ก า รโ ก ร ธ 
  จำนวนคนเข้าชม  866

 ก า รโ ก ร ธ 

 

เรียบเรียงโดย.... อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

     ความหมาย ความโกรธ : เป็นการปะทุของเลือดของหัวใจเพื่อการแก้แค้น คนที่โกรธต้องการหาทางแก้แค้นคนที่ทำร้าย

 

          ความโกรธคืออารมณ์หนึ่งของคนเราเหมือน รัก เสียใจซึ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจเช่นหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เนื่องจากมีการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด สาเหตุของความโกรธอาจจะเกิดจากภายนอก เช่น คนบางคนเมื่อเห็นหน้าก็จะเกิดอารมณ์ เพื่อนร่วมงานเจ้านาย

 

          ความโกรธ ถูกกำหนดให้มีขึ้นในตัวมนุษย์เพื่อเป็นกลไกสำหรับป้องกันตนเอง แต่ถ้าหากไม่สามารถควบคุมความโกรธได้ มันก็จะกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการทำลาย  ความโกรธเป็นอาการที่แสดงออกถึงการไร้ความยับยั้งสติอารมณ์ ชั่วครู่ขณะที่มีอาการโกรธอาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ทันได้รู้สึกตัว

 

 

 หลักการ 

 

          การระงับความโกรธจึงเป็นลักษณะของผู้ศรัทธาและผู้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ พระองค์ได้สาธยายถึงคุณลักษณะของบุคคลเหล่านี้ว่า

 

الَّذِينَ يُنفِقُونَ فِي السَّرَّاء وَالضَّرَّاء وَالْكَاظِمِينَ الْغَيْظَ وَالْعَافِينَ عَنِ النَّاسِ وَاللهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ 

 

      คือบรรดาคนที่ใช้จ่ายให้ทานทั้งในยามสุขและยามทุกข์ อีกทั้งระงับความโมโหโกรธาและให้อภัยแก่คนอื่น แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ที่กระทำความดีงาม 

(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อาล อิมรอน: 134)

 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ยกฐานะของผู้ที่เข้มแข็งว่าคือผู้ระงับความโกรธได้ ดังมีรายงานจากท่านอะบูฮุรอยเราะฮ์ รอฎิยั้ลลอฮุอันฮุ ว่า

 

لَيْسَ الشَّدِيْدُ بِالصُّرَعَةِ ، اِنَّمَا الشَّدِيْدُ الَّذِيْ يَمْلِكُ نَفْسَهُ عِنْدَ الْغَضَبِ

 

     แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ผู้ที่เข้มแข็งมิใช่ผู้ที่ล้มผู้อื่นได้บ่อยครั้ง แต่แท้ที่จริงผู้ที่เข้มแข็งนั้น คือผู้ซึ่งสามารถระงับอารมณ์ตัวเองได้ขณะเขามีอารมณ์โกรธ

(บุคครีย์ และมุสลิม)

 

          เป็นคำสอนจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้อุมมะฮ์ของท่านออกห่างไกลจากคุณลักษณะของชัยฎอนนั่นคืออากับกิริยาที่น่ารังเกียจที่เรียกว่าความโกรธซึ่งทำลายบุคลิกภาพ และให้พยายามข่มโทสะ หากมิเช่นนั้นแล้ว มันจะพานำสู่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพกายและมีผลต่อสุขภาพจิตและสังคมส่วนรวม ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งเสียไว้ว่า

 

     “แท้จริงมีชายผู้หนึ่งได้กล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่าโปรดได้วะซียะฮ์ (สั่งเสีย) ข้าพเจ้าด้วยเถิด 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า   لاَ تَغْضَبْ” فَرَدَّدَ مِرَارًا قَالَ  “لاَ تَغْضَبْ

     “ท่านอย่าโกรธ ชายผู้นี้ก็ได้ทำการขอวะซียะฮ์ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซ้ำแล้วซ้ำอีก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ยังคงตอบว่า ท่านอย่าโกรธ

(บันทึกโดย บุคครีย์)

 

 

ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องห้าม

 

