เสี่ยงไฟนรก...การอธิบายอัลกุรอ่านเอง ! ‎
  จำนวนคนเข้าชม  85

เสี่ยงไฟนรก...การอธิบายอัลกุรอ่านเอง !

.ดาวุด ธิยัน... แปลเรียบเรียง 

 

เสี่ยงไฟนรก

 

(من قال في القرآن برأيه، فقد أخطأ ولو أصاب)

 

ใครที่อธิบายกุรอานจากความเห็นส่วนตัวของเขา  เขาได้ทำความผิดพลาดแล้ว ถึงแม้จะอธิบายถูกก็ตาม 

(หะดิษบันทึกโดยติรมีซีย์)

 

     ชัยค์อับดุรร็อกซากอัลบัดร์ พูดว่า : หะดิษสายรายงานอ่อน และชัยค์บินบาสท่านบอกว่า แต่ความหมายถูกต้อง !

 

     และมีบางหะดิษเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกในสำนวนอื่นว่า  : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

 

ومَن قال في القرآنِ برأيِّهِ ، فليتَبوَّأْ مَقعدَهُ مِن النَّارِ

 

ใครที่อธิบายกุรอ่านด้วยความเห็นส่วนตัวของเขา ดังนั้นเขากำลังเตรียมที่นั่งของเขาในไฟนรก

 

     หะดิษอิหม่ามติรมีซีย์ และชัยค์อุซัยมีน และอุละมาอ์ท่านอื่นๆให้สถานะหะซันและบางท่านก็วิจารณ์ว่าฎ่ออีฟ

 

     ชัยค์อุซัยมีน อธิบายหะดิษบทนี้ว่า :

 

‎الشيخ : هذا صحيح هذا مشهور صحيح مشهور، يعني من قال بغير علم فليتبوأ مقعده من النار، وذلك محمول على من يفسر القرآن برأيه لا بما يقتضيه الشرع، أو تقتضيه اللغة العربية، مثل: تفسير أهل الأهواء، يفسرون القرآن بآرائهم مثلاً: يقول في قول الله تبارك وتعالى: { بَلْ يَدَاهُ مَبْسُوطَتَانِ } يقول: المراد باليدين النعمة ما هي اليد الحقيقة.

‎يقول: { اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ } يعني: استولى عليه ، وما أشبه ذلك، هذا فسر القرآن برأيه، أما من فسر القرآن بما يقتضيه الشرع أو بما تقتضيه اللغة حيث لا حقيقة له شرعية فإن هذا لا بأس به.

 

     ชัยค์ : นี่คือหะดิษศ่อฮิห์ หะดิษนี้เป็นหะดิษมัชฮูร  หมายความว่า "ผู้ใดกล่าว(อธิบาย)ในอัลกุรอานโดยปราศจากความรู้ จงไปรับที่นั่งของเขาในนรก" 

 

     ประโยคนี้ใช้กับผู้ที่ตีความอัลกุรอานตามความคิดเห็นของตนเอง ไม่ได้ตีความตามหลักศาสนาหรือหลักภาษาอาหรับ ตัวอย่างเช่น พวกมุสลิมอารมณ์นิยม(กลุ่มหลงผิด)ที่ตีความอัลกุรอานตามความคิดเห็นของพวกเขา เช่น

 

     ในอัลกุรอานที่กล่าวว่า"แต่พระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์นั้นแบออก" พวกเขาตีความว่า "มือ" หมายถึง "ความโปรดปราน" ไม่ได้หมายถึงมือที่แท้จริง

     หรือในอัลกุรอานที่กล่าวว่า "พระองค์ทรงประทับอยู่เหนือบัลลังก์" พวกเขาตีความว่า "ทรงประทับ" หมายถึง "ทรงครอบครอง"

     การตีความแบบนี้ถือว่าเป็นการตีความอัลกุรอานตามความคิดเห็นของตนเอง

 

     แต่หากการตีความอัลกุรอานนั้นสอดคล้องกับหลักศาสนาหรือหลักภาษาอาหรับ โดยไม่มีหลักฐานทางบทบัญญัติ การอธิบายแบบนี้(ใช้หลักภาษาอธิบายความ) ถือว่า ไม่มีปัญหา!!

