การละหมาด คือ ความเมตตา
  จำนวนคนเข้าชม  6247

การละหมาด คือ ความเมตตา

 

อนัส ลีบำรุง.... เรียบเรียง

          การละหมาดคือเสาหลักของศาสนา ผู้ที่รักษาการละหมาดครบถ้วนสมบูรณ์ก็เท่ากับว่าเขาได้ทำให้ศาสนาของอัลลอฮฺมั่นคง การละหมาดคือการจำแนกผู้ศรัทธาออกจากกาเฟร และสำหรับศาสนาของเรานั้นการละหมาดเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากเพราะ การละหมาดนั้นเป็นรุก่นหนึ่งที่สำคัญหลังจากการกล่าวชะฮาดะฮฺ

          อัลลอฮฺได้ทรงสั่งใช้บ่าวให้รักษาไว้ซึ่งการละหมาดในทุกสภาพการณ์ ไม่ว่าจะเดินทาง หรือไม่เดินทาง ไม่ว่าจะมีสุขภาพร่างกายเป็นอย่างไร ถึงแม้นกระทั่งว่าอยู่ในช่วงสงครามก็จำเป็นแก่บ่าวที่จะต้องดำรงไว้ซึ่งการละหมาด

﴾ قَانِتِينَ لِلَّهِ وَقُومُوا الْوُسْطَى وَالصَّلَاةِ الصَّلَوَاتِ عَلَى حَافِظُوا ﴿

 

พวกเจ้าจงรักษาบรรดาละหมาดไว้ และละหมาดที่อยู่กึ่งกลาง และจงยืนละหมาดเพื่ออัลลอฮ์โดยนอบน้อม

 

( فَإِنْ خِفْتُمْ فَرِجَالًا أَوْ رُكْبَانًا فَإِذَا أَمِنْتُمْ فَاذْكُرُوا اللَّهَ كَمَا عَلَّمَكُمْ مَا لَمْ تَكُونُوا تَعْلَمُونَ )

 

ถ้าพวกเจ้ากลัว ก็จงละหมาดพลางเดินหรือขี่ ครั้นเมื่อพวกเจ้าปลอดภัยแล้ว ก็จงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮ์

ดังที่พระองค์ได้ทรงสอนพวกเจ้าซึ่งสิ่งที่พวกเจ้ามิเคยรู้มาก่อน

 [البقرة: 238 - 239]

 

          เมื่อครั้นท่านอิมรอน บิน หุซอยนฺ عَنْه اللهُ رَضِيَ ป่วยมีริสสีดวง ส่งผลกระทบต่อท่านในขณะที่ยืนและนั่งละหมาด ท่านได้ถามไปยังท่านนบีในเรื่องของการละหมาด ท่านนบีได้ตอบว่า

حَافِظُوا عَلَى الصَّلَوَاتِ وَالصَّلَاةِ الْوُسْطَىٰ وَقُومُوا لِلَّهِ قَانِتِينَ (238)

จงยืนละหมาดถ้าไม่ไหวก็ให้นั่งละหมาด ถ้ายืนไม่ไหวก็ให้นอนตะแคง

 

 

          การละหมาดเป็นดั่งสายเชือกความสัมพันธ์ระหว่างอัลลอฮฺกับบ่าวของพระองค์ การละหมาดนั้นยังเป็นความรื่นรมย์แก่สายตา แก่จิตใจ และเป็นความสบายใจสำหรับผู้ศรัทธา

 

وجُعِلَت قُرَّةُ عَيني في الصَّلاةِ  رواه أحمد

และการละหมาดนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ฉันนั้นชื่นตาชื่นใจ (เป็นความรื่นรมย์)”

 رواه أحمد

 

          ท่านนบีได้บอกเราไว้ถึงความยิ่งใหญ่ และความรักของท่านที่มีต่อการละหมาด มันเป็นการทำให้เราได้ใกล้ชิดกับ อัลลอฮฺไม่มีสิ่งใดที่ทำให้ฉันมีความสุขได้เหมือนเวลาที่ฉันได้ทำการละหมาด และคำกล่าวของนบีที่ว่า قُرَّةُ عَيني เป็นการแสดงออกถึง เมื่อมนุษย์ได้เห็นสิ่งใดแล้วเขามีความสุข เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาของเขา ท่านนบีเป็นแบบนั้นเมื่อท่านได้ทำการละหมาด ไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยเพราะท่านได้กล่าวไว้อีกว่า

 

قال النبي ﷺ : أرحنا بالصلاة  رواه أحمد

เรามาผ่อนคลายด้วยกับการละหมาดกันเถิด

 

