ความสำคัญของการยึดมั่นและปฏิบัติตามสุนนะฮฺ
  จำนวนคนเข้าชม  4640


ความสำคัญของการยึดมั่นและปฏิบัติตามสุนนะฮฺ

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

           คำสอนอิสลามถูกส่งจากมายังท่านนบี ﷺ ท่ามกลางความวุ่นวายความแตกแยกของชนเผ่าอาหรับที่ไร้อารยะธรรม ใช้ชีวิตแบบชนเผ่าที่ไม่มีความรู้ คนเข้มแข็งจะอธรรมผู้อ่อนแอ ท่านนบี ﷺ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอิสลามเท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม และสามารถรวมพวกเขาไว้ได้ภายใต้หลักความเชื่ออันเดียวกัน และแนวทางเดียวกัน นั้นคือการยึดมั่นในหลักคำสอนที่มีอัลกรุอ่านและซุนนะฮ์เป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิต

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

قُلْ إِنْ كُنْتُمْ تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ وَيَغْفِرْ لَكُمْ ذُنُوبَكُمْ

 

     “จงกล่าวเถิด มูฮัมหมัด หากว่าสูเจ้า รักอัลลอฮฺ พวกท่านก็จงปฏับัติตาม และเชื่อฟังฉัน และ อัลลอฮฺก็จะรักพวกท่าน และ พระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่พวกท่านจากความผิดของพวกท่านทั้งหลาย

(ซูเราะห์ อาลาอิมรอม 31)

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

وَاعْتَصِمُواْ بِحَبْلِ اللّهِ جَمِيعاً وَلاَ تَفَرَّقُواْ

 

และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮ์โดยพร้อมกันทั้งหมด และจงอย่าแตกแยกกัน

(อาละอิมรอน 103)

          นักอรรถาธิบายกรุอ่านกล่าวว่า จงยึดมั่นกับสายเชือก ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า คือ ศาสนาของอัลลอฮฺ ท่านอิบนุ มัสฮูด กล่าวว่า คือ ญามาอะฮ์ อิบนุกาซีร คือ พันธสัญญาของอัลลอฮฺ บางท่านบอกว่า คือ อัลกรุอ่าน

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

قُلْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَالرَّسُولَ فإِن تَوَلَّوْاْ فَإِنَّ اللّهَ لاَ يُحِبُّ الْكَافِرِينَ

 

     “ จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า พวกท่านจงเชื่อฟังอัลลอฮ์และร่อซูลเถิด แต่ถ้าพวกเขาผินหลังให้ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย

(อาละอิมรอน 32)

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

وَمَن يَعْتَصِم بِاللّهِ فَقَدْ هُدِيَ إِلَى صِرَاطٍ مُّسْتَقِيمٍ

 

และผู้ใดยืดมั่นต่ออัลลอฮ์ แน่นอนเขาก็ได้รับคำแนะนำไปสู่ทางอันเที่ยงตรง

(อาละอิมรอน 101)

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

وَأَطِيعُواْ اللّهَ وَالرَّسُولَ لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُونَ

 

และพวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา

(อาละอิมรอน 132)

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً

 

     “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไป ที่สวยยิ่ง

(อัน-นิซาอฺ :59)

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

فَلاَ وَرَبِّكَ لاَ يُؤْمِنُونَ حَتَّىَ يُحَكِّمُوكَ فِيمَا شَجَرَ بَيْنَهُمْ ثُمَّ لاَ يَجِدُواْ فِي أَنفُسِهِمْ حَرَجًا مِّمَّا قَضَيْتَ وَيُسَلِّمُواْ تَسْلِيمًا

 

     “มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขาแล้วพวกเขาไม่พบความ คับใจใด ๆ ในจิตใจของพวกเขาจากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินใจ และพวกเขายอมจำนนด้วยดี

(อัน-นิซาอฺ :65)

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

وَمَن يُطِعِ اللّهَ وَالرَّسُولَ فَأُوْلَـئِكَ مَعَ الَّذِينَ أَنْعَمَ اللّهُ عَلَيْهِم مِّنَ النَّبِيِّينَ وَالصِّدِّيقِينَ وَالشُّهَدَاء وَالصَّالِحِينَ وَحَسُنَ أُولَـئِكَ رَفِيقًا

 

