หลักการซื้อขายมิใช่เรื่องดราม่า
  จำนวนคนเข้าชม  683

หลักการซื้อขายมิใช่เรื่องดราม่า

 

.อิสหาก พงษ์มณี  : เรียบเรียง

 

         กรณีที่ผมและอีกหลายท่านโพสต์ตักเตือนแบบกว้างๆ เรื่องการร่วมทุนซื้อขายที่และการขายที่เงินผ่อน ปรากฏว่าได้มีบางคนออกมาดราม่าเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องวิชาการ เช่น ไม่ช่วยแล้วยังมาขวาง ไม่ซื้อแล้วยังมาก่อกวน เขาทำเพราะรักพี่น้องมุสลิม ทำไปเพราะต้องการให้คนมีที่อยู่อาศัยอะไรทำนองนี้

 

        ข้อความเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับเรื่องวิชาการที่เราตักเตือนไป หรือแม้แต่จะทำให้ความผิดกลายเป็นถูกได้ มันแค่ดราม่าที่ไร้สาราะในเชิงวิชาการ สาระสำคัญที่ต้องพิจาณาในเชิงวิชาการตามที่ได้สังเกตจากคำพูดและการนำเสนอคือ

1-การร่วมทุน

2-ขายที่เงินผ่อน

 

          กรณี่ที่หนึ่ง มีการเสนอว่าหากผู้ใดนำเงินมาร่วมลงทุน 36000 บาท จะได้กำไร 30000 บาท รวมแล้วจะได้เงินคืน 66000 บาท ข้อความเหล่านี้กำกวมและส่อถึงความไม่ชัดเจนในการลงทุน

การลงทุนที่เรียกว่ามุฎอรอบะห์

     1) ผู้ประกอบการไม่สามารถจะระบุกำไรที่เป็นตัวเลขแน่นอนแก่ผู้ร่วมลงทุนได้ 

 

     2) การกำหนดแบ่งผลกำไรกระทำได้เพียงกำหนดเป็นสัดส่วนระว่างผู้ประกอบการและผู้ร่วมลงทุน เช่น ห้าสิบห้าสิบ สามสิบเจ็ดสิบ หรือยี่สิบแปดสิบ อย่างนี้เป็นต้น

 

     3) การกำหนดกำไรเป็นตัวเลขล่วงหน้าชัดเจน ไม่มีปรากฏในสาระบบการร่วมลงทุนระบบอิสลาม จะมีก็แต่ในระบบดอกเบี้ยเท่านั้น

 

     4) การกำหนดกำไรล่วงหน้าเป็นตัวเลขแน่นอน มันคือการประกันว่าเงินทุนไม่จะไม่สูญสลาย ความรับผิดชอบลักษณะนี้ในภาษาทางวิชาการเรียกว่าอัฎฎ่อมานซึ่งผิดไปจากความรับผิดชอบของผู้ประกอบการลักษณะอัลมุฎอรอบะห์ส่วนความรับผิดชอบในเรื่องมุฎอรอบะห์มันคืออัลอะมานะห์

 

     5) การร่วมทุนลักษณะอัลมุฎอรอบะห์ไม่มีการประกันเงินลงทุนมิให้สูญสลายได้ เพราะอาจขาดทุนได้ และไม่สามารถกำหนดเป็นตัวเลขแน่นอนเพราะอาจได้กำไรน้อยหรือมากก็ได้ 

 

     6) กำไรในการทำมุฎอรอบะห์มิอาจแยกเป็นหลายกองได้ก่อนการแบ่ง กำไรจะถูกกำหนดให้เป็นแค่สองกองเท่านั้นคือ ฝ่ายผู้ลงแรง (จะมีหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งก็ได้) และฝ่ายผู้ออกทุน (จะมีหนึ่งหรือมากว่าหนึ่งก็ได้) การหักเงินกำไรเข้ากองทุนโน้นนี่นั่น หรือเพื่อการกุศลโน่นนี่นั่น เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักพื้นฐานของอัลมุฎอรอบะห์

