ข้อคิดและบทเรียนเรื่องราว นบียูซุฟ (อะลัยฮิสสลาม)
  จำนวนคนเข้าชม  14342


ข้อคิดและบทเรียนเรื่องราว นบียูซุฟ (อะลัยฮิสสลาม)

 

.อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          เรื่องราวของนบียูซุฟถูกกล่าวไว้ในซูเราะห์ยูซุฟ ซูเราะห์เดียวเต็ม ๆโดยไม่ถูกแบ่งกล่าวในซูเราะห์อื่น ซึ่งในซูเราะห์นี้กล่าวถึงนบีสองท่าน คือ นบียะกู๊บบุตรอิสหากบุตรอิบรอฮีม อลัยฮิมุสลาม และลูกชายของท่าน นบียูซุฟ อะลัยฮิสลาม

 

          สาเหตุของการประทานสูเราะห์นี้ : ท่าน ซะอัด อิบน์ อบีวักกอส ได้อธิบายว่ามีโองการต่าง ลงมาอย่างมากมายจากอัลกรุอ่าน และท่านร่อซูลได้อ่านแก่พวกเขาในเวลานั้น

     พวกเขากล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลรุลลอฮ์ ขอท่านเล่าเรื่องราวให้แก่พวกเราด้วย และโองการนี้ ถูกประทานคือ สูเราะห์ยูซุฟลงมา 

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

نَحنُ نَقُصُّ عَلَيكَ أَحسَنَ القَصَصِ بِما أَوحَينا إِلَيكَ هـذَا القُرآنَ وَإِن كُنتَ مِن قَبلِهِ لَمِنَ الغافِلين»،

 

     “เราจะเล่าเรื่องราวที่ดียิ่งแก่เจ้า ตามที่เราได้วะฮีอัลกุรอานนี้แก่เจ้า และหากว่าก่อนหน้านี้เจ้าอยู่ในหมู่ผู้ไม่รู้เรื่องราว

 

          นบียูซุฟ มีพี่น้องสิบเอ็ดคน พี่น้องพ่อแม่เดียวกันกับท่านมีเพียงคนเดียวคือ บุนยามีน อีกสิบคนเป็นพี่น้องคนละแม่ ซึ่งสี่คนจากพวกเขาเป็นพี่น้องที่เกิดจากสาวใช้สองนาง บุนยามีนเป็นน้องชายคนเล็ก เขาไม่หมือนพี่น้องคนอื่นๆที่อิจฉายูซุฟ , ยูซุฟเป็นลูกรักที่สุดของพ่อ และบินยามีนเองก็เป็นที่รักของพ่อมากกว่าคนอื่นเช่นกัน ไม่ใช่เรื่องต้องห้ามที่มนุษย์จะให้ความรักต่อใครในระดับที่แตกต่างกันไป

 

ข้อคิด และ บทเรียน

 

     เรื่องราวของท่านนบียูซุฟ (อะลัยฮิสสลาม)เป็นเรื่องเล่าที่ดีเลิศ และถูกระบุเอาไว้ในสุเราะห์เดียว

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

نَحنُ نَقُصُّ عَلَيكَ أَحسَنَ القَصَصِ بِما أَوحَينا إِلَيكَ هـذَا القُرآنَ وَإِن كُنتَ مِن قَبلِهِ لَمِنَ الغافِلين»،

 

     “เราจะเล่าเรื่องราวที่ดียิ่งแก่เจ้า ตามที่เราได้วะฮีอัลกุรอานนี้แก่เจ้า และหากว่าก่อนหน้านี้เจ้าอยู่ในหมู่ผู้ไม่รู้เรื่องราว

 

     เรื่องราวของท่านนบียูซุฟ (อะลัยฮิสสลาม)จากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง จากบททดสอบสู่บททดสอบ และนำไปสู่ทางออกและจากไร้เกียรตินำไปสู่มีเกียรติและตำแหน่งหน้าที่ จากเป็นทาสสู่เป็นกษัตริย์ จากทอดทอดทิ้งและพลัดพรากจากพ่อแม่พี่น้อง สู่การพบหน้าอีกครั้ง จากความเศร้าสู่ความปิติยินดี จากความเดือนร้อนนำพาสู่ความสุข ส่วนการทำนายฝันถือว่าเป็นวะฮีย์จากอัลลอฮฺเท่านั้น