     “และผู้ใดที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ และร่อซูลแล้วชนเหล่านี้จะอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงกรุณาเมตตาแก่พวกเขา อันได้แก่บรรดานะบี บรรดาผู้ที่เชื่อโดยดุษฏี บรรดาผู้ที่เสียชีวิตในสงคราม และบรรดาผู้ที่ประพฤติดี และชนเหล่านี้แหละเป็นเพื่อนที่ดี

(อัน-นิซาอฺ :69)

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

وَإِذَا دُعُوا إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ لِيَحْكُمَ بَيْنَهُمْ إِذَا فَرِيقٌ مِّنْهُم مُّعْرِضُونَ

 

     “และเมื่อพวกเขาถูกเรียกร้องไปสู่อัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์ เพื่อให้ตัดสินระหว่างพวกเขา เมื่อนั้นฝ่ายหนึ่งจากพวกเขาพากันผินหลังให้

(อัน-นูร :48)

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

وَمَا كَانَ لِمُؤْمِنٍ وَلَا مُؤْمِنَةٍ إِذَا قَضَى اللَّهُ وَرَسُولُهُ أَمْرًا أَن يَكُونَ لَهُمُ الْخِيَرَةُ مِنْ أَمْرِهِمْ وَمَن يَعْصِ اللَّهَ وَرَسُولَهُ فَقَدْ ضَلَّ ضَلَالًا مُّبِينًا

 

     “ไม่บังควรแก่ผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง เมื่ออัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ได้กำหนดกิจการใดแล้ว สำหรับพวกเขาไม่มีทางเลือกในเรื่องของพวกเขา และผู้ใดไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์แล้ว แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง

(อัล-อะฮฺซาบ :36)

 

จากท่านอบู นะญีหฺ อัล-อิรบาฎฺ อิบนุ สาริยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า

 

قَالَ وَعَظَنَا رَسُوْلُ اللهِ ﷺ مَوْعِظَةً وَجِلَتْ مِنْهَا القُلُوْبُ وَذَرَفَتْ مِنْهَا العُيُوْنُ . فَقُلْنَا يَا رَسُوْلَ اللهِ كَأَنَّهَا مَوْعِظَةُ مُوَدِّعٍ فَأَوْصِنَا ، قَالَ :اُوْصِيْكُمْ بِتَقْوَى اللهِ عَزَّ وَجَلَّ ، وَالسَّمْعِ وَالطَّاعَةِ وَإِنْ تَأَمَّرَ عَلَيْكُمْ عَبْدٌ ، فَإِنَّهُ مَنْ يَعِشْ مِنْكُمْ فَسَيَرَى اخْتِلَافاً كَثِيراً ، فَعَلَيْكُمْ بِسُنَّتِيْ وَسُنَّةِ الخُلَفَاءِ الرَّاشِدِيْنَ المَهْدِّيِّيْنَ عَضُّوْاعَلَيْهَابِالنَّوَاجِذِ ، وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الأمُوْرِ فَإِنَّ كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ

 

     ท่านเราะสูลุลลอฮฺได้ตักเตือนเราด้วยการตักเตือนหนึ่งที่ทำให้จิตใจหวาดหวั่น และน้ำตาเอ่อล้น 

     แล้วพวกเราก็กล่าวว่า: โอ้เราะสูลุลลอฮฺ ประหนึ่งว่ามันคือคำตักเตือนของผู้จะจากลา ดังนั้นท่านจงสั่งเสียให้แก่พวกเราเถิด 

     ท่านกล่าวว่า :ฉันขอสั่งเสียพวกท่านให้มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺผู้ทรงเกียรติและสูงส่งยิ่ง และจงเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ถึงแม้นว่าทาสคนหนึ่งจะปกครองท่านก็ตาม และหากผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่พวกท่านมีชีวิตยืนยาวต่อไป เขาก็จะได้พบกับความขัดแย้งอันมากมาย

      ดังนั้นพวกท่านจงยึดไว้ซึ่งสุนนะฮฺ(แนวทาง)ของฉัน และสุนนะฮฺของบรรดาเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมที่ได้รับทางนำ จงกัดมันด้วยฟันกราม และพวกท่านจงพึงระวังต่ออุตริกรรมทั้งหลายในศาสนา เพราะทุกๆ อุตริกรรม(บิดอะฮฺ) นั้นคือความหลงผิด และทุกๆ ของความหลงผิดนั้นอยู่ในไฟนรก