 

         มีบางคนพยายามจะบอกกับคนทั่วไปว่าการขายลักษณะเงินผ่อน ไม่จำเป็นต้องโอนสิทธิ์ให้ผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะผ่อนชำระหมดเสียก่อน และยืนยันว่าการกระทำลักษณะดังกล่าวมีฟัตวารองรับและมีการอ้างถึงเชคศอและห์ อัลมุนัจญิด ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจหลักการซื้อขายเบื้องต้นก่อนว่าหากมีการซื้อขายเกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้ว สินค้านั้นจะถูกย้ายกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อโดยอัตโนมัต คือหมายถึงสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อทันทีที่การซื้อขายยุติลง อันนี้เรียกว่าโอนย้ายสิทธิ์หรือที่เรียกว่านักลุ้ลมิลกียะห์ 

 

         สิ่งที่จะตามมาคือฝ่ายผู้ขายต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะต้องรับมอบสินค้านั้น การรับมอบนี้เรียกว่าอัลก๊อบดุวิธีการรับมอบสินค้าใดๆ ขึ้นอยู่กับสินค้าประเภทนั้นๆ หากยังมิได้ส่งมอบหรือรับมอบสินค้านั้น ผู้ซื้อแม้จะมีสิทธ์ตามหลักการ แต่ก็มิอาจจะจัดการใดๆ ต่อสินค้านั้นได้ และความรับผิดชอบในสินค้านั้นยังคงอยู่กับผู้ขายในกรณีเกิดความเสียหายต่อสินค้า ยกเว้นกรณีเดียวคือเมื่อผู้ขายพร้อมจะส่งมอบแต่ผู้ซื้อบ่ายเบี่ยงที่จะรับมอบด้วยเหตุใดๆ ก็แล้วแต่ ความรับผิดชอบต่อความเสียหายในสินค้านั้นก็จะกล่ายเป็นของผู้ซื้อเอง

 

          ในปัจจุบันการซื้อขายสิ่งของบางอย่างต้องมีการจดทะเบียนและลงชื่อเป็นเจ้าของ แน่นอนในทางปฏิบัติอาจไม่สามารถกระทำภายในวันเดียวให้แล้วเสร็จ หากไม่อาจกระทำในทันทีได้ นักวิชาการก็ผ่อนปรนให้ดำเนินการในเวลาถัดไปได้ ดังนั้นจึงมีการวินิจฉัยว่า การซื้อขายที่ยังมิได้โอนสิทธิ์ทางกฏหมายในทันทีเป็นที่อนุญาต แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นมิได้หมายความว่าจะปล่อยไว้โดยมิต้องโอนให้จนกว่าจะผ่อนแล้วเสร็จ

 

         หากไม่ศึกษาให้รอบคอบอาจจะหยิบยกฟัตวามาอ้างอย่างผิดๆ ได้ เช่น มีคนหยิบยกฟัตวาของเชคศอและห์ อัลมุนัจญิดมาอ้างเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ว่าไม่มีผลต่อการซื้อขายลักษณะเงินผ่อน เพราะการโอนสิทธิ์เป็นแค่เพียงการรับรองสิทธ์เท่านั้น ถามว่าข้อความลักษณะดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่ ก็ต้องตอบว่ามีอยู่จริง ดังปรากฏข้อความดังนี้

 

تسجيل السيارة باسم المشتري ، المراد منه توثيق الحق ، وليس شرطا لصحة البيع ، وملكية المبيع تنتقل إلى المشتري ، بمجرد العقد ، سواء سجل المبيع باسمه أو ظل على اسم البائع 

 