          เมื่อเราทำการละหมาดมันเป็นการพักผ่อน เป็นการทำให้จิตใจหัวใจนั้นมีการผ่อนคลาย จากเรื่องดุนยาความยุ่งเหยิงความวุ่ยวายต่าง เป็นการแสวงหาความสบายอกสบายใจ สำหรับผู้ที่รักใคร่และมีความคุชัวอฺในการละหมาด เมื่อท่านนบีมีเรื่องหนักหน่วงจิตใจ เรื่องกลัดกลุ้มใจ ท่านก็จะแยกตัวออกไปเพื่อไปทำการละหมาด และการละหมาดหาใช่ความยากลำบากไม่สำหรับบรรดาผู้ศรัทธาที่มีอีหม่านต่ออัลลอฮฺ

 

          ถึงแม้ว่าจะมีคนกล่าวว่าการละหมาดนั้นมันยากลำบากสำหรับตัวเขาก็ตาม ทุกๆการงานนั้นจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ และความอดทนอดกลั้น ดั่งที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

 

( وَاسْتَعِينُوا بِالصَّبْرِ وَالصَّلَاةِ ۚ وَإِنَّهَا لَكَبِيرَةٌ إِلَّا عَلَى الْخَاشِعِينَ )

 

     และพวกเจ้าจงอาศัยความอดทน และการละหมาดเถิด และแท้จริงการละหมาดนั้นเป็นสิ่งใหญ่โต นอกจากบรรดาผู้ที่นอบน้อมถ่อมตนเท่านั้น

 

          พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย ความประเสริฐของการละหมาดนั้นมีมากมายหลายประการ และการตอบแทนผลบุญของมันนั้นก็จากอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ณ ปัจจุบันลองมองดูครับว่าความชั่วร้ายมาในรูปแบบที่แตกต่างจากเมื่อก่อนมาก ความชั่วร้ายความไม่ดีต่างๆประสบกับเราได้ง่ายเหลือเกิน จากสื่อต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากโทรศัพท์โทรทัศน์ พี่น้องครับการละหมาดเป็นการช่วยยับยั้งเราให้ออกห่างจากสิ่งไม่ดี ชิ่งชั่วช้า ลามกที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

 ( إِنَّ الصَّلَاةَ تَنْهَىٰ عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنكَرِ  ﴿

 

แท้จริงการละหมาด นั้นจะยับยั้งการทำลามกและความชั่ว

[ سورة العنكبوت: 45]

          มนุษย์เรานั้นถูกสร้างมาในสภาพที่อ่อนแอ มีความผิดมีบาปอยู่เป็นเนืองนิตย์ จิตใจของเราถูกเอาชนะด้วยเล่ห์ของชัยฏอน อัลลอฮฺทรงมีความเมตตาให้กับบ่าวอย่างมาก พระองค์ได้ทรงทำให้การละหมาดที่ครบเงื่อนไขและรุก่นของมัน เป็นการงานหนึ่งที่สามารถลบล้างความผิดเล็กๆน้อยๆของบ่าวได้ ดังที่มีรายงานว่า

 

الصَّلَوَاتُ الخَمْسُ، وَالْجُمْعَةُ إلى الجُمْعَةِ، وَرَمَضَانُ إلى رَمَضَانَ، مُكَفِّرَاتٌ ما بيْنَهُنَّ إِذَا اجْتَنَبَ الكَبَائِرَ.

 

“ การละหมาดห้าเวลาและการละหมาดญุมอะฮฺ หนึ่งไปยังอีกญุมอะฮฺหนึ่ง เราะมะฎอนหนึ่งไปยังอีกเราะมะฎอนหนึ่ง

มีผลตอบแทนคือ อัลลอฮฺจะทรงไถ่โทษ (ชำระบาป) ในสิ่งที่อยู่ระหว่างมันเมื่ออกห่างจากบาปใหญ่ “

 .233(رواه مسلم)

 

          พี่น้องครับสถานะ ของการละหมาดนั้นยิ่งใหญ่ มันเป็นเหตุผลที่ยิ่งใหญ่สำหรับบุคคลหนึ่งที่เขาจะได้รับการอภัยโทษในชีวิตเขา อีกทั้งการละหมาดนั้นเป็นการแสวงหาการอภัยโทษจากบาปในทุกๆอิริยาบทของมัน เฉกเช่นดุอาฮฺอิสติฟตาอฺ

 

الَّلهمَّ باعِدْ بيني وبين خطايايَ ، كما باعدتَ بين المشرقِ والمغربِ .

