การทำแท้งเสรี เสรีภาพแลกด้วยชีวิตที่ไร้ทางเลือก
  จำนวนคนเข้าชม  2316


การทำแท้งเสรี เสรีภาพที่แลกด้วยชีวิตที่ไร้ทางเลือก

 

ชากิร รังสิกุล

 

          การทำแท้งเป็นประเด็นที่เริ่มผุดขึ้นมาในสังคมไทยโดยเฉพาะการเรียกร้องให้มีขึ้นซึ่งกฎหมายว่าด้วยเสรีภาพในการทำแท้ง ซึ่งอย่างไรก็ตามผมมิต้องการจะมาถกเถียงว่ากฎหมายควรจะมีหรือไม่มี แต่ผมเขียนข้อเขียนมาเพื่อแสดงจุดยืนว่าทำไมจึงไม่สนับสนุนให้มีการทำแท้งแม้ว่ากฎหมายบทนี้จะถูกอนุมัติในที่สุด 

 

          สำหรับผู้ที่มีจุดยืนเดียวกันนี้ ยังมีความเชื่อในมณฑลที่มีศีลธรรมเป็นองค์ประกอบในการดำเนินชีวิต แม้ว่ากฎหมายจะเปิดประตูให้กับการตัดสินใจดังกล่าว แต่การจะมีจุดยืนโดยไร้เหตุผลอาจทำให้ฝ่ายที่ออกมาสนับสนุนการทำแท้งเสรีมองว่าเรามีจุดยืนที่งมงาย ดังนั้น ผมจะแสดงทรรศนะและการวิภาษณ์ ข้อถกเถียงและวาทกรรมที่ถูกผลิตมาจากฝ่าย Pro choice ที่มักยกคำพูดที่ว่า "woman’s right to choose” หรือ "สิทธิในการเลือกบนเรือนร่างของสตรี

 

          โดยนักสตรีนิยมเสรีนิยม มองว่า การยุติการตั้งครรภ์ของเธออนั้นเป็นสิทธิบนเรือนร่างของเธอ อย่างก็ตามนักสตรีนิยมฝั่ง Pro-Life ก็มีวลีตรงข้ามกันคือ "Nothing makes a wrong right" หรือ "ไม่มีสิ่งใดที่ทำให้สิ่งที่ผิดเป็นสิ่งถูกต้องได้" เพราะฝั่งที่ต่อต้านการทำแท้งเสรีอย่างปราศจากเงื่อนไขนั้นมองว่าการทำแท้งนับเป็นการสังหารเช่นเดียวกัน

 

          มีการให้เหตุผลของนักกิจกรรมสตรีนิยมท่านหนึ่งได้กล่าวไว้อย่างสั้นๆว่า "ถ้าความเป็นคนคือต้องมีความรู้สึกดังนั้นตัวอ่อนที่อายุน้อยกว่า 24 สัปดาห์ ไม่นับว่าเป็นคน"  

 

         ซึ่งทรรศนะดังกล่าวเป็นทรรศนะที่ไม่ยุติธรรมกับเด็กในครรภ์ เพราะเป็นประโยคที่ทึกทักเอาไว้ว่าเด็กต้องไม่มีความรู้สึก การต้องยึดประเด็นที่ว่า ชีวิต และ ความรู้สึกของสิ่งมีชีวิต ออกจากกัน ที่สำคัญเราไม่สามารถหาข้อสรุปและทึกทักออกมาได้ว่าตัวอ่อนไม่มีความรู้สึกจริงๆ แต่ที่แน่ชัดคือ ตัวอ่อนคือสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งที่กลุ่มที่สนับสนุนการทำแท้งเสรีไม่เรียกว่ามนุษย์ อาจเพราะตัวอ่อนมีรูปร่างไม่เหมือนมนุษย์จริงๆ หรือ ตัวอ่อนก่อน 24 สัปดาห์ ไม่สามารถมีชีวิตได้เมื่อคลอดออกมาก่อนกำหนด และเพราะตัวอ่อนต้องพึ่งพิงร่างกายมารดาในการมีชีวิต

 

         ​ในความเป็นจริงมีข้อคิดเห็นมากมายในเชิงวิทยาศาสตร์เห็นว่าตัวอ่อนของทารก คือสิ่งมีชีวิตที่นับเป็นมนุษย์ที่กำลังพัฒนาการไปสู่การแรกเกิดตามธรรมชาติ ต่างจากทรรศนะของกลุ่มที่ให้เสรีภาพในการทำแท้งมอง

 

     ยามานากะผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านสรีรวิทยา / การแพทย์ และ สอนที่มหาวิทยาลัยเกียวโตกล่าวว่าเมื่อฉันเห็นตัวอ่อนฉันก็รู้ทันทีว่ามีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างมันกับลูกสาวของฉัน” (2007)

 

     Rockville ได้กล่าวไว้ในงาน Cloning Human Beings. Report and Recommendations of the National Bioethics Advisory Commission(1997) ว่า "เอ็มบริโอ: เป็นสิ่งมีชีวิตที่กำลังพัฒนาตั้งแต่ช่วงปฏิสนธิ จนกระทั่งเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อสิ่งมีชีวิตนั้นเรียกว่าทารกในครรภ์(Fetus)" 

 

          ซึ่งไม่อาจเอาข้อคิดเห็นทางวิทยาศาสตร์มาตอบได้ว่าชีวิตมนุษย์นั้นเริ่มต้นได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เราสามารถสรุปได้ว่าการตั้งครรภ์ของมารดาคือการอุ้มสิ่งมีชีวิตอีกชีวิตหนึ่งในครรภ์

 

     Langman, Jan ได้เขียนเอาไว้ในงาน Medical Embryology. 3rd edition. Baltimore: Williams and Wilkins(1975) เอาไว้ว่า "พัฒนาการของมนุษย์เริ่มต้นด้วยการปฏิสนธิซึ่งเป็นกระบวนการที่เซลล์พิเศษสูง 2 เซลล์คือสเปิร์มจากตัวผู้ และไข่จากตัวเมียรวมตัวกันเพื่อก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตใหม่คือไซโกต

 

     นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และนายแพทย์ซึ่งมีจุดยืนไม่สนับสนุนการทำแท้งคือดรอาดิ้ล ศิริพัธนะ( Adil Siripatanaให้ข้อคิดเห็นว่า Fetus คือมนุษย์และทำใจเป็นอย่างอื่นยาก มันไม่ได้สำคัญหรอก ว่าตัวอ่อนรู้สึกยังไง แต่แม่ต่างหากที่รู้สึกอย่างไรและ นายแพทย์ อุมาด แอเก็ม( Umaad Aegem ) มีข้อคิดเห็นว่า ทารกในครรภ์ก่อน 24 สัปดาห์ มีหัวใจ มี heart beat  แล้ว คำถามคือเรา Assume ได้อย่างไรว่าเด็กไม่มีความรู้สึก ?

 

         หากเราให้เหตุผลว่าเด็กในครรภ์ต้องพึ่งมารดาในการอาศัยอยู่ในครรภ์เช่นนี้มารดาจึงมีสิทธิ์ในการตัดชีวิตของตัวอ่อน คำถามที่ตามมาคือ หากเด็กคลอดมาแล้วยังอยู่ในช่วงที่ต้องพัฒนาทั้งร่างกายและการรับรู้ ดังนั้นเราจะใช้เหตุผลเดียวกันในการขจัดเด็กไปได้หรือไม่ เพราะถึงแม้เด็กจะอยู่นอกหรือในครรภ์ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเด็กยังคงต้องพึ่งพิงคนอื่นเพื่อให้มีชีวิตต่อไป  

 

         หรือหากใช้เหตุผลของการไม่มีสติเช่นนี้เราสามารถสังหารผู้ที่เป็นผู้เสียสติหรือเจ้าชายนิทราได้หรือไม่ ? เพราะบุคคลกลุ่มดังกล่าวอาจจะไม่มีสติหรือความรู้สึกเช่นเดียวกัน ซ้ำร้ายเด็กในครรภ์นั้น(หากไม่นับกรณีพิเศษทางสุขภาพ) มีอนาคตที่จะพัฒนาต่อไปในทางบวกในฐานะมนุษยิ่งกว่าเจ้าชายนิทรา หากเราสังหารตัวอ่อนในครรภ์ได้ แล้วเหตุผลใดการสังหารผู้เสียสติหรือเจ้าชายนิทราจึงมีความผิด

 

          เมื่อเราวิภาษณ์ ข้ออ้างที่ว่าการทำแท้งเสรีส่งผลให้อัตราการทำแท้งและท้องก่อนวัยลดลง การอ้างดังกล่าวก็มีวิจัยที่ยังไม่มีความแน่นอนในข้อสรุป เพราะผลวิจัยของประเทศอังกฤษและเวลล์ Abortion Statistics, England and Wales: 2019 (p6) ในปีล่าสุด อัตราการทำแท้ง (ASR) 18.0 ต่อผู้หญิง1,000 คนในช่วงอายุ 15-44 ปี อัตรา ASR เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2018 (17.4 ) นี่คือ อัตราสูงสุดที่บันทึกไว้เกินจุดสูงสุดก่อนหน้าในปี 2007 (การทำแท้ง 17.9 ) และสถิติของประเทศเสปน อัตราการทำแท้งในสเปนเพิ่มขึ้นจาก 1.99 ในปี 1987 เป็น 5.53 ในปี 1995 ต่อผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 1,000 คน(Does the liberalisation of abortion laws increase the number of abortions ? The case study of Spain,p191) 