♣ การโกรธพี่น้องเพราะเราไม่ยอมรับความผิดของตัวเอง

♣ การโกรธกันในเรื่องไร้สาระ เช่นการใช้คำพูดไม่เหมาะสม

♣ การโกรธกันเกินสามวัน

 

 

สาเหตุที่จะนำไปสู่ความโกรธ

 

♣ ความอวดดี

♣ ความเย่อหยิ่ง 

♣ การล้อเล่น 

♣ ความคับข้องใจ การเยาะเย้ย 

♣ การแสวงหาบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน

♣ ความอิจฉาริษยา และความปรารถนาที่จะแก้แค้น

 

 

ประเภทของความโกรธ

 

     - ความโกรธที่ถูกชมเชย คือ การโกรธเพื่ออัลลอฮฺ เพื่อปกป้องศาสนาของพระองค์ โกรธต่อการฝ่าฝืนอัลลอฮฺ โกรธต่อบรรดาศัตรูของอิสลาม โกรธต่อบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงโกรธกริ้ว ดังเช่น อิบลีส และบรรดาชัยฏอน หรือพวกยิว และหมู่ชนผู้ปฏิเสธฝ่าฝืน และตั้งตนเป็นผู้ทรยศต่ออัลลอฮฺ หรือผู้จะทำลายอิสลาม ซึ่งความโกรธนี้วางอยู่บนพื้นฐานของความดี ถือเป็นความโกรธที่ส่งเสริม และน่าชื่นชม ความโกรธนี้จะไม่นำสู่ความเสียหาย หรือความตกต่ำแต่อย่างใด แต่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งต่อการสั่งใช้ในความดี ห้ามปรามความชั่ว และนำไปสู่ความเข้มแข็งต่อการต่อสู้กับศัตรูของอิสลาม  

 

อัลลอฮฺ  ตรัสว่า

 

مُّحَمَّدٌ رَّسُولُ اللَّهِ وَالَّذِينَ مَعَهُ أَشِدَّاء عَلَى الْكُفَّارِ رُحَمَاء بَيْنَهُم 

 

มุฮัมมัดเป็นร่อซูลของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้อยู่ร่วมกับเขาเป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธศรัทธา

เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขาเอง

(อัลฟัตหฺ  29)

และอีกอายะฮฺหนึ่งที่อัลลอฮฺ  ตรัสว่า

 

يَا أَيُّهَا النَّبِيُّ جَاهِدِ الْكُفَّارَ وَالْمُنَافِقِينَ وَاغْلُظْ عَلَيْهِمْ 

 

โอ้นบีเอ๋ย จงต่อสู้กับพวกปฏิเสธศรัทธาและพวกกลับกลอก และจงแข็งกร้าวกับพวกเขา 

(อัตตะหฺรีม 9)

 

   เป็นคำสั่งของอัลลอฮฺ ให้มีความแข็งกร้าวรุนแรงต่อบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาและพวกมุนาฟิก และโกรธพวกเขา อันเนื่องจากการปฏิเสธศรัทธาและการกลับกลอกของพวกเขาที่มีต่ออัลลอฮฺ และการเป็นศัตรูของพวกเขาต่อบรรดาผู้ศรัทธา

 

    และเสมือนความโกรธของท่านนบีมูซาที่มีต่อกลุ่มชนของท่าน ที่ได้สร้างเจว็ดรูปวัวขึ้นมาจากทองคำ และกราบไหว้มัน ขณะที่ท่านนบีมูซาขึ้นไปรับวะหฺยูจากอัลลอฮฺ ที่ภูเขาซีนาย ซึ่งก่อนหน้านี้พวกเขาพึ่งจะได้รับการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺให้รอดพ้นจากฟิรอูน  

 

ดังที่อัลลอฮฺ  ทรงกล่าวว่า

 

 وَلَمَّا رَجَعَ مُوسَى إِلَى قَوْمِهِ غَضْبَانَ أَسِفاً قَالَ بِئْسَمَا خَلَفْتُمُونِي مِنْ بَعْدِي أَعَجِلْتُمْ أَمْرَ رَبِّكُمْ وَأَلْقَى الْأَلْوَاحَ وَأَخَذَ بِرَأْسِ أَخِيهِ يَجُرُّهُ إِلَيْهِ    