     อัลลอฮฺทรงตรัสในอายะห์ต่อมา 6-9

 

وَكَذَلِكَ يَجْتَبِيكَ رَبُّكَ وَيُعَلِّمُكَ مِن تَأْوِيلِ الأَحَادِيثِ وَيُتِمُّ نِعْمَتَهُ عَلَيْكَ وَعَلَى آلِ يَعْقُوبَ كَمَا أَتَمَّهَا عَلَى أَبَوَيْكَ مِن قَبْلُ إِبْرَاهِيمَ وَإِسْحَاقَ إِنَّ رَبَّكَ عَلِيمٌ حَكِيمٌ

 

     “และเช่นนั้นแหละพระเจ้าของเจ้าทรงเลือกเจ้า และทรงสอนเจ้าให้รู้วิชาทำนายฝัน และทรงให้สมบูรณ์ซึ่งความโปรดปรานของพระองค์แก่เจ้าและวงศ์วานของยะอฺกูบ

     เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงให้สมบูรณ์ ซึ่งความโปรดปรานแก่ปู่ทั้งสองของเจ้าแต่ก่อน คืออิบรอฮีมและอิสฮาก แท้จริงพระเจ้าของเจ้าเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ

 

          ท่านจำเป็นจะต้องปกปิดเรื่องบางเรื่อง หากว่าสิ่งที่จะนำมาสู่อันตรายแก่ตัวเอง นบียะกู๊บสั่งท่านนบียูซูฟปกปิดความฝันเพราะกลัวความอิจฉาจากพี่น้องทั้ง 11 คน วันหนึ่ง ท่านนบียูซุฟได้มาหาพ่อแม่ของเขาและกล่าวว่า

 

إِذْ قَالَ يُوسُفُ لِأَبِيهِ يَا أَبَتِ إِنِّي رَأَيْتُ أَحَدَ عَشَرَ كَوْكَبًا وَالشَّمْسَ وَالْقَمَرَ رَأَيْتُهُمْ لِي سَاجِدِينَ

 

     “จงรำลึกขณะที่ยูซุฟกล่าวแก่พ่อของเขาว่า : โอ้พ่อจ๋า! แท้จริงฉันได้ฝันเห็นดวงดาวสิบเอ็ดดวง และดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ฉันฝันเห็นพวกมันสุญูดต่อฉัน

 

          พ่อครับ เมื่อคืนนี้ผมฝันเห็นดาวสิบเอ็ดดวง เมือฟังสิ่งที่ยูซุฟเล่า นบียะอฺกู๊บก็รู้ว่า ดวงอาทิตย์ในความฝันของยูซุฟก็คือตัวท่านนั่นเอง ส่วนดวงจันทร์ก็คือภรรยาของท่าน และดวงดาวอีกสิบเอ็ดดวงนั้นคือพี่น้องของยูซุฟ

          นบียะอฺกู๊บรู้ว่าวันหนึ่งข้างหน้า อัลลอฮฺจะเหลือยูซุฟให้เป็นนบี และจะประทานสติปัญญาแก่ยูซุฟเพือทำหน้าที่ที่เผยแผ่อิสลามเหมือนกับท่าน และพ่อกับปู่ของท่านคือนบีอิสฮากและนบีอิบรอฮีม และอย่าเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟังเล่ห์เหลี่ยม มาจากชัยฏอนและมนุษย์

 

قَالَ يَا بُنَيَّ لاَ تَقْصُصْ رُؤْيَاكَ عَلَى إِخْوَتِكَ فَيَكِيدُواْ لَكَ كَيْدًا إِنَّ الشَّيْطَانَ لِلإِنسَانِ عَدُوٌّ مُّبِينٌ

 

     “เขา (ยะอฺกูบ) กล่าวว่า : โอ้ลูกรักเอ๋ย! เจ้าอย่าเล่าความฝันของเจ้าแก่พี่น้องของเจ้า เพราะพวกเขาจะวางอุบายแก่เจ้าอย่างมีเล่ห์เหลี่ยม แท้จริงชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูที่ชัดแจ้งกับมนุษย์

