَؤُونَ بِالْحَسَنَةِ السَّيِّئَةَ أُوْلَئِكَ لَهُمْ عُقْبَى الدَّارِ جَنَّاتُ عَدْنٍ يَدْخُلُونَهَا وَمَنْ صَلَحَ مِنْ آبَائِهِمْ وَأَزْوَاجِهِمْ وَذُرِّيَّاتِهِمْ وَالْمَلائِكَةُ يَدْخُلُونَ عَلَيْهِم مِّن كُلِّ بَابٍ

سَلامٌ عَلَيْكُم بِمَا صَبَرْتُمْ فَنِعْمَ عُقْبَى الدَّارِ

 

   - 20 "บรรดาผู้ให้ครบถ้วนซึ่งสัญญาณของอัลลอฮ์และไม่บิดพริ้วข้อตกลง"

   - 21 "และบรรดาผู้เชื่อมสัมพันธ์ที่อัลลอฮทรงบัญชาให้เขาเชื่อมสัมพันธ์ และยำเกรงพระเจ้าของพวกเขา และกลัวการมีบัญชีที่ชั่ว"

   - 22 "และบรรดาผู้อดทนโดยหวังพระพักตร์ (ความโปรดปราน) ของพระเจ้าของพวกเขา และดำรงการละหมาดและบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา โดยซ่อนเร้นและเปิดเผย และพวกเขาขจัดความชั่วด้วยความดี ชนเหล่านั้นสำหรับพวกเขาคืนที่พำนักในปั้นปลายที่ดี"

   - 23 "สวนสวรรค์ทั้งหลายอันสถาพร พวกเขาจะเข้าไปอยู่พร้อมกับผู้ทำดีจากบรรพบุรุษของพวกเขา และคู่ครองของพวกเขา และบรรดาลูกหลานของพวกเขา และมะลาอิกะฮ์จะเข้ามาหาพวกเขาจากทุกประตู (ของสวนสวรรค์)"

   - 24 (พร้อมกับกล่าวว่า) ความศานติจงมีแต่พวกท่าน เนื่องด้วยพวกท่านได้อดทน มันช่างดีเสียนี่กระไรที่พำนักบั้นปลายนี้

 

     คุณลักษณะของมนุษย์ที่จะนำพาพวกเขาไปสู่สวรรค์ ในสูเราะฮฺ อัร-เราะอฺด์โองการ ที่ 20-24 ดังนี้

 

-♦- ผู้ที่ให้รักษาสัญญาณของอัลลอฮ

-♦- ผู้ที่ไม่บิดพลิ้วข้อตกลงต่างๆของอัลลอฮ

-♦- ผู้เชื่อมสัมพันธ์ต่อเครือญาติตามที่อัลลอฮทรงบัญชา

-♦- ผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ

-♦- ผู้ที่กลัวการมีบัญชีที่ชั่ว

-♦- ผู้ที่อดทนโดยหวังความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ

-♦- ผู้ที่ดำรงการละหมาด

-♦- ผู้ที่บริจาคโดยซ่อนเร้นและเปิดเผย

-♦- ผู้ที่ขจัดความชั่วด้วยความดี

-♦- ผู้ที่ให้รักษาสัญญาณและไม่บิดพลิ้วข้อตกลงต่างๆของอัลลอฮ

 

อย่าปฏิเสธและดื้อดึง

การตั้งภาคีคือบาปที่ใหญ่ที่สุด ถือว่าเป็นการอธรรมที่ใหญ่หลวงมาก อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

إِنَّ الشِّرْكَ لَظُلْمٌ عَظِيمٌ

 

เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์ โดยแน่นอน

( ลุกมาน13 )

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

وَمِنَ النَّاسِ مَن يَتَّخِذُ مِن دُونِ اللّهِ أَندَاداً يُحِبُّونَهُمْ كَحُبِّ اللّهِ وَالَّذِينَ آمَنُواْ أَشَدُّ حُبًّا لِّلّهِ وَلَوْ يَرَى الَّذِينَ ظَلَمُواْ إِذْ يَرَوْنَ الْعَذَابَ أَنَّ الْقُوَّةَ لِلّهِ جَمِيعاً وَأَنَّ اللّهَ شَدِيدُ الْعَذَابِ