 

     และเมื่อมูซาได้กลับมายังพวกพ้องของเขาด้วยความโกรธ และเสียใจ

     เขาได้กล่าวว่า ช่างเลวร้ายจริงๆ (ที่สร้างรูปปั้นวัวและสักการะมัน) ที่พวกท่านทำหน้าที่แทนฉัน  หลังจากฉัน(ไปพบอัลลอฮฺที่ภูเขาซีนาย) พวกท่านรีบกระทำก่อนจะมีคำสั่งจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้ากระนั้นหรือ

     และเขา(มูซา)ได้โยนแผ่นจารึกลง และจับศีรษะพี่ชายของเขา(นบีฮารูน) โดยดึงมายังเขา 

(อัลอะอฺรอฟ  150)

 

และมีหะดีษที่บอกถึงความโกรธหรือเกลียดชังเพื่ออัลลอฮฺ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อีหม่านสมบูรณ์ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

 

مَن أحبَّ للهِ وأبغَض للهِ وأعطى للهِ ومنَع للهِ فقد استكمَلَ الإيمانَ

 

     บุคคลใดมีความรักเพื่ออัลลอฮฺ และเกลียดชังเพื่ออัลลอฮฺ และให้เพื่ออัลลอฮฺ และระงับ(ไม่ให้)เพื่ออัลลอฮฺ เขาย่อมมีอีหม่านที่สมบูรณ์แล้ว 

(รายงานโดยอบูดาวูด)

 

 

     - ความโกรธที่ถูกตำหนิ คือ การโกรธที่ไม่ได้ทำเพื่ออัลลอฮฺ และศาสนาของพระองค์ เช่น โกรธต่อคำตัดสินของอัลลอฮฺและร่อซูล โกรธต่อโองการต่างๆของอัลลอฮฺ โกรธและไม่พอใจต่อการกำหนดของอัลลอฮฺ โกรธต่อบทบัญญัติทางศาสนาที่สั่งใช้ในความดี และห้ามปรามความชั่ว เช่นความโกรธต่อการที่ศาสนาสั่งห้ามความชั่วบางประการที่เขาอยากทำ หรือโกรธต่อความดีที่ศาสนาใช้ให้กระทำ ดังเช่นผู้ปฏิเสธศรัทธาและพวกยิว ซึ่งความโกรธชนิดนี้เป็นเป็นที่ต้องห้ามสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา จำเป็นจะต้องออกห่างจากมัน เพราะมันคือหนทางสู่ความชั่วร้าย ความเสียหาย และความตกต่ำ 

 

อัลลอฮฺ  ทรงกล่าวถึงคนประเภทนี้ว่า

 

  وَإِذَا تُتْلَىٰ عَلَيْهِمْ آيَاتُنَا بَيِّنَاتٍ تَعْرِفُ فِي وُجُوهِ الَّذِينَ كَفَرُوا الْمُنكَرَ ۖ يَكَادُونَ يَسْطُونَ بِالَّذِينَ يَتْلُونَ عَلَيْهِمْ آيَاتِنَا 

 

     “และเมื่อโองการทั้งหลายอันชัดแจ้งของเราได้ถูกนำมาอ่านแก่พวกเขา เจ้าจะสังเกตเห็นอาการบอกปัดไม่ยอมรับบนใบหน้าของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา พวกเขาเกือบจะเข้าไปทำร้ายบรรดาผู้ที่อ่านโองการทั้งหลายของเราให้พวกเขาฟัง 

(อัลฮัจญ์  72)

 

 

     - ความโกรธที่อนุโลม  คือ ความโกรธในเรื่องทั่วไปที่มิได้เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ ไม่ได้เป็นบาป และไม่เกินเลยขอบเขตของศาสนา เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าความโกรธนั้นเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับคนทุกคนแม้กระทั่งผู้ศรัทธา แต่อยู่ที่แต่ละคนจะรับมือกับความโกรธนั้นอย่างไร  เช่นการโกรธต่อคำพูดของคนหยาบคายที่มีต่อเรา โกรธต่อพฤติกรรมของผู้อื่นที่ทำไม่ดีกับเรา กระนั้นก็ตามการอดทนและให้อภัยนั้นย่อมดี และเป็นมารยาทที่ประเสริฐยิ่งกว่า เพราะความโกรธไม่ว่าเรื่องใดที่มิได้เป็นไปเพื่ออัลลอฮฺนั้นย่อมพาเราไปสู่ความตกต่ำในที่สุด และการอดทนและให้อภัยเมื่อโกรธนั้นเป็นคุณลักษณะของผู้ที่อัลลอฮฺ ทรงรัก และชื่นชม 