(หะดีษบันทึกโดยอบูดาวูด และอัต-ติรมิซีย์ และท่านกล่าวว่า หะดีษอยู่ในระดับหะสันเศาะหี้หฺ)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

 

افْتَرَقَتِ الْيَهُودُ عَلَى إِحْدَى وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَوَاحِدَةٌ فِي الْجَنَّةِ وَسَبْعُونَ فِي النَّارِ وَافْتَرَقَتْ النَّصَارَى عَلَى ثِنْتَيْنِ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً فَإِحْدَى وَسَبْعُونَ فِي النَّارِ وَوَاحِدَةٌ فِي الْجَنَّةِوَالَّذِي نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ لَتَفْتَرِقَنَّ أُمَّتِي عَلَى ثَلَاثٍ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً وَاحِدَةٌ فِي الْجَنَّةِ وَثِنْتَانِ وَسَبْعُونَ فِي النَّارِ قِيلَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَنْ هُمْ قَالَ الْجَمَاعَةُ

 

     ชาวยะฮูดียฺนั้นได้แตกออกเป็น 71 กลุ่ม และกลุ่มเดียวเท่านั้นอยู่ในสวรรค์ อีก 70 กลุ่มจะอยู่ในนรก ชาวนะศอรอได้แตกออกเป็น 72 กลุ่ม และ 71 กลุ่มอยู่ในนรก กลุ่มเดียวเท่านั้นที่จะได้เข้าสวรรค์ และขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตของมุฮัมมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า แน่นอนประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็น 73 กลุ่ม และกลุ่มเดียวที่อยู่ในสวรรค์ อีก 72 กลุ่มอยู่ในนรก 

     มีผู้ถามว่าโอ้ เราะสูลของอัลลอฮฺ พวกเขา(ที่ได้เข้าสรรค์นั้น)เป็นใคร?

     ท่านตอบว่า "อัล ญะมาอะฮฺ" (ในบางสำนวนท่านนบีฯ ได้เปิดเผยกลุ่มที่รอดเอาไว้ว่า)

 

قَالُوا وَمَنْ هِيَ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ مَا أَنَا عَلَيْهِ وَأَصْحَابِي

 

      มีคนถามว่า กลุ่มนั้นคือใครกัน โอ้เราะซูลของอัลลอฮฺ

     ท่านตอบว่าสิ่งที่ฉันและเศาะฮาบะฮฺของฉันดำรงอยู่

 

     จากมารดาของศรัทธาชนทั้งหลาย อุมมุ อับดิลลาฮฺ นั่นคือท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

 

مَنْ أَحْدَثَ فِيْ أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ

 

     “ใครก็ตามที่อุตริในกิจการศาสนาของเรานี้ ซึ่งสิ่งที่เราไม่ได้สั่งใช้ ดังนั้นสิ่งที่อุตริขึ้นมานั้นย่อมถูกปฏิเสธ

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

 

مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَرَدٌّ

 

และในการบันทึกของมุสลิมมีสำนวนว่า:

"ใครก็ตามที่ปฏิบัติกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งเราไม่ได้สั่งใช้ ดังนั้นกิจการนั้นจะถูกปฏิเสธ"

(บันทึกโดยมุสลิม)

     จากมารดาของศรัทธาชนทั้งหลาย อุมมุ อับดิลลาฮฺ นั่นคือท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

 

إِنِّي قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ شَيئَينِ لَن تَضِلُّوا بَعدَهُمَا: كِتَابَ اللهِ وَسُنَّتِي

 

     “ฉันได้ละทิ้งเอาไว้ให้สำหรับพวกท่าน สองอย่างพวกท่านนั้น จะไม่หลงทางเป็นอันขาดหลังจากฉัน นั้นคือ กิตาบุลลอฮฺ และ ซุนนะฮ์ของฉัน

(บันทึกโดย ฮากิม)

 

คำกล่าวของชาวสลัฟต่อการยึดมั่นในแนวทางสุนนะฮฺ

 

