ถ้อยคำตักเตือน ทรัพย์สิน
  จำนวนคนเข้าชม  806

ถ้อยคำตักเตือน ทรัพย์สิน

 

อุมมุอัฟว์ แปลเรียบเรียง

 

ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

 

     "เมื่อพวกท่านตกลงซื้อขายด้วยอีนะฮฺ (ธุรกรรมรูปแบบหนึ่งที่ยอมรับการกินดอกเบี้ย ขายสินค้าด้วยราคาผ่อนจ่ายในระยะเวลาที่กำหนด และซื้อคืนด้วยราคาต่ำกว่าราคาที่ได้ขายไป)

     ยึดเอาหางวัว (ใช้ปศุสัตว์ในการทำเกษตรกรรม) 

     พึงพอใจกับเรือกสวนไร่นา (สนใจอยู่กับการทำเกษตรตลอดจนการงานต่างๆ ในดุนยา จนละเลยเรื่องอาคิเราะฮฺ) 

     และละทิ้งการญิฮาด (หลีกห่างจากการญิฮาด เพราะมุ่งปรารถนาแต่ดุนยา)

     อัลลอฮฺจะทรงทำให้ความตกต่ำเข้ามาครอบงำมีอำนาจเหนือพวกท่าน โดยที่ไม่อาจถอดถอนความต่ำต้อยนี้ออกไปได้ จนกว่าพวกท่านจะหวนกลับคืนสู่ศาสนาของพวกท่าน"

 

(บันทึกโดย อิมามอบูดาวู้ด)

 

 

- ท่านอุมัร อิบนิ้ล ค็ฏฏอบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ -

 

อย่าได้เข้ามาทำมาค้าขายในตลาดของเรา นอกจากผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในศาสนาอย่างลึกซึ้งเท่านั้น

 

(ศ่อฮีฮฺ อัตติรมีซีย์)

 

          หมายถึง การทำธุรกิจ  ทำการค้าใดๆ นั้น ย่อมมีรายละเอียดเกี่ยวกับบทบัญญัติทางศาสนา ข้อปฏิบัติ ตลอดจนกฏเกณฑ์ต่างๆมากมาย ดังนั้น บุคคลที่ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับเหล่านั้นก็ไม่สมควรที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง

 

           คำพูดท่านอุมัรข้างต้นเป็นการสื่อว่า อย่าได้ให้ใครมาทำธุรกรรม หรือทำมาค้าขายในตลาดของมุสลิม นอกจากคนที่รู้ในสิ่งที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับฮุก่มต่างๆ ของศาสนา มีความรู้ในเรื่องการทำธุรกรรมตามบทบัญญัติอิสลาม รู้จักรูปแบบการค้าขายที่หะรอม (ต้องห้าม)  เงื่อนไขต่างๆ ของการซื้อขายสินค้า เพื่อที่จะได้ไม่พลัดตกไปอยู่ในการค้าขายที่หะรอมโดยไม่รู้ตัว อาทิ ในเรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยและอื่นๆ  เป็นต้น

ที่มาคำอธิบาย : https://dorar.net/hadith/sharh/74155

 

 

ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

 

 "درهم ربا يأكله الرجل وهو يعلم أشد من ستة وثلاثين زنية"

 

     "ดิรฮัมเดียวที่เป็นดอกเบี้ย ที่คนๆ หนึ่งกินดอกมา โดยที่เขารู้ตัวนั้น นับว่ารุนแรงหนักหนาเสียยิ่งกว่า การผิดประเวณี 36  ครั้งเสียอีก"

 

(บันทึกโดย อิมามอะฮฺมัด อิมามอัลอัลบานีย์ ระบุว่า ศ่อเฮียะฮฺ)

 

 

ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

 

 "لعن الله آكل الربا، وموكله، وكاتبه، وشاهديه. وقال: هم سواء" 

 

     อัลลอฮฺทรงสาปแช่งผู้ที่ กินดอกเบี้ย ผู้ที่ จ่ายดอกเบี้ย ผู้ จดบันทึกดอกเบี้ย และผู้เป็นสักขีพยานทั้งสอง

     และท่านกล่าวอีกว่า : พวกเขาเหล่านั้น เสมอภาคกัน"

 

(บันทึกโดย อิมามมุสลิม)

 

 

ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า:

 

     "ในค่ำคืนหนึ่งมีชายสองคนได้มาหาฉัน แล้วกล่าวว่า จงออกไปกันเถอะ แล้วฉันก็ได้ออกเดินทางไปพร้อมกับชายทั้งสอง

     จนกระทั่งมาถึงยังแม่น้ำแห่งหนึ่ง 

     (ฉันคิดว่าเขากล่าวว่า) ที่มันมีน้ำสีแดงดั่งโลหิต ณ ที่นั้นมีชายคนหนึ่งแหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำ และที่ริมตลิ่งมีชายอีกคนหนึ่งได้เก็บก้อนหินมารวมกันไว้มากมาย