         นั่นหมายถึงเรื่องสิทธิ์ของสินค้าจะถูกโอนไปสู่ผู้ซื้อโดยทันทีเมื่อสิ้นสุดการทำข้อตกลงซื้อขาย แต่คำพูดนี้มิได้กล่าวถึงเรื่องการส่งมอบและรับมอบแต่อย่างใด การส่งมอบและรับมอบเป็นผลผูกพันจากข้อตกลงซื้อขายที่สิ้นสุดลง ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ หากทำได้ทันทีก็ต้องทำ หรือหากต้องใช้เวลาบ้างแต่สุดท้ายก็ต้องดำเนินการ ไม่ใช่ปล่ายคาไว้เช่นนั้น 

         การปล่อยสิทธิ์คาไว้อย่างนั้นในเชิงวิชาการเรียกว่าอั้ลเอี๊ยห์ติฟาซ บินักลิล มิลกียะห์ซึ่งผู้ขายไม่มีสิทธิ์กระทำเช่นนั้น ในเรื่องนี้มีมติชัดเจนจากมัจมะอ์ฟิกฮี่(ที่ประชุมปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามสากล)ที่ประชุมกัน ณ มักกะห์ เมื่อ มีนาคม ปี 1990 เกี่ยวกับการซื้อขายลักษณะเงินผ่อนไว้ดังนี้ (ผมขอคัดเอาแต่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของเรานะครับ คือมติข้อที่หก)

 

إن مجلس مجمع الفقه الإسلامي المنعقد في دورة مؤتمره السادس بجدة في المملكة العربية السعودية من 17- 23 شعبان 1410 هـ الموافق 14 - 20 آذار (مارس) 1990م، بعد اطلاعه على البحوث الواردة إلى المجمع بخصوص موضوع البيع بالتقسيط، واستماعه للمناقشات التي دارت حوله، قرر ما يلي:

سادساً: لا حق للبائع في الاحتفاظ بملكية المبيع بعد البيع، ولكن يجوز للبائع أن يشترط على المشتري رهن المبيع عنده لضمان حقه في استيفاء الأقساط المؤجلة

 

          ข้อที่หก ผู้ขาย (สินค้าลักษณะเงินผ่อน) ไม่มีสิทธิ์กักเก็บสิทธิ์ในการครอบครองสินค้านั้น หลังจากที่ขายไปแล้ว (ไว้กับตน) แต่อนุญาตให้ผู้ขายตั้งเงื่อนกับผู้ซื้อว่าให้เอาสินค้านั้นประกันหนี้ไว้ (เผื่อเอาไว้) ชดใช้หนี้ (ที่ผู้ซื้อมิอาจส่งหนี้ได้)

 

          คำว่าสิทธิ์ในที่นี้คือสิทธิ์การเป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์ ไม่ใช่แค่สิทธิ์ที่เกิดขึ้นจากการสิ้นสุดตกลงซื้อขายกัน สิทธิ์โดยสมบูรณ์จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการส่งมอบและรับมอบสินค้านั้น การรับมอบโดยสมบูรณ์ก็คือการดำเนินทางเอกสารหากสินค้านั้นๆ จำเป็นต้องมี ต่อกรณีดังกล่าวนี้แม้แต่เชคมุนัจญิด เองก็ได้หยิบยกมติดังกล่าวมาอ้างอิงไว้ในคำฟัตวาตนเรื่องการซื้อขายเงินผ่อนเช่นกันตามนี้

 

البيع بالتقسيط - الإسلام سؤال وجواب (islamqa.info)

سادساً: لا حق للبائع في الاحتفاظ بملكية المبيع بعد البيع، ولكن يجوز للبائع أن يشترط على المشتري رهن المبيع عنده لضمان حقه في استيفاء الأقساط المؤجلة

 

          ดังนั้นการอ้างเอาเองว่าไม่จำเป็นต้องโอนสิทธิ์ในเชิงเอกสารกรณีซื้อขายเงินผ่อนจนกว่าจะผ่อนจบ จีงเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของคนอ้างเอง ไม่ใช่เป็นคำวินิจฉัยของเชคมุนัจญิดแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้น ยังฟัตวาจากเชคเฟาซานในกรณีใกล้เคียงกันนี้ (เรื่องการขายรถที่ยังมิได้รับโอนเอกสารสิทธิ์) ท่านตอบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะถือว่าผู้ขายยังมิได้รับมอบสินค้ามาโดยสมบูรณ์ ดูคลิปนี้ครับ((https://youtu.be/YekBmYR0KsQ))