 

ระวังจากโรคอิจฉา

 

          อัล-อัยน์ คือ ศรที่ออกมาจากจิตของคนที่อิจฉาริษยา หรือผู้ที่ต้องการทำ อัยน์ แก่ผู้อื่น ซึ่งพุ่งไปยังบุคคลที่เขาอิจฉาหรือเป้าหมายที่เขาประสงค์ บางครั้งก็อาจจะโดนและบางครั้งก็อาจจะไม่โดน

          จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 

«العَيْنُ حَقٌّ، ».   "อัยน์ นั้นเป็นของจริง

(บันทึกโดย มุสลิม)

 

          การอิจฉาริษยานั้นจะทำให้ผู้ศรัทธาขาดทุนซึ่งผลบุญที่สะสมไว้จะสูญหายด้วยความร้ายแรงร้อนระอุของการอิจฉาริษยา เพราะท่านนบีได้เปรียบเทียบอิจฉาริษยาประหนึ่งเป็นไฟลุกที่สามารถทำลายสิ่งต่างๆได้

 

         จากท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ ศอลลัลลอฮูอลัยฮิวะซัลลัม ท่านกล่าวว่า

 

الْحَسَدُ یأْکلُ الْحَسَنَاتِ کمَا تَأْکلُ النَّارُ الْحَطَبَ

 

ความอิจฉาจะกินความดีงามทั้งหลาย เหมือนดังที่ไฟจะกินไม้ฟืน

(รายงานโดย อบูดาวูด)

 

          พี่น้องของยูซุฟมีความอิจฉาต่อน้องที่พ่อนั้นรักเขามากกว่าคนอื่น นี้คือสาเหตุนำไปสู่การวางแผนจะนำยูซุฟไปทิ้งบ่อ ฉะนั้นจะต้องมีความยุติธรรมระหว่างลูกๆ ซึ่งนบียะอฺกู๊บแสดงความรักต่อยูซุฟมากกว่าคนอื่นๆ

 

إِذْ قَالُواْ لَيُوسُفُ وَأَخُوهُ أَحَبُّ إِلَى أَبِينَا مِنَّا وَنَحْنُ عُصْبَةٌ إِنَّ أَبَانَا لَفِي ضَلالٍ مُّبِينٍ

 

     “จงรำลึกขณะที่พวกเขากล่าวว่า : แน่นอนยูซุฟและน้องของเขาเป็นที่รักแก่พ่อของเรายิ่งกว่าพวกเราทั้ง ที่พวกเรามีจำนวนมาก แท้จริงพ่อของเราอยู่ในการหลงผิดจริง

 

فعن النُّعْمَانَ بْنَ بَشِيرٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا أنه قال - وَهُوَ عَلَى الْمِنْبَرِ -: أَعْطَانِي أَبِي عَطِيَّةً، فَقَالَتْ عَمْرَةُ بِنْتُ رَوَاحَةَ: لَا أَرْضَى حَتَّى تُشْهِدَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَأَتَى رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ: إِنِّي أَعْطَيْتُ ابْنِي مِنْ عَمْرَةَ بِنْتِ رَوَاحَةَ عَطِيَّةً، فَأَمَرَتْنِي أَنْ أُشْهِدَكَ يَا رَسُولَ اللَّهِ. قَالَ: أَعْطَيْتَ سَائِرَ وَلَدِكَ مِثْلَ هَذَا؟ قَالَ: لَا. قَالَ: (فَاتَّقُوا اللَّهَ وَاعْدِلُوا بَيْنَ أَوْلَادِكُمْ ) قَالَ: فَرَجَعَ فَرَدَّ عَطِيَّتَهُ. متفق عليه. وفي رواية: ( لَا أَشْهَدُ عَلَى جَوْرٍ )

 

     มีรายงานจากท่านนัวะอฺมาน อิบนิ บะชีร กล่าวว่า : บิดาของฉัน(ท่านบะชีร) ได้ให้ซอดะเกาะห์ทรัพย์สมบัติบางส่วนของเขาแก่ฉัน 

     มารดาของฉัน(นางอัมเราะห์ บินติ ร่อวาฮะห์) ได้กล่าวว่า : ฉันจะไม่ยินยอมจนกว่าจะไปให้ท่านรอซูลเป็นพยาน

     บิดาของฉันจึงออกไปหาท่านรอซูล เพื่อให้ท่านรอซูลเป็นพยาน

     ท่านรอซูล ได้กล่าวแก่บิดาของฉันว่า : ท่านทำเช่นนี้กับลูกๆทุกคนของท่านหรือเปล่า ?

