มั จ ญ ลิ ซ (ประชุม)
  จำนวนคนเข้าชม  529

มั จ ญ ลิ ซ

 

เรียบเรียงโดย.... อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

ความหมายและความสำคัญ

 

          มัจญลิซ  หมายถึง การนั่งตั้งวง สอนกรุอ่าน นั่งศึกษาหาความรู้ หรือ การนั่งประชุม ปรึกษาหารือ ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามซุนนะฮฺท่านนบี เพราะนบีอ่านอัลกุรอานคนเดียว ทุกวัน แต่บางครั้งญิบรีลลงมาทำฮาลาเกาะห์กุรอานกับนบี ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม

 

          ความประเสริฐการทำฮาลาเกาะห์ท่านสะอีดอัลคุฏรีย์ เป็นพยานยืนยันว่า แท้จริง ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

لا يَقْعُدُ قَوْمٌ يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلا حَفَّتْهُمُ الْمَلائِكَةُ ، وَغَشِيَتْهُمُ الرَّحْمَةُ ، وَنَزَلَتْ عَلَيْهِمُ السَّكِينَةُ ، وَذَكَرَهُمُ اللَّهُ فِيمَنْ عِنْدَهُ "

 

"ไม่มีคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มได้ ได้นั่งทำการซิกรุลเลาะฮ์ นอกจากว่า บรรดามะลาอิกะฮ์จะห้อมล้อมพวกเขา

และความเมตตาก็แผ่ปกคลุมพวกเขา และความสงบสุขก็ได้ลงมาบนพวกเขา

และอัลเลาะฮ์ก็ทรงเอ่ยถึงพวกเขา แก่ผู้ที่อยู่ ณ พระองค์"

( บันทึกโดยมุสลิม )

 

          การนั่งตั้งวงเพื่อ สอนกรุอ่านหรือนั่งเพื่อศึกษาหาความรู้จะนำมาซึ่งความโปรดปรานจาก บรรดามะลาอิกะฮ์จะห้อมล้อมพวกเขา

 

 

หลักการ

 

     อัลลอฮฺตรัสว่า 

وَشَاوِرْهُمْ فِي الْأَمْرِ ۖ فَإِذَا عَزَمْتَ فَتَوَكَّلْ عَلَى اللَّهِ ۚ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُتَوَكِّلِينَ

 

"และสู่เจ้าจงปรึกษาหารือ กับพวกเขาในกิจการงานต่างๆ ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายต่ออัลลอฮฺเถิด

แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ที่มอบหมาย"

( อาละอิมรอน : 159)   

 

          มารยาทในที่ชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มีสุนนะฮฺไว้ เพื่อยับยั้งสิ่งต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกันในระหว่างมุสลิมด้วยกัน คือ ไม่ให้คนสองคนคุยกระซิบความลับกันโดยไม่บอกคนที่สามเมื่อในที่ชุมนุมมีเพียงสามคนเท่านั้น

          และเช่นกันท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการที่คนๆหนึ่งจะเข้าไปนั่งแทรกคนสองคน นอกจากจะต้องขออนุญาตทั้งสองนั้นเสียก่อน เพราะบางทีทั้งสองอาจกำลังมีเรื่องที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ก็ได้ และมารยาทอีกประการหนึ่งคือให้จบการอ่านดุอาอ์กัฟฟาเราะฮฺ(สิ่งลบล้าง)การชุมนุม เพื่อที่จะลบล้างความผิดเล็กๆน้อยๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมได้

 

          ท่านอบูดาวูดได้รายงานจาก อบี บัรซะฮ์  ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวในช่วงท้ายกิจการงานหนึ่ง  เมื่อท่านต้องการจะลุกขึ้นจากที่ประชุมหนึ่ง  ว่า  

 

سُبْحانَكَ اللَّهُمَّ وبِحَمْدِكَ، أشْهَدُ أنْ لا إِلهَ إِلاَّ أنْتَ، أسْتَغْفِرُكَ وأتُوبُ إِلَيْكَ، فقال رجل‏:‏ يا رسول اللّه‏!‏ إنك لتقول قولاً ما كنتَ تقولُه فيما مضى، قال‏:‏ ذلكَ كَفَّارَةٌ لِمَا يَكُونُ في المَجْلِسِ‏

 

"ซุบฮานะกัลลอฮุมม่า  วะบิฮัมดิก้า  อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลาอันต้า  อัสตัฆฟิรุก้า  วะอะตูบุอิลัยฮ์" 

ดังนั้น  มีชายคนหนึ่งกล่าวว่า  โอ้  ท่านร่อซูลุลลอฮ์! ท่านได้กล่าวถ้อยคำหนึ่งซึ่งท่านไม่ได้กล่าวมันมาก่อนเลย  