 

     “และในหมู่มนุษย์นั้น มีผู้ที่ยึดถือบรรดาภาคี อื่นจากอัลลอฮ์ ซึ่งพวกเขารักภาคีเหล่านั้นเช่นเดียวกับรักอัลลอฮ์ แต่บรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นผู้ที่รักอัลลอฮ์มากยิ่งกว่า

 

     “และหากบรรดาผู้อธรรมจะได้เห็น ขณะที่พวกเขาเห็นการลงโทษอยู่นั้น (แน่นอนพวกเขาจะต้องตระหนักดีว่า) แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงลงโทษที่รุนแรง

 

อย่าได้ทรยศต่ออัลลอฮฺ

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

"يَاأَيُّهَاالَّذِيْنَ آمَنُواْ لاَتَخُوْنُوااللهَ وَالرَّسُوْلَ

 

โอ้ บรรดาผู้ที่ศรัทธาแล้วทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าได้ทรยศ คดโกงอัลลอฮฺ และร่อซูล

(ซูเราะฮฺอัลอันฟาล 27)

 

อย่าได้อธรรมต่ออัลลอฮฺ

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

فَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنِ افْتَرَىٰ عَلَى اللَّهِ كَذِبًا أَوْ كَذَّبَ بِآيَاتِهِ إِنَّهُ لَا يُفْلِحُ الْمُجْرِمُونَ

 

     "ดังนั้น ผู้ใดเล่าจะอธรรมยิ่งกว่าผู้กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺ หรือผู้ปฏิเสธบรรดาโองการของพระองค์ แท้จริงบรรดาผู้ทำผิดนั้นย่อมไม่บรรลุความสำเร็จ"

(ยูนุส: 17)

 

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี กล่าว

 

آية المنافق ثلاث: إذا حدث كذب وإذا وعد أخلف وإذا اؤتمن خان

 

สัญลักษณ์ของผู้กลับกลอก (มุนาฟิก) มีสามประการ คือ

เมื่อเขาพูดเขาจะโกหก เมื่อเขาสัญญาเขาจะบิดพลิ้ว

และเมื่อเขาได้รับอะมานะฮฺในสิ่งใดเขาก็จะคดโกง"

(บันทึกโดย อัล-บุคอรียและมุสลิม)

 

-♦- ผู้เชื่อมสัมพันธ์ต่อเครือญาติตามที่อัลลอฮ์ทรงบัญชา

 

     ความสำคัญของการสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติ ดังเช่นโองการที่ว่า

 

     “ท่านทั้งหลายจงยำเกรงต่ออัลเลาะห์ ผู้ที่ท่านทั้งหลายต่างวอนขอพระองค์ และจงยำเกรงต่อการตัดสัมพันธ์กับเครือญาติ

(อันนิซาอ์ 1)

     ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 

« مَنْ أَحَبَّ أَنْ يُبْسَطَ لَهُ فِي رِزْقِهِ، وَيُنْسَأَ لَهُ فِي أَثَرِهِ، فَلْيَصِلْ رَحِمَهُ »

 

     “ผู้ใดอยากให้ริสกีของเขาเพิ่มพูน และให้ร่องรอย(อายุขัย)ของเขาได้ยืดยาวขึ้น เขาก็จงเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติของเขาเถิด

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม)

ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้กล่าวถึงคนกลุ่มนี้ไว้ว่า

 

( القاطع لا يدخل الجنة )

 

"ผู้ใดตัดสัมพันธ์ทางเครือญาติ จะไม่ได้เข้าสวรรค์"

(บุคอรีย์และมุสลิม)

 

-♦- ผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ

 

          ตักวา หมายถึง ความยำเกรง การยึดมั่นในการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ด้วยความประสงค์ และมุ่งหวังในผลบุญแห่งการตอบแทนและเกรงกลัวต่อบทลงโทษของอัลลอฮ์ ด้วยการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และออกห่างจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

 

وَتَزَوَّدُواْ فَإِنَّ خَيْرَ الزَّادِ التَّقْوَى وَاتَّقُونِ يَا أُوْلِي الأَلْبَابِ

 

     “และพวกเจ้าจงเตรียมเสบียงเถิด แท้จริงเสบียงที่ดีที่สุดนั้นคือความยำเกรง และพวกเจ้าจงยำเกรงข้าเถิด โอ้ ผู้มีปัญญาทั้งหลาย !”