 

     กฏหมายซาอุฯ ในปัจจุบันก็มีการบํญญัติไว้หลายมาตราเกี่ยวกับการซื้อขายลักษณะเงินผ่อน ขอยกมาอ้างอิงเล็กน้อยดังนี้

المادة الثالثة:

يلتزم البائع بتسليم المبيع للمشتري بالحالة التي كان عليها وقت البيع، ويشمل التسليم ملحقات الشيء المبيع، وكل ما أعد بصفة دائمة لاستعماله، وذلك طبقا لما تقضي به طبيعة الشيء والعرف وقصد المتعاقدين. ويكون التسليم بوضع المبيع تحت تصرف المشتري، بحيث يتمكن المشتري من حيازته والانتفاع به دون عائق. ويحصل هذا التسليم على النحو الذي يتفق مع طبيعة الشيء المبيع.

 

         ผมแปลแบบสรุปๆ คือ ผู้ขาย(สินค้าเงินผ่อน)ต้องส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อโดยครบถ้วนสมบูรณ์ คือผู้ซื้อจะต้องได้ครอบรองสินค้านั้น ใช้ประโยชน์ในสินค้าโดยปราศจากอุปสรรคใดๆ อันว่าส่งมอบให้ผู้ซื้อรวมถึงสิ่งทีเกี่ยวเนื่องผูกพันกับสินค้านั้นด้วยในอันที่จะใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป

 

มติของมัจมะอ์ฟิกฮี่...

 

 دورة مؤتمره السادس بجدة في المملكة العربية السعودية من 17- 23 شعبان 1410 هـ الموافق 14 - 20 آذار (مارس) 1990م، بعد اطلاعه على البحوث الواردة إلى المجمع بخصوص موضوع البيع بالتقسيط، واستماعه للمناقشات التي دارت حوله، قرر ما يلي:

سادساً: لا حق للبائع في الاحتفاظ بملكية المبيع بعد البيع، ولكن يجوز للبائع أن يشترط على المشتري رهن المبيع عنده لضمان حقه في استيفاء الأقساط المؤجلة

 

      ข้อที่หก ผู้ขาย (สินค้าลักษณะเงินผ่อน) ไม่มีสิทธิ์กักเก็บสิทธิ์ในการครอบครองสินค้านั้น หลังจากที่ขายไปแล้ว (ไว้กับตน) แต่อนุญาตให้ผู้ขายตั้งเงื่อนกับผู้ซื้อว่าให้เอาสินค้านั้นประกันหนี้ไว้ (เผื่อเอาไว้) ชดใช้หนี้ (ที่ผู้ซื้อมิอาจส่งหนี้ได้)

 

          มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาดังนี้

     1 -ตามหลัการซื้อขายโดยทั่วไป เมื่อการซื้อขายสื้นสุดลง สินค้าย่อมเป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อ ส่วนราคาสินค้าก็ตกเป็นสิทธิ์ชองผู้ขาย

 

     2 -แต่สิทธิ์นั้นจะสมบูรณ์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการส่งมอบและรับมอบสินค้าจากทั้งสองฝ่าย

 

     3 -ในมติของมัจมะอฺฟิกฮี่ที่ระบุว่าผู้ขาย (ลักษณะเงินผ่อน) ไม่มีสิทธิ์กักเก็บสิทธิ์ในสินค้าไว้กับตน จึงมิได้หมายถึงสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของตามนัยยะของการซื้อขาย เพราะสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของมันถูกถ่ายโอนเป็นของผู้ซื้อโดยทันทีหลังจากสิ้นสุดการทำสัญญาซื้อขาย