الَّلهمَّ نقِّني من خطايايَ ، كما يُنقَّى الثَّوبُ الأبيَضُ من الدَّنسِ . الَّلهمَّ اغسِلْني من خطايايَ بالثَّلجِ ، والماءِ ، والبَرَدِ

 

     “โอ้อัลลอฮฺได้โปรดแยกระหว่างฉันและความผิดของฉันให้ห่างไกลกัน เหมือนเช่นที่พระองค์ได้ทรงแยกทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

     โอ้อัลลอฮฺได้โปรดทรงชำระข้าพระองค์ให้สะอาดจากบาปต่างๆ เหมือนกับผ้าขาวที่ได้รับการชำระล้างให้พ้นจากสิ่งสกปรก

     โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดชำระข้าพระองค์จากความผิดต่างๆด้วยหิมะ น้ำ และลูกเห็บ

رواه البخاري (744)

 

          ประการการถัดมาการได้รับการอภัยโทษขณะที่ได้รุกัวอฺ และสุญูด มีรายงานจากท่านหญิง อาอีชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ว่าท่านนบีนั้นได้ขอดุอาอฺบทนี้อย่างมากในขณะอยู่ในอิริยาบถทั้งสอง

سبحانك اللَّهُمَّ رَبَّنا وبحَمْدِك، اللَّهُمَّ اغفِرْ لي؛ يتأوَّلُ القُرآنَ  

 

มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺและด้วยกับการสรรเสริญของพระองค์ โอ้อัลลอฮฺได้โปรดทรงอภัยโทษให้แก่ฉัน

 

         ท่านร่อซูลได้อธิบายตามอัลกุรอ่าน คำว่า يتأوَّلُ القُرآنَ คือท่านนบีได้อธิบายตามกุรอ่าน ฉะนั้นคำนี้ในเชิงปฏิบัติแล้ว ก็คือท่านนบีได้ปฏิบัติตามสิ่งที่กุรอ่านได้บอกเอาไว้ และการปฏิบัตินั้นก็เป็นการอธิบายในสิ่งที่ อัลลอฮฺ ได้บอกเอาไว้ในกุรอ่านมาจากตอนท้ายของ ซูเราะฮฺ อันนัศรฺ

 

 فَسَبِّحْ بِحَمْدِ رَبِّكَ وَاسْتَغْفِرْهُ ﴾ [النَّصْر: 3]. - )

 

ดังนั้นจงแซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของเจ้า

และจงขออภัยโทษต่อพระองค์เถิด แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษเสมอ

 

          ในอายะฮฺนี้ที่ท่าน นบีได้อธิบายไว้ มีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน มีทั้งการ ตัสบีฮฺ ตะฮฺมีด และก็การ อิสติฆฟาร ฉะนั้นนี่คือการอธิบายอัลกุรอ่านด้วยกับการปฏิบัติ

 

         พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลายและในอิริยาบถถัดมาก็คือการขึ้นจากรุกัวอฺ (เอี้ยะห์ติดาล) ดั่งที่มีรายงานจาก ศ่อเฮี้ยะห์มุสลิม

 

اللَّهُمَّ طَهِّرْنِي مِنَ الذُّنُوبِ وَالْخَطَايَا، اللَّهُمَّ نَقِّنِي مِنْهَا كَمَا يُنَقَّى الثَّوْبُ الْأَبْيَضُ مِنْ الدَّنَسِ، اللَّهُمَّ طَهِّرْنِي بِالثَّلْجِ وَالْبَرَدِ وَالْمَاءِ الْبَارِدِ

 

โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ได้โปรดทรงชำระล้างข้าพระองค์ให้สะอาดจากความผิดและบาปต่างๆ 

โอ้อัลลอฮฺได้โปรดทรงชำระข้าพระองค์ให้สะอาดเหมือนกับผ้าขาวที่ได้รับการชำระล้างให้พ้นจากสิ่งสกปรก 

โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ได้โปรดทรงชำระล้างข้าพระองค์ด้วยน้ำหิมะ น้ำลูกเห็บ และน้ำเย็นด้วยเถิด

 

          ฮิกมะฮฺขอท่านนบีที่ได้มีการขอดุอาอฺให้ชำระล้างด้วยน้ำเย็นก็คือ ก็คือความผิดมันก็จะถูกลบล้างด้วยน้ำเย็น เพราะถ้าคนที่ทำความผิดแล้วไม่ขออภัยโทษก็จะถูกลงโทษด้วยกับไฟที่ร้อนในนรก

          อิริยาบถถัดมาก็คือการนั่งระหว่างสองสุญูดและก่อนให้สลามก็เป็นการขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺเช่นกัน

 

«رَبِّ اغْفِرْ لِي، رَبِّ اغْفِرْ لِي». (874) رواه ابو داود

 

"โอ้พระผู้อภิบาล ได้โปรดอภัยให้ฉันด้วยเถิด โอ้พระผู้อภิบาล ได้โปรดอภัยให้ฉันด้วยเถิด "

