การศึกษาอัลกุรอาน ด้านการซื้อขายและดอกเบี้ย
  จำนวนคนเข้าชม  144

การศึกษาอัลกุรอาน ด้านการซื้อขายและดอกเบี้ย

 

.อิสหาก พงษ์มณี ... เรียบเรียง

 

قال الله تعالى :اَحَلَّ الْلٰهُ الْبَْيْعَ وَ حَرَّمَ الِّرِبَا 

"อัลลอฮ์ทรงอนุญาตการซื้อขายแต่ห้ามดอกเบี้ย"

 

  

1. อ้าหั้ลลั่ลลอฮุ้ลบัยอ้า วะหัรรอมันริบา

 

 

2. ตำแหน่งการออกเสียง

 

 الجوف (مخرج واحد)

ลำคอใต้กระเดือก ตำแห่งเดียว

 الحلق (ثلاثة مخارج)

กระเดือก 3 ตำแหน่ง

اللسان (عشرة مخارج)

ลิ้น 10 ตำแหน่ง

 الشفتان (مخرجان)

สองริมฝีปาก 2 ตำแหน่ง

 الخيشوم (مخرج واحد)

เพดาน 1 ตำแหน่ง

 

 

3. แต่ละอักษรอยู่ตำแหน่งใด

 

     ขอเว้นไม่กล่าวถึงเกรงจะยืดยาว ที่ยกเรื่องตำแหน่งการออกเสียงพยัญชนะและสระภาษาอาหรับมาก็เพื่อยอกให้ทราบว่าการอ่านให้ถูกต้องหากทำได้ก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้าทำไม่ได้ก็เอาเท่าที่ได้ เพราะท่านนบีบอกว่า

 قالَ رسولُ اللَّهِ ﷺ: الَّذِي يَقْرَأُ القُرْآنَ وَهُو ماهِرٌ بِهِ معَ السَّفَرةِ الكِرَامِ البَرَرَةِ، وَالَّذِي يقرَأُ القُرْآنَ ويَتَتَعْتَعُ فِيهِ وَهُو عليهِ شَاقٌّ لَهُ أَجْران متفقٌ عَلَيْهِ.

"ผู้ใดอ่านอัลกุรอ่านได้คล่องแคล่วเชี่ยวชาญ จะได้อยู่กับเหล่ามะลาอิกะห์ผู้แสนดีและทรงเกียรติ

ส่วนผู้ที่อ่านแล้วตะกุกตะกักคือในสภาพที่อ่านได้ยากเย็น เขาจะได้บุญสองเท่า"

มุตตะฟะกุนอะลัยฮิ

 

 

4. ชัยค์บินบาซ ร่อหิมะฮุลลอฮ์

 

     อธิบายว่า "ที่ว่าอ่านได้คล่องแคล่วนั้น" ไม่ใช่แต่อ่านเท่านั้นแต่หมายถึงรู้และเข้าใจความหมายพร้อมนำไปปฏิบัติด้วย 

يعني: إذا كان يتلوه قولًا وعملًا، لا مجرد التلاوة فقط، يُجيد تلاوته، ويعمل به، فهو قائم به لفظًا ومعنًى

 

 

5. การศึกษาความหมาย

 

1)ขอบเขตการอนุญาตนั้นแค่ไหน

 

2)"บัยอุน-การซื้อขาย"คืออะไรแปลว่าอะไร

 

3) "บัยอุน-การซื้อขาย" มีกี่ประเภท มีกี่สภาพ มีโครงสร้างอะไรบ้าง และมีเงิ่อนไขอะไรบ้าง

 

4)มีการซื้อขายประเภทต้องห้ามไหม และมีอะไรบ้าง

 

5)"ริบา-ดอกเบี้ย" คืออะไร 

 

6) "ริบา" ธุรกรรมใดมีโครงสร้างและเงื่อนไขอะไรที่เข้าข่าย "ริบา"

 

7)"ริบัดดุยูน" คืออะไร

 

8)”ริบั้ลยุยัวอฺ" คืออะไร

 

9) อะไรคือทรัพย์ดอกเบี้ย และอะไรไม่ใช่ทรัพย์ดอกเบี้ย

 

10) เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับดอกเบี้ยมีผลอย่างไร

 

11) ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดมีตัวบทจากท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวโดยละเอียดหรือไม่อย่างไร และ ฯลฯ

 

     นี่แค่เพียงอายะห์สั้นๆ หากต้องการความเข้าใจโดยถ่องแท้เพื่อนำไปปฏิบัติแล้ว คงต้องใช้เวลาและความพยายามอีกมากที่เดียว

 

 

คำถามง่ายๆ ท้ายบทความนี้

 

     1. การที่คนหนึ่งพยายามศึกษาภาษอาหรับเพื่อให้ทราบความหมาย "บัยอุน" และ "ริบา" รวมถึงคำว่า "อะหั่ลล่า" เขายังกำลังศึกษาอัลกุรอ่านอยู่ไหม ?

 

     2. การที่คนคนหนึ่งค้นหา "ฮะดีษ" จากท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ได้พูด ได้ทำ ได้ยอมรับรู้แบบการซื้อขาย และที่ได้ห้าม ได้ปราม และชี้แจงรายละเอียดของดอกเบั้ยไว้ เขาจะยังอยู่ในสภาพที่ศึกษาอัลกุรอ่านอยู่ไหม ?

 

     3. การที่คนคนหนึ่งค้นหาคำอธิบายของปวงปราชญ์ตั้งแต่ยุคศ่อฮาบะห์จนถึงปราชญ์ร่วมสมัย ที่เกี่ยวกับการซื้อขายและดอกเบี้ย ท่านคิดว่าเขายังอยู่ในการศึกษาอัลกุรอ่านอยู่ไหม ?

 

     ดังนั้นหากท่านมีมุมมองแคบๆ เข้าใจแคบๆ เกี่ยวกับคำว่า "ศึกษาอัลกุรอ่าน" อยู่ก็จงปรับทัศนคติเสียใหม่

     ผู้ที่นังเรียน "หุก่ม" ของการซื้อขาย นั่งเรียน "หุก่ม" ของดอกเบี้ย จนเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ท่านคิดว่าเขาทิ้งการศึกษาอัลกุรอ่านไปอย่างนั้นหรือ หรือว่าเขากำลังศึกษาความหมายและหุก่มของอัลกุรอ่านอยู่ แต่ท่านเองที่ละทื้งสำคัญที่สุดนี้ไป และไปเน้นในเรื่องที่มีความสำคัญน้อยกว่า

     การศึกษาอัลกุรอ่านมีหลายมิติ และมิติที่สำคัญและยิ่งใหญ่คือเข้าใจความหมาย เข้าใจหุก่มต่างๆ และสามรถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงนั่นและคือเป้าหมายหลักของการเรียนรู้อัลกุรอ่าน

 

 

ท่านอิหม่ามกุรฏุบี้ ร่อหิมะฮุลลอฮ์ กล่าวไว้ว่า

 

قال القرطبي رحمه الله " وأجمع المسلمون نقلا عن نبيهم صلى الله عليه وسلم أن اشتراط الزيادة في السلف ربا، ولو كان قبضة من علف - كما قال ابن مسعود - أو حبة واحدة" في تفسيره (3/ 241)

 

     "ปวงมุสลิมต่างรายงานจากนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ของพวกเขาว่า การตั้งเงื่อนไขเรียกเก็บเพิ่ม(เกินกว่ามูลหนี้จากการ)กู้ยืม มันคือดอกเบี้ย

     แมัแค่หญ้าสักกำมือ หรือเหมือนอย่างที่อิบนุมัสอู๊ด (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวไว้ว่า หรือแม้แต่เมล็ดพืชเมล็ดเดียวก็ตาม" 

(ตัฟสีรกุรฏุบี้ เล่ม 3 หน้า 241)

 

สรุปคือ

1-หญ้ากำมือเดียวก็เป็นดอกเบี้ยได้

2-เมล็ดพืชเมล็ดเดียวก็เป็นดอกเบี้ยได้

3-สิ่งที่น้อยและด้อยค่ากว่านี้คงหายากแล้ว