(อัล-บะเกาะเราะฮ์: 197)

 

ได้รับเกียรติจากอัลลอฮ์ จากอัลกุรอาน ความว่า

 

إِنَّ أَکْرَمَکُمْ عِنْدَ اللَّهِ أَتْقاکُمْ

 

"แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ที่อัลลอฮ์นั้น คือ ผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า"

(ซูเราะฮ์ อัล-หุญุรอต โองการที่ 13)

          ดังนั้น ตักวา (ความยำเกรง) จึงเป็นกุญแจหลักของผู้หวังความสำเร็จ และเป็นคำสั่งที่อัลลอฮฺสั่งใช้บ่าวของพระองค์อย่างชัดเจนว่า

 

«وَاتَّقُوا اللَّهَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ»

 

จงตักวา(ยำเกรง)ต่ออัลลอฮฺเถิด เผื่อว่าสูเจ้าจะประสบความสำเร็จ

(อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 189)

 

-♦- ผู้ที่กลัวการมีบัญชีที่ชั่ว

 

     อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

يَوْمَ تَجِدُ كُلُّ نَفْسٍ مَّا عَمِلَتْ مِنْ خَيْرٍ مُّحْضَرًا وَمَا عَمِلَتْ مِن سُوَءٍ تَوَدُّ لَوْ أَنَّ بَيْنَهَا وَبَيْنَهُ أَمَدًا بَعِيدًا وَيُحَذِّرُكُمُ اللّهُ نَفْسَهُ وَاللّهُ رَؤُوفُ بِالْعِبَادِ

 

     “วันที่แต่ละชีวิตพบความดีที่ตนได้ประกอบไว้ถูกนำมาอยู่ต่อหน้า และความชั่วที่ตนได้ประกอบไว้ด้วย แต่ละชีวิตนั้นชอบ หากว่าระหว่างตนกับความชั่วนั้นจะมีระยะทางที่ห่างไกล และอัลลอฮฺทรงเตือนพวกเจ้าให้ยำเกรงพระองค์ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงกรุณาปราณีต่อปวงบ่าวทั้งหลาย

( อะลาอิมรอน 30)

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

 

يَا أَيُّهَا الإِنسَانُ إِنَّكَ كَادِحٌ إِلَى رَبِّكَ كَدْحًا فَمُلاقِيهِ

 

     “โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริงเจ้าต้องพากเพียรไปสู่พระเจ้าของเจ้าอย่างทรหดอดทน แล้วเจ้าจึงจะพบ(ผลตอบแทนจาก)พระองค์

 

فَأَمَّا مَنْ أُوتِيَ كِتَابَهُ بِيَمِينِهِ فَسَوْفَ يُحَاسَبُ حِسَابًا يَسِيرًا وَيَنقَلِبُ إِلَى أَهْلِهِ مَسْرُورًا

 

          ส่วนผู้ที่ถูกยื่นบันทึกของเขาให้ทางเบื้องขวาของเขา เขาก็จะถูกชำระสอบสวนอย่างง่ายดาย และเขาจะกลับไปยังครอบครัวของเขาด้วยความดีใจ

 

وَأَمَّا مَنْ أُوتِيَ كِتَابَهُ وَرَاء ظَهْرِهِ فَسَوْفَ يَدْعُو ثُبُورًا وَيَصْلَى سَعِيرًا

 

     “ส่วนผู้ที่ถูกยื่นบันทึกของเขาให้ทางเบื้องหลังของเขาแล้ว เขาจะร้องเรียกหาความหายนะ และเขาจะเข้าไปในเปลวเพลิง

