การ อิจ ฉา
  จำนวนคนเข้าชม  1853

การ อิจ ฉา

 

เรียบเรียงโดย.... อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

ความหมาย

 

          ความอิจฉาริษยา คือ  ความพยายามของสภาวะจิตใจที่จะให้ปัจจัยยังชีพ (สิ่งอำนวยสุข) ที่อัลลอฮ์ประทานแก่ผู้อื่นสูญสิ้นไป  หมายถึง เรากำลังปฏิเสธปัจจัยยังชีพของอัลลอฮ์ที่พระองค์ประทานให้แก่ผู้อื่น 

          ดังนั้น  ความอิจฉาริษยาจึงเป็นโรคร้ายชนิดหนึ่งของหัวใจ  ที่คอยทำลายอีหม่านและความดีงาม  และยังทำลายความเป็นพี่น้องระหว่างมุสลิมด้วยกัน

คนขี้อิจฉา มีลักษณะ 3 ประการ คือ

♦ นินทาเพื่อนลับหลัง

♦ ประจบสอพลอเพื่อนยามใกล้ชิด

♦ ดีใจยามเพื่อนตกทุกข์ได้ยาก

 

 

หลักการ

 

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

لا تَحاسدُوا، وَلا تناجشُوا، وَلا تَباغَضُوا، وَلا تَدابرُوا، وَلا يبِعْ بعْضُكُمْ عَلَى بيْعِ بعْضٍ، وكُونُوا عِبادَ اللَّه إِخْوانًا

 

พวกท่านอย่าอิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน  อย่าโกรธกันและกัน  อย่าผินหลังให้กันและกัน 

และพวกท่านจงเป็นบ่าวของอัลเลาะฮ์ที่เป็นพี่น้องกัน"

(รายงานโดย บุคอรีย์และมุสลิม)

 

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

إِيَّاكُمْ وَالْحَسَدَ فَإِنَّ الْحَسَدَ يَأْكُلُ الْحَسَنَاتِ كَمَا تَأْكُلُ النَّارُ الْحَطَبَ 

 

"พวกท่านจงระวังความอิจฉาริษยา  เพราะแท้จริงความอิจฉาริษยานั้นจะกัดกินบรรดาความดีงาม  เหมือนกับที่ไฟกินฟืน"

(รายงานโดย อบูดาวูด)

 

         อันตรายของอิจฉาริษยาก็ยังมีต่อผู้ที่ถูกอิจฉาริษยาด้วย เพราะผลร้ายอิจฉาริษยานั้นมีจริง ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

إِنَّ العَيْنُ حَقٌّ    ตา(ผู้อิจฉาริษยาก่ออันตราย)จริง

(อิบนุมาญะฮฺ)

 

          อัลกุรอานก็ยืนยันในอันตรายของอิจฉาริษยา ดังที่มีปรากฏในซูเราะฮฺอัลฟะลักว่า

 

وَمِنْ شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ   และจากความชั่วร้ายของผู้อิจฉาเมื่อเขาอิจฉา

 

 

วิธีเยียวยาโรคอิจฉาริษยา

 

     1. จงพอใจในการกำหนดของอัลเลาะฮ์ตะอาลา  เพราะความอิจฉาริษยาคือการไม่พอใจการกำหนดของอัลลอฮ์ ที่มีต่อตนเองและผู้อื่น  ซึ่งเป็นบาป 

 

     2. ให้มีความรู้สึกรู้คุณ(ชุโกร) เนี๊ยะมัตต่ออัลลอฮ์ ตาอาลา ในสิ่งที่พระองค์ประทานให้เรา  และหากเนี๊ยะมัตที่เกี่ยวกับเรื่องดุนยานั้น ให้เราพยายามมองผู้ที่ต่ำต้อยกว่าเรา  เพื่อให้รู้ว่าอัลลอฮ์ ประทานเนี๊ยะมัตให้แก่เราเยอะ  ส่วนเรื่องอาคิเราะฮ์นั้น  ให้เรามองผู้ที่สูงกว่า  เพื่อให้เรามีความปรารถนาที่จะกระทำเหมือนกับเขาหรือให้มากกว่าเขา

 

     3. นึกถึงเคล็บลับ(ฮิกมะฮ์)ที่อัลลอฮ์ทรงจัดสรรปัจจัยยังชีพและความดีงามอื่น ๆ ให้แก่มนุษย์ไม่เท่ากัน  กล่าวคือให้คำนึงอยู่เสมอว่า  อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงรู้ดียิ่งเกี่ยวกับกิจการงานของปวงบ่าว  เช่น  เราจนเนื่องจากพระองค์ทรงทราบว่าหากเรารวยแล้ว  เราอาจจะนำทรัพย์สินไปใช้ในทางที่ไม่มิชอบ  หรือเราไม่ได้รับเกียรติตำแหน่งสูง ๆ ในสังคม  เพราะพระองค์ทรงรู้ดีว่าหากเรามีเกียรติตำแหน่งสูง ๆ  เราอาจจะใช้อำนาจในทางมิชอบ  หรือเราไม่ได้แต่งงานกับคน ๆ นี้  เพราะพระองค์ทรงรู้ดีว่า มีคนอื่นที่ดีกว่าสำหรับเราที่อัลลอฮ์ทรงกำหนดมาให้แล้ว  หากแต่งงานอยู่ร่วมชีวิตกับคนนี้  เขาอาจจะทำให้ชีวิตเราเป็นทุกข์หรือมีพฤติกรรมที่ชักนำเราสู่ไฟนรก เป็นต้น 