 

     ชัยค์ซอและห์ เฟาซาน : ถูกถามว่า ท่านเห็นอย่างไรกับการอธิบายอัลกุรอ่านด้วยความคิดเห็นตัวเอง โดยปราศจากความรู้? เวลาเตือน เขาก็ตอบว่า : ก็อัลลอฮ์ให้ปัญญาเราไว้คิด?

 

      ท่านตอบว่า : ไม่อนุญาติอธิบายอัลกุรอ่านด้วยสติปัญญาตัวเองเพราะมันคือ การพูดถึงอัลลอฮ์โดยปราศจากความรู้  (เป็นเรื่องอันตราย) และท่านก็ยกหะดิษข้างต้นมายืนยัน กุรอ่านจะอธิบายด้วยกับกุรอาน หรือด้วยกับหะดิษ หรือทัศนะศ่อฮาบะห์ หรือด้วยกับหลักภาษาอาหรับ และสุดท้ายท่านก็สรุปว่าการอธิบายอัลกุรอ่านอย่าเอาปัญญาเข้ามายุ่ง ! (คือการใช้ความเห็นตัวเองอธิบาย)

 

قُلۡ إِنَّمَا حَرَّمَ رَبِّيَ ٱلۡفَوَٰحِشَ مَا ظَهَرَ مِنۡهَا وَمَا بَطَنَ وَٱلۡإِثۡمَ وَٱلۡبَغۡيَ بِغَيۡرِ ٱلۡحَقِّ وَأَن تُشۡرِكُواْ بِٱللَّهِ مَا لَمۡ يُنَزِّلۡ بِهِۦ سُلۡطَٰنٗا وَأَن تَقُولُواْ عَلَى ٱللَّهِ مَا لَا تَعۡلَمُونَ

 

     “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือบรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ ทั้งเป็นสิ่งที่เปิดเผยจากมันและสิ่งที่ไม่เปิดเผย และสิ่งที่เป็นบาป และการข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม และการที่พวกเจ้าให้เป็นภาคแก่อัลลอฮฺซึ่งสิ่งที่พระองค์มิได้ทรงประทานหลักฐานใด ๆ ลงมาแก่สิ่งนั้น และการที่พวกเจ้ากล่าวให้อภัย แก่อัลลอฮฺในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้

(อัลอะอ์รอฟ 33)

 

     ท่านอิหม่าม อิบนุ ตัยมียะฮ์ -ขออัลลอฮฺทรงเมตตาแก่ท่าน- กล่าวไว้ว่า 

     "ผู้ใดอธิบายความอัลกุรอานโดยอาศัยความคิดเห็นของตนเอง ผู้นั้นถือว่าทำเกินเลยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนไม่มีความรู้  และดำเนินอยู่กับสิ่งที่เขาไม่ได้ถูกบัญชาใช้  ถึงแม้ว่าเขาจะอธิบายความถูกต้องก็ตาม  แต่เขาก็ยังถือว่าผิด เพราะเขาไม่ได้มาจากวิถีทางที่ถูกต้อง เปรียบเสมือนผู้พิพากษาตัดสินคดีโดยปราศจากความรู้ เขาย่อมตกอยู่ในนรก แม้ว่าคำตัดสินของเขาจะถูกต้องก็ตาม"

(มัจมูอ์ฟะตาวา 13/371)

 

หลักการสำคัญในการอธิบายอัลกุรอ่านมีดังนี้ :-

♦ อธิบายอัลกุรอานด้วยอัลกุรอาน

♦ อธิบายอัลกุรอานด้วยหะดีษ 

♦ อธิบายอัลกุรอานด้วยคำพูดของศอฮาบะห์ 

 

      หากไม่พบการอธิบายจากศอฮาบะห์นักวิชาการด้านตัฟซีรจำนวนมากมายก็จะกลับไปยังคำอธิบายของตาบิอีน (ผู้ที่พบกับศอฮาบะห์ เป็นผู้ศรัทธาและตายบนอัลอิสลาม) เช่น ท่านมุจาฮิด และท่านอื่นๆ ผู้ใดที่ฝ่าฝืนรากฐานนี้ เขานั้นนับว่ามีความผิด ถึงแม้จะอธิบายความถูกก็ตาม !