 (อัลอินชิกอก อายะฮฺที่ 6-12 )

 

- ผู้ที่อดทนโดยหวังความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ

 

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

وَنَبْلُوكُم بِالشَّرِّ وَالْخَيْرِ فِتْنَةً

 

"และเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยความชั่วและความดี"

(อัลอัมบิยะ 35)

ท่าน อับดุรเราะมาน บินเอาฟ์ กล่าวว่า

 

ابْتُلِينَا مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِالضَّرَّاءِ فَصَبَرْنَا ، ثُمَّ ابْتُلِينَا بِالسَّرَّاءِ بَعْدَهُ فَلَمْ نَصْبِرْ

 

     "ครั้งเมื่อเราทดสอบกับท่านร่อซูลให้เกิดความทุกข์ยาก เราก็อดทนแต่เมื่อเราโดนทดสอบให้อยู่อย่างสุขสบายหลังจากนั้น แต่เรากลับไม่อดทน"

(ติรมีซีย์)

รายงานจากท่าน อับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส กล่าวว่า ท่านเราะสูลได้กล่าวในหะดีษบทหนึ่งว่า

 

أربعٌ من أُعطيهنَّ فقدْ أُعطي خيرَيِ الدُّنيا والآخرةِ

قلبًا شاكرًا ولسانًا ذاكرًا وبدنًا على البلاءِ صابرًا وزوجةً لا تَبغيه حُوبًا في نفسِها ومالِه

 

     มีความโปรดปราน 4 ประการ ผู้ใดที่ได้รับใน 4 ประการนี้ หมายความว่า เขาได้รับความดีเด่นของทั้ง 2 โลก คือ โลกดุนยา และ โลกอาคีเราะฮ์ข้างหน้าไว้แล้ว

   1. จิตใจที่รู้จักขอบคุณพระองค์ผู้ทรงให้

   2. ลิ้นที่รำลึกและกล่าวถึงอัลลอฮ์ตลอดเวลา

   3. ร่างกายที่สามารถอดทนต่อความทุกข์ยาก

   4. ภรรยาที่ดีที่รักษาเกียรติของตนเองและทรัพย์สินของสามี

(บันทึกโดย อัตฏ็อบรอนีย์ ระดับสายรายงานที่ดี)

 

-♦- ผู้ที่ดำรงการละหมาด

 

          การละหมาดห้าเวลาของทุกวันคืนนั้นเป็นสิ่งที่วาญิบ(สิ่งจำเป็นต้องทำ)สำหรับมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ ทุกคน ทั้งชายและหญิง เว้นแต่หญิงที่มีประจำเดือนและมีน้ำคาวปลาจนกว่าเธอทั้งสองจะสะอาดจากเลือดดังกล่าว อีกทั้งการละหมาดยังเป็นองค์ประกอบหลักของอิสลามที่สำคัญยิ่งรองจากคำปฏิญาณทั้งสองอีกด้วย

อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวว่า

 

إِنَّ الصَّلَاةَ كَانَتْ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ كِتَابًا مَّوْقُوتًا

 

 “แท้จริงการละหมาดนั้น เป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่บรรดาผู้ศรัทธา” 

(อันนิสาอ์ 103)

     มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า

 

«إنَّ أَوَّلَ مَا يُـحَاسَبُ بِـهِ العَبْدُ يَوْمَ القِيَامَةِ صَلاتُـهُ، فَإنْ وُجِدَتْ تَامَّةً كُتِبَتْ تَامَّةً، وَإنْ كَانَ انْتَقَصَ مِنْـهَا شَيْءٌ، قَالَ: انْظُرُوا هَلْ تَـجِدُوْنَ لَـهُ مِنْ تَطَوُّعٍ يُكَمِّلُ لَـهُ مَا ضَيَّعَ مِنْ فَرِيضَةٍ مِنْ تَطَوُّعِهِ، ثُمَّ سَائِرُ الأَعْمَالِ تَـجْرِي عَلَى حَسَبِ ذَلِكَ»