 

     4.  ขอดุอาอ์ต่ออัลเลาะฮ์ให้เราพ้นจากจิตใจที่มีความอิจฉาริษยา

 

 

ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องห้าม

 

♦ การอิจฉาเมื่อคนอื่นได้ดีและมีความหวังให้สิ่งที่ดีๆหมดไปจากเขา

♦ การอิจฉาในแบบขอสาปแช่งพี่น้องเมื่อเขาได้ดี

 

 

ประเภทของความผิด

 

          ความอิจฉา คือ การหวังที่จะให้ความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่ประทานให้กับผู้อื่นหมดไป ถึงแม้ว่าความโปรดปรานของ อัลลอฮฺนั้น จะกลับมาสู่ตัวเองหรือไม่ก็ตาม ความอิจฉาดังกล่าวนี้เป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาอิสลาม เพราะจะส่งผลกระทบต่อความดีที่ได้กระทำมาแล้ว

 

         ความอิจฉา ที่อนุญาต หมายถึง ความหวังที่จะได้ความโปรดปรานจากอัลลอฮฺเสมือนเขา และความโปรดปรานนั้นยังคงอยู่กับเขาเหมือนเดิม และความอิจฉาดังกล่าวเป็นสิ่งที่อนุญาตในศาสนาอิสลาม เพราะไม่กระทบคนอื่น

 

         ผู้ที่มีโรคอิจฉานั้น จะทำให้การใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุข และไม่สบายใจกับความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่ทรงให้ต่อผู้อื่น และทำให้เกิดมีการสงสัยที่ไม่ดีและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ

 

         การเยียวยารักษาโรคอิจฉาริษยาที่ดีที่สุด คือ การยินดีกับการที่เห็นคนอื่นได้ดี และอยากได้รับความดีโดยการแข่งขันกับคนอื่นในการทำความดี และใช้สิ่งนี้เป็นแรงจูงใจให้ทำดีมากกว่า

 

 

ดุอาอฺ

 

     อัลลอฮฺตรัสว่า 

وَلَوْلَا إِذْ دَخَلْتَ جَنَّتَكَ قُلْتَ مَا شَاءَ اللَّهُ لَا قُوَّةَ إِلَّا بِاللَّهِ 

 

และทำไมเล่าเมื่อท่านเข้าไปในสวนของท่าน ท่านควรกล่าวว่า

สิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์(ย่อมเกิดขึ้น) ไม่มีพลังใด (ที่จะช่วยเราได้) นอกจากที่อัลลอฮ์

(สูเราะห์ อัลกะฟิ39)

 

          ท่านนบีส่งเสริมให้กล่าวเมื่อเราพบเห็นพี่น้องมุสลิมได้รับความดี ความโปรดปราน ทางด้านการใช้ชีวิต ทรัพย์สิน ความสุขต่างๆ ขอดุอาอฺให้มีความศิริมงคล เพื่อป้องกันอิจฉาริษยา 

          สำนวนดังนี้ 

 

اللهم بَارَكَ فِيهِ   อัลลออุมมา บาร่อกะ ฟีอฺฮี

 

โอ้อัลลอฮฺ ขอให้พระองค์ทรงประทานความศิริมงคลในสิ่งนั้นแก่เขา

 

بَارَكَ اللهُ فِيهِ    "บาร่อกัลลอฮฺ ฟีอฺฮี"

 

พระองค์ทรงประทานความศิริมงคลในสิ่งนั้นแก่เขา

 

مَا شَاءَ اللَّهُ لَا قُوَّةَ إِلَّا بِاللَّهِ     มาชาอัลลอฮฺ ลากูวะตะอิลลาบิลลาฮฺ

 

สิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์(ย่อมเกิดขึ้น) ไม่มีพลังใด ๆ(ที่จะช่วยเราได้) นอกจากที่อัลลอฮ์

 

مَاشَاء الله تَبَارَكَ الله “มาชาอัลลอฮฺ ตะบารอกัลลอฮฺ

 

นั่นคือพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ขออัลลอฮฺทรงให้จำเริญเถิด

 

 

ดุอาอฺ

 

أَعُوذُ بكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّةِ، مِن كُلِّ شيطَانٍ وهَامَّةٍ، ومِنْ كُلِّ عَيْنٍ لَامَّةٍ

 

     คำอ่าน อะอูซุ บิกะลิมาติลลาฮิตตามมะติ มินกุลลิชัยฏอน วะฮามมะฮฺ วะมินกุลลิอัยนิลลามมะฮฺ

     “ฉันขอความคุ้มครองแด่เธอด้วยถ้อยดำรัสแห่งอัลลอฮฺอันสูงส่งยิ่งให้พ้นจากชัยฏอน สัตว์มีพิษและสายตาที่อิจฉา

 

أَعُوذُ بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّاتِ مِنْ شَرِّ مَا خَلَقَ

 

     อ่านว่า : อ้าอูซู่ บิกะลิมาติ้ลลาฮิตตามมาตี้ มินชัรฺรี่มาค่อลัก

     “ฉันขอความคุ้มครองด้วยพจนารถของอัลลอฮฺอันสมบูรณ์ให้พ้นจากความร้ายของสิ่งที่พระองค์ได้สร้างขึ้นมา

     ความประเสริฐ : จะไม่มีสิ่งใดมาทำอันตรายเขาขณะที่เขายังอยู่ที่นั่น (ดุอาอฺนี้มาจากฮะดีษบันทึกโดย: มุสลิม)