การก่อความเสียหายบนแผ่นดิน
  จำนวนคนเข้าชม  2289


การก่อความเสียหายบนแผ่นดิน

 

อ.ฮาซัน เจริญจิตต์

 

وَلَا تُفْسِدُوا فِي الْأَرْضِ بَعْدَ إِصْلَاحِهَا وَادْعُوهُ خَوْفًا وَطَمَعًا ۚ إِنَّ رَحْمَتَ اللَّـهِ قَرِيبٌ مِّنَ الْمُحْسِنِينَ

 

           นักภาษาบอกว่า ความเสียหาย,การบ่อนทำลาย ( الفساد  ) ก็คือการที่สิ่งใดเบี่ยงเบนออกจากที่ที่ควรเป็น ที่ที่ควรอยู่ของมัน ไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตาม และทุกอย่างที่ทำลายศาสนา ทำลายทรัพย์ ทำลายสติ ปัญญา ทำลายชื่อเสียงเกียรติยศ ทำลายร่างกาย ล้วนนับเป็นความเสื่อมเสีย ความเสียหายทั้งสิ้น

 

ความแตกต่างระหว่าง ความเสียหาย,การบ่อนทำลาย ( الفساد ) กับความอธรรม  ( الظلم )

 

           ความเสียหายหรือความเสื่อมเสียนั้นจะครอบคลุมความหมายที่กว้างกว่า ในขณะที่ความอธรรมนั้นอาจจะเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่ง หรือสิ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่ความเสื่อมเสียคือความเสียหายที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่บุคคลคนหนึ่งและสังคมรอบข้างหรือสังคมทั้งสังคม

 

قال تعالى: {وَلاَ تُفْسِدُوا فِي الأَرْضِ بَعْدَ إِصْلاحِهَا} [سورة الأعراف : الآية 56 ]

 

และพวกเจ้าอย่าก่อความเสียหายไว้ในแผ่นดิน หลังจากได้มีการปรับปรุงแก้ไขมันแล้ว

(อัลอะรอฟ : 56)

 

قال تعالى: { ظَهَرَ الْفَسَادُ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ بِمَا كَسَبَتْ أَيْدِي النَّاسِ لِيُذِيقَهُم بَعْضَ الَّذِي عَمِلُوا لَعَلَّهُمْ يَرْجِعُونَ} [سورة الروم : الآية 41]

 

     “การบ่อนทำลาย ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษย์ได้ขวนขวายไว้ เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสบางส่วนที่พวกเขาประกอบไว้ โดยที่หวังจะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว”

( อัรรูม/41)

 

           อะตียะฮฺ ได้กล่าวเกี่ยวกับอายะฮฺนี้ว่า พวกท่านอย่าได้ทำความผิด ความชั่ว ในแผ่นดิน เพราะอัลลอฮฺจะทรงยับยั้งฝน และทำลายพืชผลของพวกท่าน

 

รูปแบบความเสียหายและการบ่อนทำลายบนแผ่นดิน

 

 1.  คือสิ่งที่ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมิยะฮฺและอิบนุลกัยยิมกล่าวไว้ นั่นคือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ

 

 2.  การเผยแผ่บิดอะฮฺ อุตริกรรมในศาสนา

 

     ท่านนบี-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะซัลลัม-ได้เตือนสำทับให้เราระวังการประดิษฐ์เพิ่มเติมในศาสนา

 

فقال في حديث عائشة -رضي الله عنها- عنه -صلى الله عليه وسلم-: «مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ»

 

“ผู้ใดประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่ในกิจการของเรานี้ ซึ่งมันไม่ใช่(กิจการของเรา) มันเป็นโมฆะ”

 

يقول ابْنُ الْمَاجِشُونِ: سَمِعْتُ مَالِكًا يَقُولُ: “مَنِ ابْتَدَعَ فِي الْإِسْلَامِ بِدْعَةً يَرَاهَا حَسَنَةً، زَعَمَ أَنَّ مُحَمَّدًا -صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ- خَانَ الرِّسَالَةَ، لِأَنَّ اللَّهَ يَقُولُ: {اليَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلامَ دِينًا} [سورة المائدة : الآية 3]، فَمَا لَمْ يَكُنْ يَوْمَئِذٍ دِينًا، فَلَا يَكُونُ الْيَوْمَ دِينًا.