 

     “แท้จริงสิ่งแรกที่มนุษย์จะถูกสอบถามในวันกิยามะฮฺจากการงานของพวกเขา ก็คือ การละหมาด

     หากพบว่าการละหมาดของเขาสมบูรณ์ เขาก็จะถูกประทับตรารับรองว่าสมบูรณ์ แต่หากการละหมาดของเขาบกพร่องส่วนหนึ่งส่วนใด

     อัลลอฮฺจะตรัสแก่มลาอิกะฮฺ ทั้ง ที่พระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งว่า พวกเจ้าจงดูซิว่า บ่าวของข้าคนนี้มีละหมาดสุนนะฮฺบ้างไหม?

     หากว่าเขามีละหมาดสุนนะฮฺ ก็จงทำให้การละหมาดฟัรฎูของของบ่าวผู้นี้สมบูรณ์ด้วยการละหมาดสุนนะฮฺของเขา แล้วกิจการงานอื่น ก็จะถูกสอบสวนในทำนองนี้

(บันทึกโดยอันนะสาอียฺ และอิบนุมาญะฮฺ)

     มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)ว่าท่านได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า

 

«أَرَأيْتُـمْ لَو أَنَّ نَـهراً بِبَابِ أَحَدِكُمْ يَـغْتَسِلُ مِنْـهُ كُلَّ يَومٍ خَـمْسَ مَرّاتٍ هَلْ يَبْقَى مِنْ دَرَنِـهِ شَيْءٌ؟» قَالُوا: لا يَبْقَى

مِنْ دَرَنِـهِ شَيْءٌ. قَالَ: «فَذَلِكَ مِثْلُ الصَّلَوَاتِ الخَـمْسِ، يَـمْـحُو الله بِـهِنَّ الخَطَايَا».

 

     “พวกท่านจะเห็นว่าอย่างไร หากมีลำธารไหลผ่านประตูหน้าบ้านคนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่าน ซึ่งเขาได้ลงอาบน้ำในลำธารดังกล่าวทุกๆ วัน วันละห้าครั้ง แล้วจะเหลือสิ่งสกปรกติดอยู่บนร่างกายเขาอีกหรือ?” 

     บรรดาเศาะหาบะฮฺได้กล่าวว่า ไม่แน่นอนย่อมไม่เหลือขี้ไคลติดอยู่บนร่างกายเขาแน่นอน 

     แล้วท่าน (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ก็กล่าวต่อไปว่าเฉกเช่นลำธารนั้นแหละ คือการเปรียบละหมาดห้าเวลา ที่อัลลอฮฺได้ใช้มันลบล้างความผิดทั้งปวง” 

(บันทึกในอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

 

-♦- ผู้ที่บริจาคโดยซ่อนเร้นและเปิดเผย

 

وَمَا أَنْفَقْتُمْ مِنْ شَيْءٍ فَهُوَ يُخْلِفُهُ

 

     “และอันใดที่สูเจ้าบริจาคจากสิ่งใดก็ดี พระองค์ก็ทรงทดแทนมัน และพระองค์ทรงเป็นเลิศแห่งผู้ประทานปัจจัยยังชีพ” 

(ซูเราะฮฺสะบะอฺ:39)

อัลลอฮฺตรัสว่า

 

﴿إِنْ تُبْدُوا الصَّدَقَاتِ فَنِعِمَّا هِيَ وَإِنْ تُخْفُوهَا وَتُؤْتُوهَا الْفُقَرَاءَ فَهُوَ خَيْرٌ لَكُمْ﴾

 

     “ถ้าสูเจ้าเปิดเผยการบริจาค ดังนั้น มันช่างดีเสียนี่กระไร และถ้าสูเจ้าปิดบังมัน และให้มันแก่บรรดาผู้ยากไร้ ดังนั้นมันเป็นการดีกว่าสำหรับสูเจ้า

 (ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ:271)

     ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ได้รายงานจากท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) กล่าวว่า

 