ท่านนบีกล่าวว่า  ดังกล่าวนั้นเป็นการลบล้าง(ความผิดพลาด)ในสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุม" 

(รายงานโดยอบูดาวูด )

 

 

มารยาทในที่ชุมนุม และการนั่งรวมกัน 

 

 

     ♥ ห้ามคนสองคนคุยกระซิบกันโดยไม่บอกคนที่สาม

     ท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

إِذَا كَانَ ثَلَاثَةٌ، فَلَا يَتَنَاجَى اثْنَانِ دُونَ وَاحِدٍ 

 

เมื่ออยู่กันสามคน คนสองคนก็จงอย่ากระซิบกัน โดยไม่บอกคนที่สาม 

( บันทึกโดย มุสลิม)

 

 

     ♥ นั่งแทรกคนสองคนจะต้องขออนุญาตทั้งสองนั้นเสียก่อน

     ท่านอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 

لَا يَحِلُّ لِلرَّجُلِ أَنْ يُفَرِّقَ بَيْنَ اثْنَيْنِ إِلَّا بِإِذْنِهِمَا 

 

 ไม่อนุญาตให้คนใดแทรกคนสองคน นอกจากได้รับอนุญาตจากคนทั้งสองเสียก่อน 

(บันทึกโดย อัตติรมิซียฺ)

 

 

การปฏิบัติ

♦ จะต้องมีหัวหน้าหนึ่งคนทำหน้าที่ในการประชุม (คนที่เป็นหัวหน้าจะต้องมีประสบการณ์ เข้าใจงาน 

♦ อย่าเสนอความคิดเห็นด้วยการทับถมความคิดเห็นของคนอื่น 

♦ ควรขอนุญาตจากหัวหน้าก่อนในการนำเสนอแต่ละครั้ง 

♦ การประชุมจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความบริสุทธิ์ใจและอามานะห์  

♦ จะต้องอ่านดุอาหลังมีการประชุมเสร็จ

♦ จะต้องมอบหมายต่ออัลลอฮฺหลังมีการวางแผนงานนั้นๆ 

 

 

ประโยชน์และคุณค่า

♦ สถานที่ใดที่มีการตั้งวง ประชุม หรือการเรียนร็ตามซุนนะห์พวกเขานั้นจะได้รับความเมตตาของอัลลอฮฺ

♦ การประชุมปรึกษาหารือนั้นถือปฏิบัติตามซุนนะห์ 

♦ การปรึกษาหารือจะรักษาทุกคนให้ห่างไกลจากคัดแย้งกัน ห่างไกลจากการตามนัฟซู และไชฏอน

 

 

ดุอาอฺ

 

ดุอาก่อนเสร็จการประชุม

          รายงานจากท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ความว่า  ท่านร่อซูลุลลอฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า "ผู้ใดได้นั่งในที่ประชุมหนึ่ง  แล้วเขามีเสียงเอะอะโวย  แล้วเขาได้กล่าวก่อนจะยืนจากที่ประชุมดังกล่าว  ว่า  

 

‏ سُبْحانَكَ اللَّهُمَّ وبِحَمْدِكَ، أشْهَدُ أنْ لا إِلهَ إِلاَّ أنْتَ أسْتَغْفِرُكَ وأتُوبُ إِلَيْكَ

 

คำอ่าน "ซุบฮานะกัลลอฮุมม่า  วะบิฮัมดิก้า  อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลาอันต้า  อัสตัฆฟิรุก้า  วะอะตูบุอิลัยฮ์" 

 

          มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ โอ้อัลลอฮฺ และกับการสรรเสริญของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ฉันขอการอภัยโทษจากพระองค์ และฉันขอกลับตัวสู่พระองค์ 

 

          เขาก็จะได้รับการอภัยโทษจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานที่ประชุมดังกล่าวนั้น"

(รายงานโดยติรมีซีย์ ท่านกล่าวว่า เป็นฮะดิษหะซันซอฮิห์)

 

 

แบบฝึกหัด

 

     เราต้องการจะเข้าไปนั่งในระหว่างสองคนที่เขานั่งอยู่แล้ว เราควรปฏิบัติอย่างไร เลือกข้อที่ถูกต้อง 

1.ขออนุญาตก่อน

2.เข้าไปนั่งเลย

3.แทรกระหว่างสองคน 

 

     จงบอกมารยาทในการนั่งประชุม  สามข้อ

 

ตอบ.........................................................

 

     จงเติมบทดุอาหลังเสร็จการประชุมในช่วงว่างให้ถูกต้อง

 

سُبْحانَكَ      أشْهَدُ أنْ لا إِلهَ إِلاَّ أنْتَ

………… اللَّهُمَّ وبِحَمْدِكَ،………… ، أسْتَغْفِرُكَ وأتُوبُ إِلَيْكَ

 

 

 

 

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&