     ครั้นเมื่อผู้ที่ว่ายน้ำได้มาหาเขา เขาก็ได้แยกปากของชายผู้นั้น และใส่ก้อนหินลงไป  แล้วชายผู้นั้นก็ว่ายน้ำจากไป แล้วก็ว่ายกลับมาหาเขาที่ริมฝั่ง ทุกครั้งที่เขากลับมา ชาย (ที่อยู่ริมตลิ่ง) ก็จะแยกปาก (ชายที่ว่ายน้ำ)แล้วก็ใส่หินลงไป 

     ฉันจึงถามชายทั้งสองว่า: เกิดอะไรขึ้นกับชายสองคนนั้นหรือ?”

      ทั้งสองกล่าวแก่ฉันว่า: ชายที่ว่ายน้ำแล้วถูกแยกปากให้กินก้อนหินนั้น คือ คนที่ กิน ดอกเบี้ย 

 

(บันทึกโดย อิมามอัลบุคอรีย์   : 7047)

 

 

- ท่านอัลฮาซัน อัลบัศรีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ -

 

والله لَيبلغُ مِنْ علمِ أحدِكم بدنياه، أنَّه يُقلِّب الدرهمَ على ظُفُره فيُخبِرك بوزنه، وما يُحسن أن يصلي"

 

      "ขอสาบานต่ออัลอัลลอฮฺ ความรู้ของคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดุนยา จะถึงจุดที่ว่า เขาจะพลิกเหรียญเงินบนเล็บมือของตัวเอง แล้วจะบอกน้ำหนักของมันแก่ท่านได้ ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ละหมาดอย่างพิถีพิถันแต่อย่างใด"

 

 

ส่วนหนึ่งจากคุตบะฮฺมัสยิดหะรอม โดยเชค ฟัยซอล บิน ญะมี้ล ฆ่อซาวีย์ ฮะฟิศ่อฮุ้ลลอฮฺ

 

สลัฟบางท่านกล่าวไว้ว่า:

พวกเขาจะรอบรู้ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ในดุนยา

รู้ว่าจะเพาะปลูกเมื่อใด?     เก็บเกี่ยวเมื่อใด?

รู้ว่าจะเพาะปลูกอย่างไร?    ก่อสร้างอย่างไร?

 

อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

(ذَلِكَ مَبْلَغُهُمْ مِنَ الْعِلْمِ)  "นั่นคือ สุดยอดแห่งความรู้ของพวกเขา" 

[النَّجْمِ: 30]؛ 

     หมายถึง การแสวงหาดุนยาและดิ้นรนเพื่อให้ได้ในสิ่งที่มีอยู่ในดุนยา คือเป้าหมายที่พวกเขาปรารถนาจะไปถึง และบั้นปลายสุดท้าย จุดจบของความรู้ของพวกเขาก็คือ การที่พวกเขายอมแลกดุนยากับโลกอาคิเราะฮฺ !!

 

 

ท่านร่อซู้ล صلى الله عليه وسلمกล่าวว่า:

 

     "แท้จริง ทรัพย์สินนั้น เปรียบเสมือน(ผลไม้)ที่น่ารับประทาน รสชาติเยี่ยม(ใครเห็นก็ชวนให้ลิ้มลองด้วยรูปลักษณ์และรสชาติของมัน)

     ดังนั้น ผู้ใดที่รับเอาทรัพย์สินมาด้วยหัวใจที่พอเพียง  เขาจะได้รับความจำเริญในทรัพย์สินนั้น (ไม่รบเร้าอยากได้ไม่โลภมากอยากมี ไม่เฝ้าจับจ้อง คะยั้นคะยอ บังคับเคี่ยวเข็ญสร้างความลำบากใจแก่ผู้ที่มอบให้ ทรัพย์สินที่เขาได้มาจะงอกเงย  เป็นริสกีที่หะล้าลที่ทำให้เขาเพียงพอและสบายใจ)

     ส่วนใครที่รับทรัพย์สินมา ด้วยหัวใจที่ฝักใฝ่อยากมี เขาจะไม่ได้รับความจำเริญในทรัพย์สินนั้น เสมือนกับคนที่ได้แต่กินแต่ไม่รู้จักอิ่ม (คือรบเร้า คะยั้นคะยอเพื่อให้ได้มา สร้างความลำบากใจแก่ผู้ที่ให้ เงินทองที่ได้รับ ไม่ได้ทำให้รู้สึกพอเพียง ยังคงโลภอยากมี และตระหนี่หวงแหนในสิ่งที่มี  เหมือนยิ่งได้กินยิ่งหิวและยิ่งหวงเพิ่มมากขึ้น)

 

( บันทึกโดย อิมามอัลบุคอรีย์)

 

 

๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