     บิดาของฉันตอบว่า : เปล่าครับ

     ท่านรอซูลจึงกล่าวว่า : ท่านจงยำเกรงอัลเลาะห์เถิด และจงให้ความยุติธรรมแก่ลูกๆ พ่อของฉันจึงได้กลับไป และเอาซอดะเกาะห์นั้นกลับคืนไป

(บันทึกโดยอิมามอัลบุคอรีย์)

 

          การที่ท่านรอซูล ห้ามการกระทำดังกล่าวเนื่องจากการเจาะจงลูกคนหนึ่งคนใด หรือการให้ความสำคัญแก่ลูกคนหนึ่งคนใดมากกว่าลูกคนอื่นๆนั้น เป็นการกระทำที่ขัดและค้านกับคำว่า ตั๊กวา(ยำเกรง) เพราะการกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการอธรรม เนื่องจากจะทำให้เกิดผลเสียต่างๆมากมาย เป็นต้นว่า ลูกคนที่บิดามารดาไม่ให้ความสนใจนั้น จะห่างเหินและปลีกตัวออกห่างจากเขาทั้งสอง หรืออาจจะทำให้ลูกๆนั้นมีความเกลียดชังซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันในที่สุด

 

ทรรศนะต่างๆของบรรดานักวิชาการ

 

          บรรดานักวิชาการ(อุละมาอฺ) ทั้งหมดต่างเห็นพ้องต้องกันว่า มีบทบัญญัติระบุให้มีความเท่าเทียมกันในการให้สิ่งของแก่ลูกๆ ด้วยเหตุนี้ บรรดาชาวสลัฟถึงกับให้ความเท่าเทียมกันในทุกเรื่อง แม้กระทั่งการหอมลูก เพราะในการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการแสดงออกถึงความยุติธรรม และความรัก อันจะเป็นสิ่งที่นำพาให้หัวใจของพวกเขาใสสะอาด บริสุทธิ์ และจะส่งผลให้บรรดาลูกๆห่างไกลจากการอิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน

 

จงระวังจากความชั่วเพราะมันจะนำไปสู่ความชั่วอีกมากมาย

 

          เมื่อเกิดความอิจฉาในระหว่างพี่น้องกันเองแล้วและความอิจฉานี้นำไปสู่การคิดจะฆ่าน้อง

 

اقْتُلُواْ يُوسُفَ أَوِ اطْرَحُوهُ أَرْضًا يَخْلُ لَكُمْ وَجْهُ أَبِيكُمْ وَتَكُونُواْ مِن بَعْدِهِ قَوْمًا صَالِحِينَ

 

     “พวกท่านจงฆ่ายูซุฟ หรือเอาไปทิ้งในที่เปลี่ยวเสีย เพื่อความเอาใจใส่ของพ่อของพวกท่านจะเกิดขึ้นแก่พวกท่าน และพวกท่านจะเป็นกลุ่มชนที่ดีหลังจากเขา

 

          พวกเขาคุยกันว่าทั้งๆที่พวกเขามีมากกว่าแต่พ่อกลับรักแค่ยูซุฟกับน้องของเขา พวกเขาจึงอิจฉาและวางแผนฆ่ายูซุฟโดยที่พวกเขาตั้งใจว่าค่อยกลับเนื้อกลับตัวในตอนหลังก็ได้ แต่คนหนึ่งในพวกเขาไม่ต้องการให้เรื่องมันรุนแรงถึงขั้นต้องฆ่าฟันกัน จึงเสนอว่า อย่าฆ่ายูซุฟเลย แต่ให้โยนเขาลงไปในบ่อน้ำแทน อัลลอฮ์ ตรัสถึงการสนทนานี้ในอายะห์ที่10

