การรับมอบสินค้า
  จำนวนคนเข้าชม  796

การรับมอบสินค้า

อิสหาก พงษ์มณี ...เรียบเรียง

 

นิยามและความหมายของคำว่า "รับมอบสินค้า"

 

อิบนุกุดามะห์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์...อธิบายว่า

 

وقال ابن قدامة في المغني: قبض كل شيء بحسبه، فإن كان المبيع دراهم أو دنانير، فقبضها باليد، وإن كان ثيابا فقبضها نقلها، وإن كان حيوانا، فقبضه تمشيته من مكانه، وإن كان مما لا ينقل ويحول، فقبضه التخلية بينه وبين مشتريه لا حائل دونه، لأن القبض مطلق في الشرع، فيجب الرجوع فيه إلى العرف كالإحراز والتفرق والعادة في قبض هذه الأشياء ما ذكرنا. هـ.

 

          การรับมอบสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นๆ หากสินค้าเป็นประเภทเงินและทอง (และสิ่งที่คล้ายเงินและทอง) ก็ต้องรับมอบด้วยมือ และถ้าเป็นอาภรณ์ (และสิ่งที่คล้ายกัน) การรับมอบคือการเคลื่อนย้าย หากเป็นประเภทสัตว์ ก็ต้องเคื่อนย้ายออกจากที่(ซื้อ) แต่ถ้าเป็นสิ่งที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ การรับมอบคือต้องเปิดทางสะดวกให้ผู้ซื้อ(ได้เข้าไปใช้ประโยชน์ได้โดยสมบูรณ์)โดยไร้สิ่งกีดขวางใดๆ

 

          ในทางปฏิบัติ คำว่า "รับมอบ" เป็นคำกว้าง ดังนั่นจึงต้องยึดธรรมเนียมปฏิบัติเป็นหลัก เช่นคำว่า "เอี๊ยะห์ร๊อซ-ดูแลทรัพย์เยี่ยงวิญญูชน" หรือคำว่า "อัตตะฟัรุก-การแยกจากกันของของคู่สัญญา" ทำเนียมที่ปฏิบัติโดยทั่วถือเป็นหลักตามที่กล่าวแล้ว"

(อัลมุฆนี ลิบนิ กุดามะห์)

 

     และท่านอิหมามนะวาวี ร่อฮิมะฮุลลอฮ์. ก็ได้กล่าวไว้ว่า

 

 القول الجملي فيه: أن الرجوع فيما يكون قبضا إلى العادة، ويختلف بحسب اختلاف المال، فإن كان المبيع من المنقولات، فالمذهب والمشهور: أنه لا يكفي فيه التخلية، بل يشترط النقل والتحريك، .

 

          "โดยรวมในเรื่องนี้ (การรับมอบสินค้า) ขึ้นอยู่กับปกติวิสัย (ของสินค้านั้น) คือขึ้นอยู่กับทรัพย์ที่แตกต่างกัน หากสินค้าที่เคลื่อนย้ายได้ เช่นทองคำ ที่ชัดเจนสุดในมัซฮับ(ชาฟิอีย์) คือถือว่ายังไม่พอเพียง(สำหรับการรับมอบสินค้า) แค่เพียงเปิดทางสะดวก(แก่ผู้ซื้อเพื่อจัดการสินค้านั้น) แต่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายออกไป"

(เราฎ้อตุฏฏอลิบีน)

          นี่คือการรับมอบแบบพฤตินัย คือมีการรับมอบจริงโดยตรง ส่วนการรับมอบโดยนิตินัย (เชิงหุก่ม) จะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป

 

 

         กรณีสินค้าที่ซื้อแล้วและยังมิได้รับมอบมา แต่มีการนำไปขายต่อ !!! นักวิชาการในอดีตมีข้อวินิจฉัยต่างกันดังนี้

 

     1- "อิหม่ามอะบูฮะนีฟะห์" ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ห้ามนำไปขายต่อยกเว้นบ้านและที่ดิน เพราะบ้านและที่ดินมีโอกาสบุบสลายได้น้อยมาก 

 

     2- "อิหม่ามมาลิก" ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ หากเป็นอาหารห้ามขายเด็ดขาด ยกเว้นสินค้าประเภทอื่นๆ เพราะตัวบทระบุเพียงเรื่องอาหาร

 

     3- ริวายะหนึ่งจาก"อิหม่ามอะห์หมัด" ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ห้ามเฉพาะสิ่งที่ต้องชั่ง ตวง วัด 

 

     4- "อิหม่ามชาฟิอีย์" และอีกริวายะห์หนึ่งจากอิหม่ามอะห์หมัด ร่อฮิมะฮุมัลลอฮ์ ห้ามขายโดยไม่ยกเว้นสินค้าประเภทใด เพราะมีตัวบทห้ามชัดเจนและจากการสังเคราะห์ตัวบท คือ

   1) กรณีอาหาร "ผู้ใดซื้ออาหารมา ห้ามนำเอาไปขายต่อจนกว่าจะได้(รับมอบ)จนครบ" ฮะดีษศ่อเฮี๊ยห์ และอาหารเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวดต่อการดำรงขีพ ยังถือว่าต้องห้ามดังนั้นสินค้าประเภทอื่นจึงยิ่งต้องห้ามมากกว่า

   2) กรณีสินค้าทุกประเภท "ห้ามเอากำไรในสิ่งที่ยังมิได้รับผิดชอบ(ยังมิได้รับมอบมา)" ฮะดีษฮะซัน

   3) "ห้ามขายสินค้า(ทุกประเภทที่ซื้อแล้ว)จนกว่าจะเคลื่อนย้ายออกไปจากสถานที่ซื้อ" สรุปความจากที่ฮะดีษฮะซัน

   4) "ฉันเห็นว่าสินค้าทุกประเภทไม่ต่างไปจากอาหาร(คืออยู่ในข้อห้ามเช่นกัน)" วินิจฉัยของอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ

 

         ข้อตัดสินนี้ยังเป็นของท่านซุฟยานอัษเษารี่ปราชญ์ในยุคตาบิอีน และอุละมาอ์ยุคหลังเช่นอิบนุตัยมียะห์ อิบนุกอยยิม และปราชญ์ในยุคเราคือ เชคบินบาซ เชคอิบนุอุษัยมีน เชคเฟาซาน และคณะกรรมการถาวรฯ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์

 

          สรุปคือเราไม่ทิ้งปราชญ์และเราไม่ตำหนิท่านใดเพราะท่านเหล่านั้นคือผู้อยู่ในวิสัยที่จะวินิจฉัยเองได้ แต่สิ่งที่เราต้องตามคือตัวบทหลักฐานที่ปราชญ์ท่านนำเสนอ นี่คือแนวทางของเราและเราคือผู้เลือกเรามิใช่ผู้วินิฉัย ดังนี้นจึงต้องยืนยันต่อไปว่า 

"สินค้าใดที่ซื้อแล้วแต่ยังมิได้รับมอบมาครอบครอง ห้ามนำสินค้านั้นไปขายต่อเด็ดขาด"