«سَبْعَةٌ يُظِلُهُمُ اللهُ فِي ظِلِّه يَوْمَ لَا ظِلَّ إِلا ظِلِّه: إِمَامٌ عَادِلٌ، وَشَابٌ نَشَأَ فِي عِبَادَةِ اللهِ، وَرَجُلٌ قَلْبُه مُعَلَّقٌ بِالمَسَاجِدِ، وَرَجُلان تَحَابَّا في اللهِ اجْتَمَعا عَلَيْه وَتَفَرَّقا عَلَيه، وَرَجُل دَعَتْه امرأةٌ ذاتَ حُسْنٍ وَجَمَال فَقَال: إني أخافُ اللهَ، وَرَجُلٌ تَصَدَّق بِصَدَقَة فَأَخْفَاها حَتى لَا تَعْلَمَ شِمَالُه مَا تُنْفِقُ يَمِيْنُه، وَرَجُلٌ ذَكَرَ اللَه خَالِيا فَفَاضَتْ عَيْنَاه»

 

     “เจ็ด(จำพวก) อัลลอฮฺจะทรงให้พวกเขาได้อยู่ใต้ร่มเงาของพระองค์ ในวันที่ไม่มีร่มเงาใด เว้นแต่ร่มเงาของพระองค์

     (1)ผู้นำยุติธรรม และ(2)หนุ่มสาวที่โตมากับการทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ และ

     (3)คนที่หัวใจของเขาผูกพันกับมัสยิด และ

     (4)คนสองคนที่รักกันเพื่ออัลลอฮฺ คบกันและเลิกกันเพื่อพระองค์ และ

     (5)ชายที่มีหญิงผู้มีความสวยความงามมาชักชวนเขา(ให้ทำซีนา) แต่เขากล่าวว่า แท้จริงฉันกลัวอัลลอฮฺ และ

     (6)คนที่เขาบริจาคโดยเขาปกปิดมันเอาไว้จนกระทั้งมือซ้ายไม่รู้ว่ามือขวาบริจาคอันใดไป และ

     (7)คนที่เขารำลึกถึงอัลลอฮฺอยู่ลำพังแล้วน้ำตาของเขาก็เอ่อล้นออกมา” 

(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม)

 

-♦- ผู้ที่ขจัดความชั่วด้วยความดี

 

          โดยอัลลอฮ์ ได้ทรงกำชับให้ท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม) เป็นคนที่รู้จักให้อภัยผู้อื่น ไม่ถือโทษโกรธเคือง อาฆาต หรือผูกใจพยาบาท ถึงแม้ว่าบรรดาศัตรูของท่านจะสร้างความเจ็บปวดและก่อกรรมทำเข็ญต่อท่านอย่างหนักหนาสาหัสสักเพียงใดก็ตาม

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า :

 

فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاصْفَحْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ

 

     "จงอภัยให้พวกเขาเถิด เเละจงละวาง (จากการถือโทษโกรธเคืองพวกเขา)เเท้จริงอัลลอฮ์ ทรงรักบรรดาผู้ประพฤตดี."

(อัลมาอิดะฮ์ :13)

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

﴿ خُذِ الْعَفْوَ وَأْمُرْ بِالْعُرْفِ وَأَعْرِضْ عَنِ الْجَاهِلِينَ ﴾

 

     “เจ้า(มุหัมมัด) จงยึดไว้ซึ่งการให้อภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลังให้แก่ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด” 

(อัลอะอฺรอฟ : 199)

พระองค์ดำรัสว่า

 

وَجَزَاءُ سَيِّئَةٍ سَيِّئَةٌ مِّثْلُهَا ۖ فَمَنْ عَفَا وَأَصْلَحَ فَأَجْرُهُ عَلَى اللَّهِ ۚ إِنَّهُ لَا يُحِبُّ الظَّالِمِينَ

 

     “และการตอบแทนความชั่วคือความชั่วเยี่ยงมัน แต่ผู้ใดอภัย และไกล่เกลี่ยคืนดีกันรางวัลตอบแทนของเขาอยู่ที่อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ไม่ชอบบรรดาผู้อธรรม

