ค ว า ม ต ร ะ ห นี่
  จำนวนคนเข้าชม  980

ค ว า ม ต ร ะ ห นี่

 

เรียบเรียงโดย.... อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

ความหมาย

 

ความตระหนี่ หมายถึง การหวงไม่อยากให้ง่าย เช่น ตระหนี่ทรัพย์ ตระหนี่ความรู้.

 

       ท่านอิมาม นะบะวีย์ กล่าวว่า ตระหนี่คือ การหวงแหนไม่อยากให้ในสิทธิต่างๆที่สมควรจะมอบให้ และความโลภในสิ่งที่ไม่ใช่ของเขา

 

 

หลักการ

 

          สังคมในยุคปัจจุบัน เป็นสังคมแห่งการแข่งขันเกือบทุกๆ ด้าน ทั้งการแข่งขันเพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพ แข่งขันกันเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ แข่งขันกันเพื่อแสวงหาอำนาจและบารมี หรือแข่งขันกันเพื่อเอาตัวรอด 

 

          ความเสียสละและความมีน้ำใจ กำลังจะจางหายไปจากสังคมของเรามากขึ้นทุกที ซึ่งจะเห็นได้จากการที่สังคมเกิดความวุ่นวาย ความโกลาหล ต่างคนต่างก็เห็นแก่ตัว จะเอาชนะกัน เมื่อมีความเห็นแก่ตัว ความโลภและความตระหนี่ก็จะตามมา ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่อิสลามได้ประณาม

 

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

 

هَا أَنتُمْ هَٰؤُلَاءِ تُدْعَوْنَ لِتُنفِقُوا فِي سَبِيلِ اللَّهِ فَمِنكُم مَّن يَبْخَلُ ۖ وَمَن يَبْخَلْ فَإِنَّمَا يَبْخَلُ عَن نَّفْسِهِ ۚ وَاللَّهُ الْغَنِيُّ وَأَنتُمُ الْفُقَرَاءُ ۚ وَإِن تَتَوَلَّوْا يَسْتَبْدِلْ قَوْمًا غَيْرَكُمْ ثُمَّ لَا يَكُونُوا أَمْثَالَكُم 

 

          พึงรู้เถิดว่า พวกเจ้านี้แหล่ะ คือหมู่ชนที่ถูกเรียกร้องให้บริจาคในหนทางของอัลลอฮฺ แต่มีบางคนในหมู่พวกเจ้าเป็นผู้ตระหนี่ ดังนั้นผู้ใดตระหนี่เขาก็ตระหนี่แก่ตัวเขาเอง เพราะอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงมั่งมี แต่พวกเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ขัดสน

( ซูเราะฮฺมุฮัมมัด อายะฮฺที่ 38)

 

พระองค์ตรัสอีกว่า

 

وَلَا يَحْسَبَنَّ الَّذِينَ يَبْخَلُونَ بِمَا آتَاهُمُ اللَّهُ مِن فَضْلِهِ هُوَ خَيْرًا لَّهُم ۖ بَلْ هُوَ شَرٌّ لَّهُمْ ۖ سَيُطَوَّقُونَ مَا بَخِلُوا بِهِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ ۗ 

 

     “และบรรดาผู้ที่ตระหนี่ในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานแก่พวกเขาจากความกรุณาของพระองค์นั้น  จงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่าเป็นการดีแก่พวกเขา หากแต่มันเป็นความชั่วแก่พวกเขา  พวกเขาจะถูกคล้องสิ่งที่พวกเขาตระหนี่มันไว้ในวันกิยามะฮฺ

 ( ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน อายะฮฺที่ 180 )

 

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 

«وَاتَّقُوا الشُّحَّ فَإِنَّ الشُّحَّ أَهْلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ

 

และจงระวังความตระหนี่ เพราะแท้จริงความตระหนี่นั้นได้ทำลายประชาชาติก่อนหน้าพวกท่านมาแล้ว

( บันทึกโดยมุสลิม )

 

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า

 

«واللهِ !،  لَا يُؤْمِنُ مَنْ بَاتَ شَبْعَاناً وَجَاْرُهُ جَاْئِعٌ».

 

ข้าขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ความศรัทธายังไม่สมบูรณ์สำหรับผู้ที่นอนหลับ ท้องก็อิ่ม ในขณะที่เพื่อนบ้านของเขากำลังหิวโหย

 

(บันทึกโดยอัลหัยษะมีย์ ใน มัจญ์มะอฺ อัซซาวาอิด และ อัลมุนซิรีย์ ใน อัตตัรฆีบ วะ อัตตัรฮีบ และอัลอัลบานีย์ เห็นว่าเป็นหะดีษหะซัน)

 

 

ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องห้าม

 

♠ ไม่มีความเสียสละ

♠ ไม่มีน้ำใจ 

♠ เอาชนะผู้อื่นโดยมิชอบ    

♠ เห็นแก่ตัว

♠ กลัวความยากจน (เพราะบริจาค)

♠ ไม่บอกหรือตักเตือนในสิ่งที่รู้

 

 

ประเภทของความผิด

 

♠ ความตระหนี่ เป็นพฤติกรรมที่อัลลอฮฺทรงตำหนิ

♠ ความตระหนี่ ทรัพย์สิน  ความรู้ อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม

♠ ความตระหนี่เป็นสาเหตุทำให้จิตใจนั้น กลับกลอก

♠ ความตระหนี่เป็นสาเหตุให้มนุษย์ถูกยับยั้งระงับจากการทำความดี

♠ ความตระหนี่จะทำให้เขานั้นถูกสอบสวนในวันกียามะฮฺ

 

 

ดุอาอฺขอให้รอดพ้นความตระหนี่

 

اَللَّهُمَّ إِنِّيْ أَعُوْذُبِكَ مِنَ الْهَـمِّ وَالْحَزَنِ وَ أَعُوْذُبِكَ مِنَ الْعَجْزِ

وَالْكَسَـلِ وَمِنَ الْبُخْلِ وَالْجُبْنِ أَعُوْذُبِكَ مِنْ غَلَبَةِ الدَّيْنِ وَقَهْرِ الرِّجَالِ

 

คำอ่าน : อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุบิก้า มินัลฮัมมิ วัลหะซะนิ วะอะอูซุบิ

ก้ามินัลอัญซิ วัลกะซะลิ วะมินัลบุคลิ วัลญุบนิ วะอะอูซุบิ

ก้ามิน ฆ่อละบะติดดัยนิ วะเกาะฮฺริรริญาลิ

 

คำแปล :

     โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองให้พ้นจากความกังวล ความโศกเศร้าเสียใจ

     และขอความคุ้มครองด้วยพระองค์ให้พ้นจากความอ่อนแอ และความเกียจคร้าน และความตระหนี่ ความขลาดกลัว

     และพ้นจากหนี้สินท่วมตัว และจากการบังคับของผู้อื่น

(บันทึกโดย มุสลิม)