 

          อิบนุลมายิชูน กล่าวว่า ฉันได้ยินอิหม่ามมาลิกกล่าว่า ผู้ใดที่สร้างอุตริกรรมขึ้นมาสักสิ่งหนึ่งในอิสลามโดยเขาเห็นว่าเป็นความดี (เท่ากับ)เขาได้กล่าวอ้างว่า แท้จริงมุฮัมมัดนั้นบิดพริ้ว(ปกปิด ซ่อนเร้น ไม่ซื่อตรงในการเผยแพร่)สาร(ของอัลลอฮฺ) เนื่องจากอัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว

(อัลมาอิดะฮฺ/3)

      สิ่งไหนที่ไม่เป็นเรื่องศาสนาในวันนั้น(ในสมัยลงบัญญัติ) ในวันนี้มันก็ไม่ไช่เรื่องศาสนา

 

 3.  การแพร่ขยายความชั่ว ความหลงผิด การฝ่าฝืนต่างๆ

 

 4.  ไสยศาสตร์ มนต์มายา เครื่องรางของขลังต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงเรียกว่าเป็นสิ่งเสื่อมทรามบนหน้าแผ่นดิน

 

{فَلَمَّا أَلْقَوْا قَالَ مُوسَى مَا جِئْتُم بِهِ السِّحْرُ إِنَّ اللَّهَ سَيُبْطِلُهُ إِنَّ اللَّهَ لَا يُصْلِحُ عَمَلَ المُفْسِدِينَ} سورة يونس : الآية 81

 

     “เมื่อพวกเขาได้โยนไปแล้ว มูซาได้กล่าวว่าสิ่งที่พวกท่านนำมานั้นคือวิทยากล แท้จริงอัลลอฮ์จะทรงทำลายมัน แท้จริงอัลลอฮ์จะทรงทำลายมัน แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงทำให้การงานของบรรดาผู้บ่อนทำลายดีขึ้น

( ยูนุส/81 )

 

     ท่านนบี-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-ได้ห้ามจากซะหฺร ไสยศาสตร์มนต์ดำต่างๆ

 

فقال -صلى الله عليه وسلم-: «اجْتَنِبُوا السَّبْعَ المُوبِقَاتِ» ، قَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ وَمَا هُنَّ؟ قَالَ: «الشِّرْكُ بِاللَّهِ، وَالسِّحْرُ، وَقَتْلُ النَّفْسِ الَّتِي حَرَّمَ اللَّهُ إِلَّا بِالحَقِّ، وَأَكْلُ الرِّبَا، وَأَكْلُ مَالِ اليَتِيمِ، وَالتَّوَلِّي يَوْمَ الزَّحْفِ، وَقَذْفُ المُحْصَنَاتِ المُؤْمِنَاتِ الغَافِلاَتِ»

 

     ท่านนบี-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า พวกท่านจงหลีกห่างจากความชั่วร้ายทั้งเจ็ด 

     (บรรดาศอฮาบะฮฺ)กล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฺ มันคืออะไร ?

     ท่าน-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ เรื่องไสยศาสตร์เรื่องงมงาย การสังหารชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามนอกจากด้วยสิทธิ การกินดอกเบี้ย การกินทรัพย์เด็กกำพร้า การหนีทัพในวันประจัญบาล และการใส่ร้ายหญิงบริสุทธิ์ หญิงศรัทธา หญิงไม่รู้เรื่อง(ดังกล่าว)ว่าทำซินา

 

 


คุฏบะฮฺวันศุกร์ มัสยิดนูรุลฮุดา ป่าตอง


Higmah.net