อัลฮะวาละห์  اَلْحَوَالَةُ (การโอนหนี้) 
  จำนวนคนเข้าชม  4138

 

อัลฮะวาละห์  اَلْحَوَالَةُ (การโอนหนี้) 

 

.อิสหาก พงษ์มณี

 

นิยามและความหมาย

 

          ในเชิงภาษาแปลว่าการย้ายหรือการโยกย้ายถ่ายโอน ในทางบัญญัติหมายถึงการโอนหนี้จากผู้รับผิดชอบหนึ่งไปสู่ผู้รับผิดชอบหนึ่ง

 

การโอนหนี้ต้องมีองค์ประกอปสามฝ่ายดังนี้

 

     1-อัลมุฮี้ล- اَلْمُحِيْلُ ผู้โอน ซึ่งก็คือลูกหนี้ที่มีภาระผูกพันต้องใช้หนี้

     2-อัลมุฮ้าล-اَلْمُحَالُ أَوْ اَلْمحْتَال ผู้ถูกโอนหนี้ (ยินยอมให้โอนหนี้จากลูกหนี้ไปสู่ผู้อื่น) ซึ่งก็คือเจ้าหนี้

     3-อัลมุฮาลุอะลัยฮิ – اَلْمُحَالُ عَلَيْهِ أَوْ اَلْمُحْتَالُ عَلَيْهِ ผู้รับโอนหนี้ คือผู้รับข้อผูกมัดที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้

          ส่วนหนี้ที่ถูกโอนจะถูกเรียกว่าอัลมุฮ้าลุบิฮีหรืออัลมั๊วหฺตาลุบิฮี – اَلْمُحَالُ بِه أَوْ اَلْمُحْتَالُ بِهِ และการโอนอาจหมายถึงโอนหนี้หรือโอนสิทธิ์ก็ได้

 

การโอนสิทธิ์ – حَوَالَةُ الْحَقِّ

 

          คือการโอนสิทธิ์ทางทรัพย์ที่ผูกพันเป็นภาระรับผิดชอบของลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้เดิมไปสู่เจ้าหนี้ใหม่ หมายถึงมีเจ้าหนี้ใหม่มาแทนเจ้าหนี้เก่า แต่ลูกหนี้ยังเป็นคนเดิม การโอนลักษณะนี้ผู้โอน (اَلْمُحِيْلُ) คือเจ้าหนี้ไม่ใช่ลูกหนี้

 

การโอนหนี้ -  حَوَلَةُ الدَّيْنِ

 

          คือการโอนหนี้ที่อยู่ในภาระความรับผิดชอบของลูกหนี้ไปสู่ผู้รับผิดชอบหนี้รายใหม่แทน นั่นหมายความว่ามีลูกหนี้ใหม่มาแทนลูกหนี้เก่าในหนี้เดิม และเจ้าหนี้ยังเป็นคนเดิม ดังนั้นคำว่าผู้โอน – اَلْمُحِيْل”ในที่นี้จึงหมายถึงลูกหนี้

 

ตัวบทหลักฐาน

 

          นักวิชาการต่างมีมติเอกฉันท์ว่าสามารถโอนหนี้ได้ หลักฐานที่นักวิชาการอ้างอิงก็คืออัซซุนนะห์ (ฮะดีษ) อัลอิจมาอ์ (มติเอกฉันท์) และกิยาส (หลักเทียบเคียง)

 

หลักฐานจากซุนนะห์

 

روى البخاري ومسلم عن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال: مَطْلُ الغَنِيِّ ظُلْمٌ، فإذا أُتْبِعَ أحَدُكُمْ علَى مَلِيٍّ فَلْيَتْبَعْ

وفي رواية أحمد والبيهقي ومن أحيل بحقه على مليء فليحتل والأمر بالاتباع دليل الجواز

 

     ท่านอิหม่ามบุคอรีและมุสลิมรายงานถึงท่านอบีฮุรอยเราะห์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 

คนมั่งมีเหนียวหนี้ถือว่าอธรรม หากผู้หนึ่งผู้ใดถูกให้ไปตาม(หนี้)จากผู้มี(ทรัพย์จะจ่ายหนี้) ก็จงตามไป