     1. ท่านเชคอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮ์ กล่าวว่า สำหรับมุมินนั้น จะไม่พูดในเรื่องของศาสนาเว้นแต่ว่าสิ่งนั้นมาจากท่านนบี ﷺ จะไม่ตัดสินสิ่งใดนอกจากสิ่งนั้นคือ คำพูดของและปฏิบัติมาจากท่านนบี เราต้องยึดปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตลอดจนแนวทางของบรรดาศ่อฮาบะ ตาบีฮีน ผู้นำที่ดีๆทั้งหลาย

     ไม่บังควรคนหนึ่งคนใดจะนำเอาสติปัญญาอยู่เหนือหลักฐาน อย่าให้ศาสนาอยู่นอกเหนือสิ่งอื่นนอกจากสิ่งนั้นต้องมาจากท่านนบี ﷺ เท่านั้น เมื่อเราต้องการเรียนรู้เรื่องศาสนาจงมองดูคำสั่งของอัลลอฮฺ และ แบบอย่างจากท่านนบี ﷺ ใครที่เรียนรู้และพูด ปฏิบัติ นี่คือหนทางที่ถูกต้องตามหลักชาว อะลุสซุนนะฮ์

 

     2. ท่านอิหม่าม มาลิก กล่าวว่า ในประชาชาติยุคสุดท้ายจะไม่ประสบความสำเร็จ เว้นแต่ต้องยึดมั่นในสองประการเท่านั้น คือ กิตาบุลลอฮฺ และ ซุนนะฮ์

 

     3. ท่านอิบนฺ มัสอูด กล่าวว่า ญะมาอะฮฺ คือสิ่งที่สอดคล้องกับสัจธรรม แม้ว่าท่านจะอยู่คนเดียวก็ตาม

 

     4. ท่านอิบนฺ มัสอูด กล่าวว่า จงปฏิบัติตามอย่าได้ทำบิดอะฮ์ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

 

     5. ท่านอิบนุ มูบาร็อก กล่าว รัศมีแห่งการศรัทธาจะยังไม่ปรากฏ จนกว่าเขานั้น จะปฏิบัติตรงตามซุนนะฮ์ และละทิ้งบิดอะฮ์

 

     6. ท่าน อิบนุคุซัยมะฮ์ กล่าวว่า ห้ามผู้รู้นั้นกระทำสิ่งที่ฝ่าฝืนต่อซุนนะฮ์หลังจากเขานั้นเรียนรู้

 

     7. ท่าน อิหม่าม บัรบะฮารี กล่าวว่า พึงรู้เถิดว่า ความรู้นั้นไม่ใช่อยู่ที่ว่าท่องจำสายรายงานหะดีษ หรือ หนังสือ มากมาย แต่อยู่ที่ ความรู้นั้นตรงตามซุนนะฮ์และนำมาปฏิบัติหรือไม่ แม้ว่ามันจะน้อยนิดก็ตาม ใครก็ตามที่ฝ่าฝืน อัลกรุอ่านและซุนนะฮ์ เขาคือ กลุ่มคนบิดอะฮ์ แม้ว่าความรู้จะมากเพียงไรก็ตาม ก็ไร้ค่า

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

﴿ يَوْمَ تَبْيَضُّ وُجُوهٌ وَتَسْوَدُّ وُجُوهٌ ﴾

 

วันซึ่งบรรดาใบหน้าจะขาวผ่องและบรรดาใบหน้าจะดำคล้ำ

     ท่านอิบนุ อับบาส ได้อธิบาย คำว่าใบหน้าขาวผ่องคืออะหฺลุซ ซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ หมายถึงผู้คนที่ยึดมั่นในวิถีทางแห่งเราะซูลและดำรงอยู่บนกลุ่ม

     ส่วนคำว่าใบหน้าที่ดำคล้ำคืออะหฺลุล บิดอะฮฺ วัล-ฟุรเกาะฮฺ หมายถึงกลุ่มคนที่ยึดมั่นกับแนวทางอุตริกรรมและแตกแยกเป็นกลุ่มนิกาย

 

สิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่านนบี

 

     ♦ หนึ่ง การปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่านนบี ﷺ คือกุญแจสู่ความรักด้วยการใกล้ชิดอัลลอฮฺจากสิ่งที่เป็นสุนนะฮฺต่างๆและเขาจะได้รับความรักจากอัลลอฮฺ

 

