พระเจ้าของเจ้านั้นมิทรงอธรรมต่อปวงบ่าวของพระองค์
  จำนวนคนเข้าชม  342

พระเจ้าของเจ้านั้นมิทรงอธรรมต่อปวงบ่าวของพระองค์

 

 แปลเรียบเรียง...  อบูซุลฟา ...

 

นั่นก็เพราะว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงเป็นผู้เปลี่ยนแปลงความกรุณาใดๆ ที่พระองค์ทรงประทานแก่กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใด

จนกว่าพวกเขาจะได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ในตัวของพวกเขาเอง และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้

(อัล-อัมฟาล  โองการที่ ๕๓)

 

          บรรดาพี่น้องผู้ร่วมศรัทธาทั้งหลาย ผู้ที่ใคร่ครวญแนวทางแห่งอัลลอฮ์และสัญญาณต่างๆ ของพระองค์ ย่อมประจักษ์แจ้งถึงความเมตตากรุณาของพระองค์ที่มาก่อนสิ่งอื่นใดเสมอ ความโปรดปรานของพระองค์ที่มีต่อบรรดาสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงให้เพิ่มพูนเป็นการเฉพาะแก่บรรดาปวงบ่าวที่มีศรัทธา ผู้ที่ขอบคุณ และนี่คือแนวทางแห่งพระผู้เป็นเจ้าโดยตลอดมา 

 

          เป็นที่ชัดแจ้งสำหรับทุกคนที่พิจารณาแนวทางเหล่านี้ในตัวบทวิวรณ์อันยิ่งใหญ่ ตลอดจนประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ชาติทั้งหลาย 

  

        แน่แท้อัลลอฮฺ ทรงกรุณาต่อปวงบ่าว ทรงเพิ่มพูนความโปรดปรานและความดีแก่พวกเขา โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาขอบคุณ , เช่นที่อัลลอฮฺทรงเตือน ทรงคาดโทษให้ระวัง ว่าพระองค์จะทรงลงโทษผู้ที่ปฏิเสธ ผู้ที่เพิกเฉยและผินหลัง , นี่คือสิ่งที่ชัดเจนในตัวบทอัลกุรอ่านและซุนนะห์ 

 

          และจากตัวบทที่ได้กล่าวถึงในเรื่องนี้สองโองการที่ยิ่งใหญ่ โดยในทั้งสองโองการเป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ที่รับฟังอย่างตั้งใจจริง อัลลอฮฺตรัสว่า

 

( ذَلِكَ بِأَنَّ اللَّهَ لَمْ يَكُ مُغَيِّرًا نِعْمَةً أَنْعَمَهَا عَلَى قَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ وَأَنَّ اللَّهَ سَمِيعٌ عَلِيمٌ  )

 

     “นั่นก็เพราะว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงเป็นผู้เปลี่ยนแปลงความกรุณาใดๆ ที่พระองค์ทรงประทานแก่กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใด

     จนกว่าพวกเขาจะได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ในตัวของพวกเขาเอง และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้ 

(อัล-อัมฟาล  โองการที่ ๕๓ )

 

     อัลลอฮ์ตรัสว่า 

 

( لَهُ مُعَقِّبَاتٌ مِنْ بَيْنِ يَدَيْهِ وَمِنْ خَلْفِهِ يَحْفَظُونَهُ مِنْ أَمْرِ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ وَإِذَا أَرَادَ اللَّهُ بِقَوْمٍ سُوءًا فَلَا مَرَدَّ لَهُ وَمَا لَهُمْ مِنْ دُونِهِ مِنْ وَالٍ )

 

สำหรับเขามีมะลาอิกะฮฺผู้เฝ้าติดตามทั้งข้างหน้าและข้างหลังเขา รักษาเขาตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ 

แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลียนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง 

และเมื่ออัลลอฮฺทรงปารถนาความทุกข์แก่ชนกลุ่มใดก็จะไม่มีผู้ตอบโต้พระองค์ 

และสำหรับพวกเขาไม่มีผู้ช่วยเหลือนอกจากพระองค์

( อัรเราะอฺดฺ โองการที่ ๑๑ )

 