 

قَالَ قَائِلٌ مِّنْهُمْ لاَ تَقْتُلُواْ يُوسُفَ وَأَلْقُوهُ فِي غَيَابَةِ الْجُبِّ يَلْتَقِطْهُ بَعْضُ السَّيَّارَةِ إِن كُنتُمْ فَاعِلِينَ

 

     “คนหนึ่งในพวกเขากล่าวว่า : พวกท่านอย่าฆ่ายูซุฟ แต่จงโยนเขาลงในบ่อลึก เพื่อผู้เดินทางบางคนจะได้เอาเขาออกมา หากพวกท่านจำต้องกระทำเช่นนั้น

 

อัลลอฮฺปลอบใจกับยูซุฟเมื่อเจอกับบททดสอบ

 

          พวกเขาพูดเซ้าซี้ นบียะกู๊บอยู่อย่างนั้น จนในที่สุดท่านก็ใจอ่อนยอมปล่อยยูซุฟไปกับพวกเขา มีรายงานว่าในระหว่างทางพวกเขาได้ทุบตียูซุฟและด่าทอท่าน ด้วยเพราะพวกเขาเกลียดท่าน จนกระทั่งไปถึงบ่อน้ำ พวกเขาก็รวมหัวกันจับยูซุฟหย่อนลงไปก้นบ่อ เมื่อถึงก้อนหินพอให้ยูซุฟเหยียบพ้นน้ำพวกเขาก็หยุดและทิ้งยูซุฟไว้ ในขณะนั้นเองอัลลอฮฺได้บัญชาต่อนบียูซุฟ

อัลลอฮฺ ตรัสในอายะห์ที่15

 

فَلَمَّا ذَهَبُواْ بِهِ وَأَجْمَعُواْ أَن يَجْعَلُوهُ فِي غَيَابَةِ الْجُبِّ وَأَوْحَيْنَا إِلَيْهِ لَتُنَبِّئَنَّهُم بِأَمْرِهِمْ هَذَا وَهُمْ لاَ يَشْعُرُونَ

 

     “เมื่อพวกเขาพาเขาไป พวกเขาตกลงกันว่าจะเอาเขาไปโยนในบ่อลึก และเราได้วะฮีแก่เขาว่า : แน่นอน เจ้าจะได้เล่าแก่พวกเขาถึงการกระทำของพวกเขาในครั้งนี้ โดยที่ (ตอนนี้) พวกเขาไม่รู้สึก

 

จะต้องอดทนต่อบททดสอบ อย่าตีโพยตีพาย

 

          นบียะอฺกู๊บได้แสดงความอดทนต่อการหายไปของนบียูซุฟ ซึ่งเป็นลูกที่รักที่สุดของท่าน

 

فَصَبْرٌ جَمِيلٌ وَاللَّهُ الْمُسْتَعَانُ عَلَى مَا تَصِفُونَ

 

ดังนั้น การอดทนเป็นสิ่งที่ดีและอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่พวกเจ้ากล่าวอ้าง

 

فَصَبْرٌ جَمِيلٌ عَسَى اللَّهُ أَنْ يَأْتِيَنِي بِهِمْ جَمِيعًا

 

ดังนั้นการอดทนเป็นสิ่งที่ดี หวังว่าอัลลอฮ์จะทรงนำพวกเขาทั้งหมดมาหาฉัน

 

          รายงานจากอิบนุ อับบาส ว่าพวกเขาเชือดแกะแล้วเอาเลือดของมันทาบนเสื้อของยูซุฟทำเป็นหลักฐานให้นบียะกู๊บเห็นว่าพวกเขาพูดจริง ท่านมองไปยังเสื้อตัวนั้นที่พวกเขานำมาและกล่าวว่า 

     “หมาป่าตัวนี้ช่างใจดีเหลือเกิน กินลูกของฉันโดยไม่ทำให้เสื้อเขาขาดแม้แต่นิด หาไม่ พวกเจ้าแต่งเรื่องขึ้นมาต่างหาก…”

 