 

ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

وَالَّذِينَ يَجْتَنِبُونَ كَبَائِرَ الْإِثْمِ وَالْفَوَاحِشَ وَإِذَا مَا غَضِبُوا هُمْ يَغْفِرُونَ

 

และบรรดาผู้หลีกเลี่ยงการทำบาปใหญ่และการทำลามก และเมื่อพวกเขาโกรธพวกเขาก็ให้อภัย 

(อัชชูรอ 37)

 

     ความโกรธไม่ว่าเรื่องใดที่มิได้โกรธเพื่ออัลลอฮฺจะมีชัยฏอนที่เป็นผู้คอยสนับสนุน ซึ่งมันเป็นศัตรูที่ชัดแจ้งสำหรับมนุษย์ ความโกรธนี้จึงจำเป็นจะต้องทำการรักษาและขจัดออกไปจากตัวผู้ศรัทธาทุกครั้งที่โกรธ 

 

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

وَإِمَّا يَنْزَغَنَّكَ مِنَ الشَّيْطَانِ نَزْغٌ فَاسْتَعِذْ بِاللَّهِ إِنَّهُ هُوَ السَّمِيعُ الْعَلِيمُ

 

      “และหากว่าการยุแหย่ใดๆจากชัยฏอนมายั่วยุเจ้า ดังนั้นเจ้าก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ 

(ฟุศศิลัต 36)

 

 

ดุอาอฺ วิธีเพื่อระงับความโกรธเสีย

 

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้แนะนำวิธีการระงับความโกรธโดยให้กล่าวคำว่า

 

أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ     “อาอูซุ บิลลาฮฺ มินัช ชัยฏอนิร รอญีม

 

ข้าขอให้อัลลอฮฺช่วยคุ้มครองให้พ้นจากการล่อลวงของชัยฏอน 

(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

 

 

อาบน้ำละหมาด เพื่อดับความโกรธที่มาจากชัยฏอนซึ่งถูกสร้างมาจากไฟ ดังหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

 

إِنَّ الْغَضَبَ مِنَ الشَّيْطَانِ ، وَإِنَّ الشَّيْطَانَ خُلِقَ مِنَ النَّارِ ، وَإِنَّمَا تُطْفَأُ النَّارُ بِالْمَاءِ ، فَإِذَا غَضِبَ أَحَدُكُمْ فَلْيَتَوَضَّأْ 

 

แท้จริงความโกรธนั้นมาจากชัยฏอน และแท้จริงชัยฏอนนั้นถูกสร้างมาจากไฟ

และไฟนั้นจะถูกดับด้วยน้ำ ดังนั้นเมื่อคนหนึ่งคนในในหมู่พวกท่านโกรธ เขาจงอาบน้ำละหมาดเถิด 

(รายงานโดยอบูดาวูด และท่านอื่นๆ)

 

 

ในคำพูดของท่านนบีมุฮัมหมัด ความโกรธถูกเรียกว่าไฟท่านนบี  ได้กล่าวว่า

 

 เมื่อท่านรู้สึกโกรธ ให้เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนตำแหน่ง และดื่มน้ำสักแก้ว

 

     นอกจากนี้ผู้ที่สามารถระงับความโกรธจะได้รับผลตอบแทนที่ดีจากอัลลอฮฺในวันอาคิเราะฮฺ เช่นที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีความว่า 

 

     ผู้ใดที่ระงับความโกรธไว้ในขณะที่เขาสามารถปะทุมันออกมาได้ ในวันกิยามะฮฺอัลลอฮฺจะเรียกเขาท่ามกลางผู้คนมากมาย และให้เขาเลือกจะเอานางสวรรค์คนใดก็ได้ตามใจเขา

 (รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์)