( สูเราะฮฺ อัช-ชูรอ 40)

 

مَن جَاءَ بِالْحَسَنَةِ فَلَهُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا ۖ وَمَن جَاءَ بِالسَّيِّئَةِ فَلَا يُجْزَىٰ إِلَّا مِثْلَهَا وَهُمْ لَا يُظْلَمُونَ

 

     “และบรรดาผู้ที่เมื่อมีความอธรรมเกิดขึ้นแก่พวกเขา พวกเขาก็แก้แค้นตอบแทน และการตอบแทนความชั่วคือความชั่วที่เสมอกัน

( สูเราะฮฺ อัลอาม 160 )

จะต้องตอบโต้ด้วยการมีมารยาทที่ดีด้วย ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า

 

ادْعُ إِلَىٰ سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ ۖ وَجَادِلْهُم بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ

 

     "และเจ้าจงเชิญชวนไปสู่แนวทางแห่งพระผู้สร้างของเจ้าด้วยเหตุผลและไหวพริบอันชาญฉลาดและด้วยข้อคิดเตือนใจ และจงตอบโต้พวกเขาด้วยสิ่งที่ดีที่สุด

(สูเราะฮฺ อันนะหฺล์ 125)

อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า:

 

ٱدۡفَعۡ بِٱلَّتِي هِيَ أَحۡسَنُ فَإِذَا ٱلَّذِي بَيۡنَكَ وَبَيۡنَهُۥ عَدَٰوَةٞ كَأَنَّهُۥ وَلِيٌّ حَمِيمٞ

 

     "เจ้าจงตอบโต้ด้วยสิ่งที่ดีกว่า แล้วเมื่อนั้นผู้ที่ระหว่างเจ้ากับเขาเคยเป็นอริกันก็จะกลับกลายเป็นเยี่ยงมิตรที่สนิทกัน"

 [ฟุศศิลัต: 34]

          หากเรากลัวว่าใครคนใดคนหนึ่งจะสร้างปัญหาให้แก่เรา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือญาติพี่น้อง ก็ควรที่เราจะทำดีต่อเขา อาจจะด้วยการมอบของขวัญเล็กๆน้อยๆให้ หรือพูดจาคบหากันด้วยคำพูดและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี จะได้เป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดจากพวกเขาเหล่านั้นอันเนื่องจากความอิจฉาริษยาหรือสาเหตุอื่นๆ

 

ท่านอับดุลลอฮฺ บุตรมัสอูด กล่าวว่า :

كأني أنظر إلى النبي صلى الله عليه وسلم يحكي نبيًّا من الأنبياء؛ ضربه قومه فأدمَوه، وهو يمسح الدم عن وجهه، ويقول:

 

     ฉันมองดูท่านนบีมุฮัมหมัด ขณะที่ท่านกำลังเล่าถึง นบีท่านหนึ่งถูกพวกพ้องของพวกเขาทำร้ายจนเลือดออก เขาใช้มือลูบเลือดที่เปื้อนใบหน้า พลางก็กล่าวว่า

 

اللهم اغفر لقومي فإنهم لا يعلمون

 

     “ข้าแต่องค์อภิบาลได้โปรดให้อภัยแก่พวกพ้องของฉันด้วยเถิด เพราะความจริงพวกเขาไม่รู้

(บุคอรีย์และมุสลิม)

ท่านอิบนุกะษีรได้กล่าวรายงานว่า 

     "พวกมุชริกีนบางคนได้กอบเอาดินมาโปรยศีรษะท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในขณะที่กำลังเดินอยู่ในตรอกหนึ่งของมักกะฮ์ ท่านเดินทางกลับโดยมีดินอยู่บนศีรษะของท่าน บุตรีคนหนึ่งของท่านจึงทำการล้างดินออกจากศีรษะพร้อมกับร้องไห้ 

     และท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า "โอ้ลูกน้อยเอ๋ย เจ้าอย่าร้องไห้ไปเลย แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงปกป้องบิดาของเจ้านะ