 

اَللَّهُمَّ إِنِّي ظَلَمْتُ نَفْسِي ظُلْمًا كَثِيرًا، وَلَا يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلَّا أَنْتَ، فَاغْفِرْ لِي مَغْفِرَةً مِنْ عِنْدِكَ، وَارْحَمْنِي إِنَّكَ أَنْتَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ

 

     "โอ้ อัลลอฮฺ ฉันได้ทำผิดไปอย่างมากมาย และไม่มีผู้ใดจะอภัยให้ได้นอกจากพระองค์ โปรดอภัยให้ฉันจากการให้อภัยที่มาจากพระองค์ และโปรดเมตตาฉัน แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงให้อภัย ผู้ทรงเมตตา"

رواه البخاري (834) / (2705) رواه مسلم

 

          และเมื่อเสร็จจากทุกอิริยาบถของการละหมาด เมื่อให้สลามเสร็จก็เป็นการขออภัยโทษ อีกเช่นกัน นี่คือความเมตตาความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีแก่บ่าวของพระองค์ และสำหรับผู้ศรัทธาคนหนึ่งที่ได้รับทราบถึงผลตอบแทนของการละหมาดแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งแก่เขาที่จะต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เรื่องการละหมาดให้ดียิ่งขึ้นไปอีกเพื่อจะได้เป็นการแสวงหาการอภัยโทษต่ออัลลอฮฺและเพื่อเป็นการชำระล้างปลดเปลื้องความผิดต่างๆที่ได้เคยกระทำมา

 

          พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย การละหมาดเป็นอิบาดะฮฺหนึ่งที่ยิ่งใหญ่มากๆ สำหรับบรรดาผู้ศรัทธาแล้วจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีความอิคลาศต่ออัลลอฮฺมีความคุชัวอฺ มีการยอมจำนน นอบน้อย ต่อพระองค์ในการละหมาด การละหมาด คือ ความรับผิดชอบเป็นอามานะฮฺอย่างนึงของบ่าวผู้ศรัทธา แต่กระนั้นเราก็ยังเห็นการละทิ้งการปล่อยปละละเลยไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ท่านนบีบอกเอาไว้ว่า

 

إذا ضُيِّعَتِ الأمانَةُ فانْتَظِرِ السَّاعَةَ

 

เมื่อความรับผิดชอบถูกปล่อยปละละเลย พวกท่านทั้งหลายจงรอคอยวันกิยามะห์

 

          พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย อย่าลืมว่าฮิกมะฮฺของพระองค์ที่ทรงสร้างเรามามิได้เพื่ออื่นใดเว้นเสียแต่การเคารพภักดีอิบาดะฮฺต่อพระองค์ พระองค์ไม่ได้ทรงสร้างเรามาเพื่อให้ง่วนอยู่กับการแสวงหาริสกีหน้าที่การงานที่ใหญ่โตจนละทิ้งการอิบาดะฮฺต่อพระองค์ ดังที่พระองค์ได้ทรงตรัสว่า

 

وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ ﴿ 

 

และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า

 

          พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย อัลลอฮฺไม่ทรงต้องการสิ่งใดจากเรา เราไม่สามารถยังประโยชน์ใดๆหรือโทษใดๆแก่พระองค์ มีแต่บ่าวเท่านั้นที่ต้องพึ่งพิงอาศัยความช่วยเหลือจากพระองค์ในทุกสภาพการณ์ของชีวิต ในหนึ่งวันนั้นเรามีละหมาดทั้งสิ้น 5 เวลา รวมแล้วทั้งหมด 17 ร็อกอะฮฺ ยังไม่รวมถึงซุนนะฮฺก่อน-หลัง ของการละหมาด และซุนนะฮฺอื่นๆอีก 

 

          ในทุกๆอิริยาบถของการละหมาดนั้น มีความประเสริฐมากมายซ่อนอยู่และเป็นการแสวงหาการขออภัยโทษต่อพระผู้เป็นเจ้าของเรา ฉไนเรายังปล่อยให้คนในครอบครัวของเรานั้นละทิ้งปล่อยปละละเลยการละหมาดโดยไม่มีการอบรมสั่งสอนในเรื่องดังกล่าว

 

          ขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺให้เราและครอบครัวของเรานั้นเป็นผู้หนึ่งจากผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด น้อมรับเชื่อฟังในคำสั่งใช้ของศาสนา เพื่อที่เรานั้นจะได้เป็นผู้ศรัทธาที่ประสบผลสำเร็จทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺ

 

 

اقول ما تسمعون واستغفرالله لي ولكم ،ولسائر المسلمين من كل ذنب ،

فاستغفروه انه هو الغفور الرحيم