 

     4 -ดังนั้นสิทธิ์ที่ถูกกล่าวไว้ในมติของมัจมะอฺฟิกฮี่ จึงไม่ใช่สิทธิ์การเป็นเจ้าของ แต่มันหมายถึงสิทธิ์ในการครอบครองสินค้าโดยสมบูรณ์

 

     5 -ไม่อนุญาตให้ผู้ขายสินค้าลักษณะเงินผ่อนกักเก็บสิทธิ์ในสินค้าไว้กับตน ข้อความนี้จะไร้ความหมายทันที ถ้าเข้าใจเอาว่ามันหมายถึงสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ เพราะสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของมันเกิดขึ้นทันทีเมื่อสิ้นสุดการทำสัญญาซื้อขาย 

 

     6 -ทั้งๆที่สิทธิ์การเป็นเจ้าของสินค้ามันถูกถ่ายโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อสิ้นสุดการซื้อขายแล้ว เหตุใดมัจมะอฺฟิกฮี่จึงยังต้องระบุว่าผู้ขายไม่มีสิทธิ์กักเก็บสิทธิ์ในสินค้าไว้กับตนหลังสินสุดการซื้อขาย...นั่นก็เพราะว่าสิทธิ์การเป็นเจ้าของต่างไปจากสิทธิ์ครอบครองในสินค้าโดยสมบูรณ์

 

     7 -การส่งมอบสินค้าจะสมบูรณ์ได้มีปัจจัยหลายประการ เช่น หากสินค้านั้นต้องมีการลงทะเบียนเป็นชื่อของผู้ซื้อ ผู้ขายก็ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพตามจริง

 

     8 -มัจมะอ์ฟิกฮี่ มีมติอนุญาตให้ผู้ขายตั้งเงื่อนไขกับผู้ซื้อว่าให้ผู้ซื้อเอาสินค้าที่ซื้อค้ำหนี้ที่ยังค้างชำระได้ มตินี้จะไร้ความหมายโดยทันทีหากผู้ซื้อไม่ได้รับการโอนสิทธิ์โดยสมบูรณ์. เพราะผู้ที่จะเอาทรัพย์ตนไปค้ำหนี้ตนได้ ผู้นั้นต้องเป็นเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์นั้นโดยสมบูรณ์เสียก่อน

 

     9 -สรุปคือ เมื่อมีการโอนสิทธิ์โดยสมบูรณ์แล้วก็ให้ผู้ซื้อเอาทรัพย์นั้นค้ำหนี้ตน ซึ่งอาจหมายถึงตัวทรัพย์นั้นโดยตรงหรือเอกสารถือครองสิทธิ์ในทรัพย์นั้น นั่นคือสาระสำคัญตามมติของมัจมะอ์ฟิกฮี่ พูดง่ายๆ คือเมื่อโอนแล้วก็เอาทรัพย์นั้นจดจำนองค้ำหนี้ นั่นเอง

 

     10 -ซึ่งตรงตามฟัตวาของเชคเฟาซานที่ฟัตวาไว้ว่าหากผู้ใดซื้อรถมา (แม้จะซื้อมาด้วยเงินสด) ถ้ายังมิได้โอนเป็นชื่อตน ห้ามนำไปขายต่อเพราะถือว่ายังมิได้รับมอบสินค้าโดยสมบูรณ์ การโอนสิทธิ์(เอกสารสิทธิ์)จึงเป็นส่วนสำคัญในการรับมอบสินค้าที่ส่งผลต่อการนำไปขายต่อ

 

     หากผู้ใดเห็นต่างไปจากนี้ก็ย่อมเป็นสิทธิ์ของท่าน แต่ต้องชี้แจงหลักการและเหตุผลที่เห็นต่างไปพร้อมนำเสนอแก่สาธารณะ คือไม่ใช่แค่บอกว่าไม่เห็นด้วยแล้วจบ