          ในโองการทั้งสองนี้ อัลลอฮฺทรงแจ้งว่าพระองค์จะมิทรงเปลี่ยนแปลงความโปรดปรานที่พระองค์ทรงประทานแก่ผู้ใด เว้นแต่ด้วยกับเหตุแห่งความผิดที่เขากระทำ , และอัลลอฮฺทรงแจกแจงหลักการที่ยิ่งใหญ่นี้ในหลายๆ โองการ ที่อยู่ในคัมภีร์ของพระองค์ ดังเช่นคำดำรัสของอัลลอฮฺ 

 

( وَمَا أَصَابَكُمْ مِنْ مُصِيبَةٍ فَبِمَا كَسَبَتْ أَيْدِيكُمْ وَيَعْفُو عَنْ كَثِيرٍ ﴾ [الشورى: 30] )

 

     และเคราะห์กรรมอันใดที่ประสบแก่พวกเจ้า ก็เนื่องด้วยน้ำมือของพวกเจ้าได้ขวนขวายไว้ และพระองค์ทรงอภัย (ความผิดให้) มากต่อมากแล้ว

(อัชชูรอ โองการที่ ๓๐)

 

     ดังที่พระองค์ตรัสว่า 

 

( مَا أَصَابَكَ مِنْ حَسَنَةٍ فَمِنَ اللَّهِ وَمَا أَصَابَكَ مِنْ سَيِّئَةٍ فَمِنْ نَفْسِكَ  )

 

ความดีใด ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้น มาจากอัลลอฮฺ และความชั่วใด ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวของเจ้าเอง 

และเราได้ส่งเจ้าไปเป็นรอซูลแก่มนุษย์ และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน”  

(อัน-นิซาอฺ  โองการที่ ๗๙ )

 

           ตลอดจนในโองการอื่นจากที่กล่าวมานี้  ได้แน่นย้ำว่าแท้จริงแล้วพระองค์จะมิทรงเริ่มลงโทษและให้ประสบกับความเดือดร้อนแก่ผู้ใด , และสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นการตอบแทนต่อการฝ่าฝืนที่ผ่านมา ดังนั้น ในคำดำรัสที่ว่า 

 

( ذَلِكَ بِأَنَّ اللَّهَ لَمْ يَكُ مُغَيِّرًا نِعْمَةً أَنْعَمَهَا عَلَى قَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ  )

 

    นั่นก็เพราะว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงเป็นผู้เปลี่ยนแปลงความกรุณาใดๆ ที่พระองค์ทรงประทานแก่กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใด จนกว่าพวกเขาจะได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ในตัวของพวกเขาเอง 

(อัล-อัมฟาล  โองการที่ ๕๓ )

 

       คำดำรัสของอัลลอฮฺ (  ذَلِكَ بِأَنَّ اللَّهَ  สืบเนื่องจากที่พระองค์ทรงบอกถึงข่าวคราวการลงโทษของพระองค์ เพื่อพระองค์จะแจกแจงว่าการลงโทษนี้ ก็อันเนื่องจากเหตุแห่งการกระทำของคนเหล่านั้น การลงโทษทัณฑ์เนื่องจากการที่อัลลอฮฺมิทรงเปลี่ยนแปลงความโปรดปรานที่พระองค์ประทานแก่กลุ่มชนใด กระทั่งพวกเขามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากการกุฟรฺ (ปฏิเสธ) และละทิ้งการชุกรฺ (ขอบคุณ) 

 

     อิหม่าม มุกอติ้ล ร่อฮิมาฮุลลอฮ์ กล่าวว่า กลุ่มชนดังกล่าวนี้คือชาวมักกะฮฺ ที่พระองค์ทรงให้อาหารแก่พวกเขาให้พ้นจากความหิวและทรงให้ความปลอดภัยแก่พวกเขาให้พ้นจากความหวาดกลัว ,หลังจากนั้นพระองค์ทรงแต่งตั้งท่านนบีมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม ให้ประกาศศาสนาในหมู่พวกเขา ,แต่พวกเขากลับไม่สำนึกในกรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อพวกเขา, แล้วพระองค์จึงทรงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่พวกเขามี 

 