ในรายงานของอะห์หมัดและอัลบัยฮะกีย์มีสำนวนว่า

 หากผู้ใดถูกโอนสิทธิ์(หนี้)ของเขาไปยังคนมี(ทรัพย์พอจะจ่ายหนี้) ก็จงรับโอน

 

          การใช้ให้ไปตามหนี้ตามที่มีการโอนไป ย่อมแสดงว่าการโอนหนี้เป็นเรื่องอนุมัติให้กระทำได้ ส่วนหลักฐานด้านอิจมาอ์ ก็คือเรื่องนี้ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ในหมูปวงปราชญ์ ว่าการโอนหนี้เป็นเรื่องอนุญาตให้กระทำได้

 

หลักฐานทางกิยาส (เทียบเคียงหลักอื่น)  ได้สองหลักดังนี้

 

          . สามารถนำเรื่องนี้ไปเที่ยบเคียบกับเรื่องอัลกะฟาละห์- اَلْكَفَالَةُ”  ด้วยเหตุผลที่ใกล้เคียงกันคือ ผู้รับโอนหนี้ไปอัลมุฮ้าลอะลัยฮิ-اَلْمُحَالُ عَلَيْهِ “ กับผู้ค้ำ- اَلْكَفِيْلُ  ต่างก็รับข้อผูกมัดในสิ่งที่สามารถทำตามข้อผู้มัดได้ โดยสามารถส่งมอบสิ่งที่ภาระที่แบกรับได้ ทั้งสองฝ่ายต่างเป็นหนทางสะดวกในการชดใช้หนี้  ต่อเมื่อการค้ำโดยบุคคลเพื่อชดใช้หนี้เป็นสิ่งที่กระทำได้ ผู้อาสาแบกรับหนี้โดยยินยอมรับการโอนหนี้จากลูกหนี้ จึงย่อมเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้เช่นกัน 

 

          . เอาองค์รวมเทียบส่วนย่อย เพราะการโอนหนี้นั้นรวมเอาความเสียสละโดยสมัครใจของผู้รับโอน ที่จะชดใช้หนี้แทนผู้อื่น และยังเป็นการมอบหมายให้ผู้เป็นเจ้าหนี้รับหนี้จากผู้ถูกโอนไปให้ พร้อมสั่งให้ผู้รับโอนหนี้ไปมอบหนี้นั่นแก่เจ้าของหนี้  กรณีย่อยแต่ละกรณีเป็นสิ่งที่กระทำได้ และไม่มีข้อห้ามใดๆ ดังนั้นการโอนหนี้โดยรวมจึงไม่แตกต่างไปแต่อย่างใด

 

 

 

 

 

 


อ้างอิง

وإذا أتبع أحدكم على مليء فليتبع متفق عليه. وفي لفظ من أحيل بحقه على مليء فليحتل. وأجمع أهل العلم على جواز الحوالة في الجملة.

فتح العزيز (10 / 337)

أصل الحوالة مجمع عليه , ويدل عليه من جهة الخبر ما روى الشافعي أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال: مطل الغني ظلم , فإذا اتبع أحدكم على مليء فليتبع ويروى وإذا أحيل أحدكم على مليء فليتبع. ويروى وإذا أحيل عليه , والتبيع الذي لك عليه مال.

تبيين الحقائق (4 / 171 , 174)

وهي - أي الحوالة - مشروعة بإجماع الأمة.

وقال عليه الصلاة والسلام: من أحيل على مليء فليتبع والأمر بالإتباع دليل الجواز.

ولأنه التزام ما يقدر على تسليمه , فوجب القول بصحته دفعا للحاجة.

. . ولأن كلا منهما يتضمن أمورا جائزة عند الانفراد , وهي تبرع المحتال عليه بالالتزام في ذمته والإيفاء وتوكيل المحتال بقبض الدين أو العين من المحال عليه , وأمر المحال عليه بتسليم ما عنده من العين أو الدين إلى المحتال , فكذلك عند الاجتماع.

مراجع إضافية

انظر مغني المحتاج (2 / 193) بداية المجتهد (2 / 299) شرح منتهى الإرادات (2 / 256) التاودي على التحفة (2 / 55) أسنى المطالب (2 / 230)

المبدع (4 / 270) كشاف القناع (3 / 370) .