     ท่านอิบนุก็อยยิม กล่าวว่า อัลลอฮฺ จะไม่รักท่าน จนกว่าท่านจะปฏิบัติตามท่านนบี ﷺ ทั้งเปิดเผยและเร้นลับ จะต้องเชื่อสิ่งที่นำมาบอก ปฏิบัติตามในคำสั่งใช้ ตอบรับในการเรียกร้อง เจริญรอยตามแบบอย่างในสุนนะฮ์ต่างๆ จะต้องให้การตัดสินของท่านนบี ﷺ เหนือการตัดสินอื่นใดทั้งสิ้น จะต้องให้ท่านนบี ﷺ เป็นที่รักยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดจากสิ่งถูกสร้าง จะต้องเชื่อฟังท่านนบี ﷺ มากกว่าเชื่อฟังผู้อื่น หากพวกท่านกลับไปปฏิบัติในสิ่งที่ท่านนั้นปราถนา ท่านก็จะไม่พบหนทางแห่งแสงสว่างใดๆ

 

     ♦ สอง ท่านนั้นจะได้รับการคุ้มครอง เหมือนดังพระองค์ทรงพิทักษ์เอาไว้ พระองค์ประทานความดีงาม หากเขาปฏิบัติอยู่ในหลักคำสอนของพระองค์จากสิ่งที่พระองค์ทรงพอพระทัย ฉะนั้นความรักและการช่วยเหลือของพระองค์ก็อยู่กับเขา

 

     ♦ สาม ถูกตอบรับในสิ่งที่วิงวอนขอต่อพระองค์ ล้วนแล้วมาจากความรักทั้งสิ้น ใครก็ตามที่เขานั้นใกล้ชิดพระองค์ด้วยการปฏิบัติสิ่งที่เป็นสุนนะฮฺของท่านนบี ﷺ เขาจะได้รับความรักจากพระองค์ และความรักนี้จะเป็นกุญแจสู่การตอบรับในสิ่งที่เขาปราถนา

 

     ผลตอบแทนของการเป็นปรปักษ์ต่อบรรดาคนรักของอัลลอฮฺ จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺกล่าวว่า: แท้จริงอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสว่า:

 

مَنْ عَادَى لِيْ وَلِيّاً فَقَدْ آذَنْتُهُ بِالحَرْبِ ، وَمَا تَقَرَّبَ إِلَيَّ عَبْدِيْ بِشْيْءٍ أَحَبَّ إِلَيَّ مِمَّا افْتَرَضْتُهُ عَلَيْهِ ، وَلَا يَزَالُ عَبْدِيْ يَتَقَرَّبُ إِلَيَّ بِالنَّوَافِلِ حَتَّى اُحِبَّهُ ، فَإِذَا أَحْبَبْتُهُ كُنْتُ سَمْعَهُ الَّذِيْ يَسْمَعُ بِهِ ، وَبَصَرَهُ الَّذِيْ يُبْصِرُ بِهِ ، وَيَدَهُ الَّتِيْ يَبْطُشُ بِهَا ، وَرِجْلَهُ الَّتِيْ يَمْشِيْ بِهَا ، وَلَئِنْ سَأَلَنِيْ لَاُعْطِيَنَّهُ ، وَلَئِنِ اسْتَعَاذَنِيْ لَاُعِيْذَنَّهُ" .

 

      "ผู้ใดก็ตามที่เป็นปรปักษ์กับคนรักของข้า แท้จริงข้าได้ประกาศสงครามกับเขา และไม่มีสิ่งใดที่บ่าวของข้า ได้ปฏิบัติเพื่อให้ใกล้ชิดกับข้า ที่ข้าจะรักยิ่งกว่าสิ่งที่ข้าได้กำหนดเป็นศาสนาบังคับ(ฟัรฎู)เหนือเขา และบ่าวของข้าจะยังคงปฏิบัติเพื่อให้ใกล้ชิดกับข้าด้วยกับสิ่งที่เป็นสุนัตต่างๆ จนกระทั่งข้ารักเขา

     และเมื่อใดข้ารักเขา ข้าจะเป็นหูของเขาที่เขาใช้ฟัง เป็นดวงตาของเขาที่เขาใช้มอง เป็นมือของเขาที่เขาใช้หยิบจับ และเป็นเท้าของเขาที่เขาใช้เดิน และหากเขาวิงวอนขอต่อข้า แน่นอนข้าจะประทานให้แก่เขา และหากเขาขอความคุ้มครองจากข้า ข้าก็ย่อมให้ความคุ้มครองแก่เขา

(หะดีษบันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)

 

     ♦ สี่ การทำละหมาดสุนนะฮฺจะยังช่วยให้การการละหมาดฟัรดูนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

     มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า

 

إنَّ أَوَّلَ مَا يُـحَاسَبُ بِـهِ العَبْدُ يَوْمَ القِيَامَةِ صَلاتُـهُ، فَإنْ وُجِدَتْ تَامَّةً كُتِبَتْ تَامَّةً، وَإنْ كَانَ انْتَقَصَ مِنْـهَا شَيْءٌ، قَالَ: انْظُرُوا هَلْ تَـجِدُوْنَ لَـهُ مِنْ تَطَوُّعٍ يُكَمِّلُ لَـهُ مَا ضَيَّعَ مِنْ فَرِيضَةٍ مِنْ تَطَوُّعِهِ، ثُمَّ سَائِرُ الأَعْمَالِ تَـجْرِي عَلَى حَسَبِ ذَلِكَ

 

     “แท้จริงสิ่งแรกที่มนุษย์จะถูกสอบถามในวันกิยามะฮฺจากการงานของพวกเขา ก็คือ การละหมาด หากพบว่าการละหมาดของเขาสมบูรณ์ เขาก็จะถูกประทับตรารับรองว่าสมบูรณ์ แต่หากการละหมาดของเขาบกพร่องส่วนหนึ่งส่วนใด

     อัลลอฮฺจะตรัสแก่มลาอิกะฮฺ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งว่า พวกเจ้าจงดูซิว่า บ่าวของข้าคนนี้มีละหมาดสุนนะฮฺบ้างไหม?

     หากว่าเขามีละหมาดสุนนะฮฺ ก็จงทำให้การละหมาดฟัรฎูของของบ่าวผู้นี้สมบูรณ์ ด้วยการละหมาดสุนนะฮฺของเขา แล้วกิจการงานอื่น ก็จะถูกสอบสวนในทำนองนี้"

(เป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอันนะสาอียฺ และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ)

 

     ♦ ห้า การปฏิบัติตามสุนนะฮฺนั้นจะทำให้จิตใจสงบสุข เขาจะระมัดระวังในสิ่งที่เป็นวายิบ คำสั่งใช้ของศาสนา

     วายิบ หมายถึง บทบัญญัติของศาสนา จะบังคับเหนือมุสลิมทุกคนที่บรรลุนิติภาวะตามที่ศาสนากำหนดเอาไว้ ถ้าละทิ้งถือว่ามีโทษ (บาปการรักษาสุนนะฮ์เท่ากับการให้เกียรติแก่บรรดาเครื่องหมายของพระเจ้า ใครก็ตามเพิกเฉยต่อสุนนะฮ์ จะทำให้การปฏิบัติสิ่งที่เป็นข้อบังคับนั้นบกพร่องไปด้วย

 

     ♦ หก ทำให้ห่างไกลจากการการกระทำที่ผิดหลักการศาสนาและเป็นอุตริกรรม เรียกว่า บิดอะฮฺ ฉะนั้นการรักษาสุนนะทำให้รอดพ้นจากสิ่งที่บิดเบือนในศาสนา

     บิดอะห์ คือ สิ่งที่อุตริกรรมขึ้นมาใหม่ในศาสนา โดยที่ไม่มีแบบอย่างจากท่านรอซูลุลลอฮฺ ﷺ 

     บิดอะห์ ในด้านภาษาศาสตร์ หมายถึง สิ่งใหม่ๆที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น

 

     ชาวสะลัฟ ซอและฮฺ กล่าวว่า ทุกคนที่เจริญรอยตามแบบฉบับของท่านร่อซูล ﷺ สำหรับพระองค์ เป็นที่เพียงพอแล้ว เขานั้น จะได้รับทางนำ ชัยชนะและได้รับปัจจัยยังชีพ

     สะลัฟ ซอและฮฺ คือ ยุคแรกของประชาชาตินี้ อันได้แก่ บรรดาศ่อฮาบะฮฺของท่านร่อซู้ล ﷺ ทั้งที่เป็นชาวมุฮาญิรีนและที่เป็นชาว อันศ้อร บรรดาตาบิอีนในช่วง 300 ปีแรก