          ในโองการนี้ถึงแม้ว่าจะประทานลงมาโดยผู้ที่เข้าอยู่ในความหมายเป็นอันดับแรก คือสภาพของชาวกุเรชกับความโปรดปรานของ อัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขา และความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือการแต่งตั้งมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม , แต่ทว่าบ่าวทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะแล้วก็เข้ารวมอยู่ในโองการนี้ด้วย เพราะกฏเกณฑ์อันสำคัญของการอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน คือความหมายโดยรวมของคำดำรัสมิใช่เหตุ (แห่งการประทานโองการลงมา) ที่จำเพาะเจาะจง ตามที่บรรดาปวงปราชญ์ได้ให้การยอมรับ , 

 

          เพราะฉะนั้นความหมายของโองการนี้คือเมื่ออัลลอฮฺทรงให้ความโปรดปรานหนึ่งแก่กลุ่มชนใด แท้จริงด้วยกับความกรุณาและความเมตตาของพระองค์ จะมิทรงเริ่มเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้น กระทั่งการเปลี่ยนแปลงได้มีมาจากพวกเขาเอง โดยที่พวกเขาเปลี่ยนสภาพการณ์ของพวกเขาจากที่เคยประพฤติดี พวกเขาฝ่าฝืน หรือการกุฟรฺ (ปฏิเสธ) อันเป็นเหตุแห่งการลงโทษ อัลลอฮฺก็จะทรงแทนที่ความโปรดปรานที่มีแก่พวกเขาด้วยการลงโทษโดยเป็นการตอบแทนอย่างคู่ควร,

 

         ตัวอย่างความโปรดปรานที่อัลลอฮฺทรงประทานแก่ชาวกุเรช , แต่พวกเขากลับปฏิเสธมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม ดังนั้นอัลลอฮฺจึงเปลี่ยนแปลงไปจากพวกเขาซึ่งความโปรดปรานนี้ ,โดยที่ชาวอันศ็อร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม เป็นผู้ได้รับไป , และการลงโทษจึงได้ประสบกับชาวกุเรช ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺจึงตรัสหลังจากโองการนี้ว่า 

 

( كَدَأْبِ آلِ فِرْعَوْنَ وَالَّذِينَ مِنْ قَبْلِهِمْ كَذَّبُوا بِآيَاتِ رَبِّهِمْ فَأَهْلَكْنَاهُمْ بِذُنُوبِهِمْ وَأَغْرَقْنَا آلَ فِرْعَوْنَ وَكُلٌّ كَانُوا ظَالِمِينَ )

 

     “เช่นเดียวกับสภาพแห่งวงศ์วานฟิรฺเอาน์และบรรดาผู้มาก่อนหน้าพวกเขา ซึ่งพวกเขาปฏิเสธบรรดาโองการแห่งพระเจ้าของพวกเขา

     แล้วเราก็ได้ทำลายพวกเขา เนื่องด้วยความผิดของพวกเขา และเราได้ให้วงศ์วานฟิรฺเอาน์จมน้ำตาย และทั้งหมดนั้นพวกเขาเป็นผู้อธรรม

(อัล-อันฟาล  โองการที่ ๕๔ )

 

     كَدَأْبِ آَلِ فِرْعَوْنَ ﴾؛ )  หมายถึง ดังเช่นเรื่องราวการปฏิบัติและแนวทางของพวกเขา, คือแนวพวกปฏิเสธชาวกุเรซรวมถึงบรรดาผู้ที่มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับเขาเหล่านั้น คือการปฏิเสธต่อความโปรดปรานของอัลลอฮฺ พระองค์จึงทรงให้การลงโทษชนิดต่างๆ ประสบกับพวกเขา, ทรงเปลี่ยนความโปรดปรานที่เคยให้แก่พวกเขา, ได้มีบางรายงานระบุว่า 

 

( إِنَّ اللَّهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ )  

 

แท้จริง อัลลอฮฺจะมิทรงเปลียนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง

(อัรเราะอฺดฺ โองการที่ ๑๑ )

 