 

      การอธิบายความหมายอัลกุรอานนั้นจะต้องไม่อธิบายด้วยกับสติปัญญาเพียงอย่างเดียว โดยปราศจากกฏเกณฑ์ต่างๆด้านภาษาอาหรับ และกฏเกณฑ์หลัก หรือกฏเกณฑ์ปีกย่อยของศาสนา

 

 

 

ขอฮิกมะห์ คือ การขอความรู้ที่ถูกต้อง

 

اللَّهُمَّ آتِني الحِكْمَةَ الَّتي مَنْ أُوتِيهَا فَقَدْ أُوتِيَ خَيْرًا كَثِيرًا)([1]).

 

     คำอ่าน : “อัลลอฮุมม่า อาตินิลฮิกมะตัลละตี มัน อูติยะฮา ฟะก็อด อูติย่า ค็อยร็อน กะษีรอ

 

     ความหมาย : "โอ้อัลลอฮ์ โปรดประทานปัญญาแก่ข้าพระองค์  ปัญญาที่ผู้ใดได้รับมันแล้วไซร้ ก็ได้รับความดีอันประเสริฐยิ่งนัก"

 

     การวิงวอนขอความรู้จากพระเจ้า หมายถึง การขอปัญญา ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และความสามารถในการพูดและกระทำสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นของขวัญอันล้ำค่า และ ของประทานอันยิ่งใหญ่ เหนือสิ่งอื่นใด

 

قال تعالى: ﴿وَمَنْ يُؤْتَ الْحِكْمَةَ فَقَدْ أُوتِيَ خَيْرًا كَثِيرًا﴾، 

 

‏”และผู้ใดที่ได้รับความรู้ แน่นอนเขาก็ได้รับความความดีอันมากมาย

(อัลบากอเราะห์ 269)

 

قال النبي صلى الله عليه وسلم (لَا حَسَدَ إِلَّا فِي اثْنَتَيْنِ: رَجُلٍ آتَاهُ اللهُ مَالًا فَسَلَّطَهُ عَلَى هَلَكَتِهِ فِي الْحَقِّ، وَرَجُلٌ آتَاهُ اللهُ حِكْمَةً فَهُوَ يَقْضِي بِهَا وَيُعَلِّمُهَا)([3])، 

 

      ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า : ”ไม่มีการอิจฉายกเว้นสองประการ  บุคคลหนึ่งที่อัลลอฮ์ทรงมอบทรัพย์สินให้แก่เขาและเขาใช้มันไปในหนทางแห่งสัจธรรม และอีกคนที่อัลลอฮ์ทรงมอบความรู้ให้แก่เขาและเขาได้ปฏิบัติตามความรู้นั้นและสอนมัน 

 

     สิ่งที่ยิ่งใหญ่และสูงส่งที่สุดของความรู้คือ การเรียนอัลกุรอาน แน่นอนว่ามีการอ้างอิงที่ถูกต้องจากอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ในการอธิบายคำว่าฮิกมะห์ท่านกล่าวว่า : หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับอัลกุรอาน  อายะห์ที่มายกเลิกและสิ่งที่ถูกยกเลิก ความหมายที่รัดกุมชัดเจน และความหมายที่หลายนัยยะ  การลำดับอายะห์มาก่อนและหลัง  หะลาลและหะรอม และอุปมาอุปมัยในอัลกุรอาน (4)

 

 


[1]) قال I: ] يُؤْتِي الْحِكْمَةَ مَنْ يَشَاءُ وَمَنْ يُؤْتَ الْحِكْمَةَ فَقَدْ أُوتِيَ خَيْرًا كَثِيرًا وَمَا يَذَّكَّرُ إِلَّا أُولُو الْأَلْبَابِ [[سورة البقرة، الآية:269].

([2]) تفسير ابن سعدي، 1/ 332.

([3]) البخاري، كتاب الزكاة، باب إنفاق المال في حقه، برقم 1409، ومسلم، كتاب صلاة المسافرين وقصرها، باب فضل من يقوم بالقرآن ويعلمه، وفضل من تعلم حكمة من فقه أو غيره فعمل بها وعلمها، برقم 816.

([4]) تفسير الطبري، 5/ 576، وابن أبي حاتم في التفسير، 2/ 531، وحسّن إسناده في التفسير الصحيح، 1/ 378.

 

 

https://www.islamweb.net/.../%D9%85%D8%B9%D9%86%D9%89-%D8...