           ส่วนทางด้านนบียูซุฟที่ยังอยู่ในบ่อ ในขณะนั้นเองได้มีคณะเดินทางผ่านมา พวกเขาส่งคนหนึ่งให้มาตักน้ำ เมื่อเขาหย่อนถังตักน้ำลงไปนบียูซุฟก็อาศัยจังหวะนี้เกาะถังกลับขึ้นมา ซึ่งในขณะนั้นท่านมีอายุได้ 12 ปี แล้วเมื่อเขาดึงถังขึ้นมาก็ต้องพบกับความงามของท่าน ซึ่งสร้างความปีติต่อเขาอย่างยิ่ง จนทำให้เขาเรียกท่านว่าโอ้ข่าวดีแล้วพวกเขาก็ซ่อนท่านไว้เพื่อจะเอาท่านไปขาย 

          ที่ต้องซ่อนเพราะพวกเขาคิดว่าเด็กคนนี้อาจเป็นเด็กหลงทางมาหรืออาจเป็นทาสที่หนีมาจึงกลัวว่าจะมีใครมาพาเขาไปจากพวกเขา เมื่อพวกเขาพร้อมกับนบียูซุฟเดินทางมาถึงอียิปต์ พวกเขาก็รีบขายนบียูซุฟด้วยราคาถูกๆ 

          ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า ด้วย 20 ดิรฮัม ปรากฏว่าผู้ที่มาซื้อท่านไปนั้น คือ อะซีซ (อะซีซ เป็นสมญาหนึ่งที่ใช้เรียกผู้ดูแลคลังทรัพย์สินของอิยิปต์) ซึ่งเขาไม่มีลูก อัลลอฮฺทรงเล่าเรื่องนี้ในอายะห์ที่19-22

 

وَجَاءَتْ سَيَّارَةٌ فَأَرْسَلُواْ وَارِدَهُمْ فَأَدْلَى دَلْوَهُ قَالَ يَا بُشْرَى هَذَا غُلامٌ وَأَسَرُّوهُ بِضَاعَةً وَاللَّهُ عَلِيمٌ بِمَا يَعْمَلُونَ

 

     “และคณะเดินทางได้มาถึง ดังนั้นพวกเขาได้ส่งคนแบกน้ำของพวกเขา (ไปตักน้ำจากบ่อ) เขาได้หย่อนถังของเขาลงไป (ในบ่อ)

     เขากล่าวว่าโอ้ข่าวดี! นี่มันเด็กนี่ และพวกเขาได้ซ่อนเขาไว้เป็นสินค้าและอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเขากระทำ

 

وَشَرَوْهُ بِثَمَنٍ بَخْسٍ دَرَاهِمَ مَعْدُودَةٍ وَكَانُواْ فِيهِ مِنَ الزَّاهِدِينَ

 

และพวกเขาได้ขายเขาด้วยราคาถูก นับได้ไม่กี่ดิรฮัม และพวกเขาเป็นผู้มักน้อย

 

وَقَالَ الَّذِي اشْتَرَاهُ مِن مِّصْرَ لاِمْرَأَتِهِ أَكْرِمِي مَثْوَاهُ عَسَى أَن يَنفَعَنَا أَوْ نَتَّخِذَهُ وَلَدًا وَكَذَلِكَ مَكَّنَّا لِيُوسُفَ فِي الأَرْضِ وَلِنُعَلِّمَهُ مِن تَأْوِيلِ الأَحَادِيثِ وَاللَّهُ غَالِبٌ عَلَى أَمْرِهِ وَلَكِنَّ أَكْثَرَ النَّاسِ لاَ يَعْلَمُونَ

 

     “และผู้ที่ซื้อเขามาจากอียิปต์ กล่าวกับภริยาของเขาว่าจงให้ที่พักแก่เขาอย่างมีเกียรติ บางทีเขาจะทำประโยชน์ให้เราได้บ้างหรือรับเขาเป็นบุตร

     และเช่นนั้นแหละเราได้ทำให้ยูซุฟมีอำนาจในแผ่นดิน และเพื่อเราจะได้สอนให้เขารู้วิชาทำนายฝัน และอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้พิจิตในกิจการของพระองค์ และแต่ว่าส่วนใหญ่ของมนุษย์ไม่รู้