          อัลลอฮฺทรงวิวรณ์แก่นบีท่านหนึ่งในบรรดานบีของบนีอิสรออีลว่า เจ้าจงกล่าวแก่กลุ่มชนของเจ้าว่า แท้จริงจะไม่มีหมู่ชนของหมู่บ้านใดที่พวกเขาตั้งอยู่บนการเชื่อฟังอัลลอฮฺ แล้วพวกเขาก็เปลี่ยนไปสู่การฝ่าฝืนพระองค์ เว้นแต่พระองค์จะทรงเปลี่ยนแก่พวกเขาซึ่งสิ่งที่พวกเขาชอบ ไปสู่สิ่งที่พวกเขาเกลียด, แล้วเขา (นบีท่านนั้น) ก็กล่าวว่า สิ่งที่ยืนยันเรื่องดังกล่าวในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ 

 

( إِنَّ اللَّهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ  ) 

 

แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลียนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง

(อัรเราะอฺดฺ โองการที่ ๑๑ )

 

 

     เชค อับดุลอาซีซ บินบาซ ได้ระบุในการอรรถาธิบาย ดำรัสของอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งยิ่ง 

 

( إِنَّ اللَّهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ  )

 

          เป็นโองการที่ยิ่งใหญ่ ที่บ่งว่าพระองค์อัลลอฮฺ ด้วยความสมบูรณ์ ความเที่ยงธรรม และฮิกมะฮฺของพระองค์ พระองค์จะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ของกลุ่มชนใด เปลี่ยนจากสิ่งที่ดีสู่สิ่งที่เลวร้าย, หรือจากสิ่งที่เลวร้ายสู่สิ่งที่ดี, จากความสุขสบายสู่ความยากลำบาก, หรือจากความยากลำบากสู่ความสุขสบาย จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพวกเขา, ดังนั้นเมื่อเคยประพฤติดีแต่กลับเปลี่ยนไป, อัลลอฮฺก็จะทรงเปลี่ยนให้พวกเขาประสบกับการลงโทษ ความทุกข์ยาก ความแห้งแล้ง และการแตกแยกกัน, รวมถึงการลงโทษชนิดต่างๆอื่นจากที่กล่าวมานี้, โดยเป็นการตอบแทนอย่างสาสม,

 

 อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( وَمَا رَبُّكَ بِظَلامٍ لِلْعَبِيدِ )     “และพระเจ้าของเจ้านั้นมิทรงอธรรมต่อปวงบ่าวของพระองค์

(ฟุศศิลัต  โองการที่ ๔๖ )

  

          บางครั้งพระองค์ทรงให้การลงโทษล่าช้าออกไปแก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะกลับตัว (และเมื่อพวกเขาไม่กลับตัว) พระองค์จึงทรงให้การลงโทษมาประสบในขณะที่พวกเขาเผลอไผล, ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( فَلَمَّا نَسُوا مَا ذُكِّرُوا بِهِ فَتَحْنَا عَلَيْهِمْ أَبْوَابَ كُلِّ شَيْءٍ حَتَّى إِذَا فَرِحُوا بِمَا أُوتُوا أَخَذْنَاهُمْ بَغْتَةً فَإِذَا هُمْ مُبْلِسُونَ )

 

ครั้นเมื่อพวกเขาลืมสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนให้รำลึกในสิ่งนั้น เราก็เปิดให้แก่พวกเขา ซึ่งบรรดาประตูของทุกสิ่ง

จนกระทั่งเมื่อพวกเขาระเริงต่อสิ่งที่พวกเขาได้รับ เราก็ลงโทษพวกเขาโดยกระทันหัน แล้วทันใดนั้นพวกเขาก็หมดหวัง

(อัล-อันอาม  โองการที่ ๔๔ )

 

     หมายถึง ลุ่มหลงไปกับความสุขสบายที่ได้รับ,    -เราขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากการลงโทษของพระองค์-. 