 

     สำหรับ  George Akerlof เจ้าของรางวัลโนเบลด้านเศรษศาสตร์ ได้มองว่า การทำแท้งเสรีไม่ได้ลดจำนวนอัตราการทำแท้งและผู้ที่ทำแท้งนั้น 1 ใน 4 อายุต่ำกว่า 25 ปี (Failed Promises of Abortion, archived from the original on 2008)

 

     Daniel Haqiqatjou(2016) ได้กล่าวว่า "นักสตรีนิยมบางคนโต้แย้งว่าผู้หญิงมีสิทธิที่จะเลือกว่าจะตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรหรือไม่เพราะท้ายที่สุดแล้วมันคือร่างกายของพวกเขา แต่ถ้าผู้หญิงอยากมีลูก แต่ผู้ชายไม่ต้องการ หรือผู้หญิงไม่อยากมีลูก แต่ผู้ชายต้องการ เขาไม่มีทางเลือกในสถานการณ์เหล่านั้นจริงๆ

 

         สรุปได้อีกก็คือสิทธิทางเรือนร่างในเรื่องการตั้งครรภ์ก็เกิดขึ้นจริงยาก และหากเกิดขึ้นจริงก็ไม่พ้นข้อโต้แย้งที่ว่าคุณกำลังสังหารตัวอ่อนในครรภ์ที่นับว่าเป็นอีกชีวิตหนึ่งไม่ต่างจากการสังหารเจ้าชายนิทราที่อยู่ในสภาพที่อาจจะไร้คงามรู้สึกไร้สติ

 

          ดังนั้นการอ้างสิทธิบนเรือนร่าง คือการตัดสิทธิในอนาคตของอีกวิญญาณหนึ่ง ถ้าพูดในหลักคิดแบบสากลที่ค้านกับกลุ่มที่ให้เสรีการทำแท้ง  และเมื่อย้อนมาในส่วนของศีลธรรมการฆ่าสิ่งหนึ่งด้วยเหตุผลที่ไม่กินกับสติปัญญาย่อมเป็นสิ่ที่ผิดเช่นกัน ต้องไม่ลืมว่าเราไม่สามารถเสกตัวอ่อนเข้าไปในท้องได้ (ถ้าไม่นับการข่มขืน

          การสำรวจแสดงให้เห็นว่าในสหรัฐอเมริกาการทำแท้งส่วนใหญ่ (99% ในบางรัฐ) เป็นการเลือกที่มิได้มาจากภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพไม่มีการข่มขืน การทำแท้งจากเหตุผลข้างต้นมีเพียงส่วนน้อย แต่การทำแท้งส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยด้านความสะดวกเช่นไม่ต้องการให้เด็กเป็นอุปสรรคในการทำงาน/เรียน หรือแค่ไม่ต้องการให้พ่อแม่ของตนรู้ว่ามีเพศสัมพันธ์เป็นต้น 

 

          ดังนั้นการป้องกันที่ถูกวิธีคือการให้การศึกษาเรื่องเพศและการสมรสอย่างถูกต้อง มากกว่าการกำหนดการทำแท้งให้เป็นทางออกมากกว่าการป้องกันต้นเหตุของการตั้งครรภ์ แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจริงๆก็ต้องหาทางออกอื่นๆ เช่นสวัสดิการที่ดี หรือการตรวจหาผู้ที่เป็นบิดาให้ร่วมรับผิดชอบในการส่งเสีย รวมถึงทางออกที่จะมอบคุณภาพของบิดามารดา และลูก ให้คุณภาพของชีวิตเหมือนกับเด็กทั่วไป มิใช่การปิดประตูที่การสังหารทารก  มิเช่นนั้นอาชญากรรมต่างๆ ก็สามารถใช้ความลำบากหรือความจน เป็นข้ออ้างให้พ้นผิดได้เ่ช่นเดียวกัน

 

        ขอจบด้วยกับโองการกุรอานซึ่งเป็นที่มาของจุดยืนของผมนั่นก็คือ

 

"และอย่าได้ฆ่าลูกของพวกเจ้า เนื่องจากความจน เราเป็นผู้ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า และแก่พวกเขา"



(ซูเราะฮ อัลอันอาม อายะฮที่ 151)