     บางครั้งพระองค์ทรงประวิงการลงโทษให้ประสบกับพวกเขาในวันกิยามะฮฺ ก็จะเป็นการลงโทษที่รุนแรงยิ่ง,

     ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( وَلا تَحْسَبَنَّ اللَّهَ غَافِلًا عَمَّا يَعْمَلُ الظَّالِمُونَ إِنَّمَا يُؤَخِّرُهُمْ لِيَوْمٍ تَشْخَصُ فِيهِ الْأَبْصَارُ ﴾ [إبراهيم: 42]. )

 

และจงอย่าคิดว่าอัลลอฮฺทรงละเลยต่อสิ่งที่พวกอธรรมปฏิบัติ

แท้จริงพระองค์ทรงประวิงเวลาให้พวกเขา จนถึงวันที่สายตาเงยจ้องไม่กระพริบ (วันกิยามะฮฺ)”

(อิบรอฮีม  โองการที่ ๔๒ )

 

         หมายถึง การลงโทษได้ถูกให้ล่าช้าออกไปจนถึงช่วงเวลาหลังจากที่เสียชีวิตแล้ว, นั่นคือการลงโทษที่หนักหน่วงและรุนแรงยิ่ง 

       และในบางครั้งพวกเขาใช้ชีวิตอยู่กับความเลวร้ายเคราะห์กรรมและการฝ่าฝืน แล้วพวกเขาได้กลับเนื้อกลับตัวต่ออัลลอฮฺหันกลับสู่พระองค์ มีความเศร้าเสียใจ (ในสิ่งที่เคยกระทำมา) และพวกเขายืนหยัดบนการเชื่อฟังพระองค์, อัลลอฮฺจึงทรงเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ของพวกเขาจากความแตกแยก ความลำบากยากแค้นสู่ความผาสุกความโปรดปราน, ความสามัคคีและความเป็นอยู่ที่ดี ด้วยเหตุแห่งการทำดีและการสำนึกผิดกลับตัวต่ออัลลอฮฺของพวกเขา, แท้จริงได้มีในโองการอื่นๆ ว่า  

 

( ذَلِكَ بِأَنَّ اللَّهَ لَمْ يَكُ مُغَيِّرًا نِعْمَةً أَنْعَمَهَا عَلَى قَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ )

 

นั่นก็เพราะว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงเป็นผู้เปลี่ยนแปลงความกรุณาใดๆ ที่พระองค์ทรงประทานแก่กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใด

จนกว่าพวกเขาจะได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ในตัวของพวกเขาเอง

( อัล-อัมฟาล  โองการที่ ๕๓ )

 

       พระองค์อัลลอฮฺ ทรงมีฮิกมะฮฺอันล้ำลึกในเรื่องดังกล่าวนี้, ดังนั้นสิ่งใดที่พระองค์ทรงประทานให้ก็ด้วยกับความเมตตาของพระองค์, สิ่งที่พระองค์ประทานให้จากความดี ความโปรดปราน, ดังกล่าวนั้นก็ด้วยความกรุณาของพระองค์, ส่วนการลงโทษที่มาประสบ การเปลี่ยนจากสภาพการณ์ที่ดีสู่สภาพการณ์อันเลวร้าย ก็ด้วยกับเหตุแห่งบาปและความผิดของเขาเหล่านั้น, และหากพระองค์ไม่ทรงยับยั้งไว้การลงโทษที่ประสบกับพวกเขาย่อมมากมายกว่านั้นอีก, พระองค์ตรัสว่า 

 

( وَلَوْ يُؤَاخِذُ اللَّهُ النَّاسَ بِمَا كَسَبُوا مَا تَرَكَ عَلَى ظَهْرِهَا مِنْ دَابَّةٍ )

 

     “และหากอัลลอฮฺจะทรงเอาโทษมนุษย์ตามที่พวกเขาได้ขวนขวายเอาไว้แล้ว พระองค์จะไม่ทรงให้เหลือไว้บนหน้าแผ่นดินซึ่งสัตว์โลกต่างๆ”  

(ฟาฏิร  โองการที่ ๔๕ )

 สิ้นสุดคำพูดของท่านเชค ร่อฮิมะฮุลลอฮ์

  

 

     ปราชญ์บางท่านได้ให้ข้อสังเกตุอันลึกซึ้งที่โองการนี้ได้บ่งถึง, 

 

ดังที่อิหม่าม อิบนุ อะฏียะฮฺ ได้กล่าวไว้ 

 

          นั่นคือการที่อัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ความสุขสบาย ความสงบสุขของกลุ่มชนใดสู่สภาพความเป็นอยู่ที่ตรงกันข้าม เว้นแต่ด้วยเหตุแห่งความผิดของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นในระดับบุคคลหรือโดยภาพรวม โดยที่การทำผิดและฝ่าฝืนได้เกิดขึ้นในหมู่พวกเขา, แล้วพวกเขาก็ไม่ปรับเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นทั้งๆ ที่มีความสามารถกระทำได้, ซึ่งตัวบทหลักฐานโดยรวมและหลักการในบทบัญญัติศาสนาได้บ่งบอกถึงสิ่งเหล่านี้, ดังเช่นคำถามที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฏิยัลรอฮุอันฮุ ถามท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอละยฮิวะซัลลัม

 

     حين قالت له: يا رسول الله، أنَهْلك وفينا الصالحون؟ قال: ((نعم، إذا كثُر الخبث)) 

 

     ขณะที่นางถามท่านนบีว่า โอ้ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ, พวกเราจะพินาศทั้งๆ ที่ในหมู่พวกเรามีบรรดาผู้ประพฤติดีกระนั้นหรือ ?

     ท่านนบีตอบว่า (ใช่แล้ว, เมื่อความชั่วมีมากเมื่อนั้นการลงทัณฑ์จะประสบกับทั้งคนดีและไม่ดี, คนไม่ดี คนที่กระทำผิดอันเนื่องจากสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป, ส่วนคนดีเนื่องจากการนิ่งเงียบต่อความผิดและไม่พยายามยับยั้งเปลี่ยนแปลงมัน, 

 

     เช่นเดียวกันคำกล่าวของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอละยฮิวะซัลลัม 

  

((إنه ما من قوم يُعمَل فيهم بالمعاصي وهم قادرون على تغييرها، إلا أوشك الله أن يعمَّهم الله بعقاب)) 

 

     แท้จริงไม่มีกลุ่มชนใดที่การฝ่าฝืนได้ถูกกระทำขึ้นในหมู่พวกเขา โดยที่พวกเขามีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงมันได้, นอกจากอัลลอฮฺทรงเกือบที่จะทำให้การลงโทษของพระองค์ประสบกับพวกเขาทั้งหมด

 

          และนี่คือสิ่งที่บ่งบอกอย่างชัดเจน  -พี่น้องผู้มีเกียรติทั้งหลาย-   ว่าสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องรูสึกสำนึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺและปกปักษ์รักษาความโปรดปรานเหล่านั้นให้คงอยู่ถาวร , ด้วยกับการขอบคุณในสิ่งเหล่านั้น, ขอบคุณต่อผู้ประทานให้ และใช้สิ่งเหล่านั้นไปในหนทางที่พระองค์ทรงชอบ, พร้อมๆ กับการระวังการกุฟรฺ ไม่รู้จักบุญคุณหรือใช้มันไปในหนทางที่พระองค์ทรงกริ้วโกรธ 

 

          ความโปรดปรานเมื่อมันหมดไปจากชนกลุ่มใดแล้วเป็นไปได้น้อยมากที่มันจะกลับมายังพวกเขาอีกครั้ง, ความเป็นปรกติสุขจะยังคงอยู่ด้วยกับการขอบคุณ, และจะหมดไปด้วยกับการเนรคุณ, 

 

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( لَئِنْ شَكَرْتُمْ لَأَزِيدَنَّكُمْ وَلَئِنْ كَفَرْتُمْ إِنَّ عَذَابِي لَشَدِيدٌ )

 

หากพวกเจ้าขอบคุณ ข้าก็จะเพิ่มพูนให้แก่พวกเจ้า และหากพวกเจ้าเนรคุณ แท้จริงการลงโทษของข้านั้นสาหัสยิ่ง 

(อับรอฮีม  โองการที่ ๗ )

  

الحمد لله رب العالمين، الرحمن الرحيم، مالك يوم الدين، وصلى الله وسلم على عبد الله ورسوله نبينا محمد صلى الله عليه وعلى آله وأصحابه وأتباعه بإحسانٍ إلى يوم الدين. 

  

أمَّا بعدُ: 

 

         บรรดามุอฺมินผู้ศรัทธาทั้งหลาย  ผู้ที่พิจารณาสภาพการณ์ปัจจุบันของโลกอิสลาม ย่อมมีแววตาอันเศร้าหมองต่อเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นกับประเทศมุสลิม, การหลั่งเลือด การเข่นฆ่าผู้คน ไม่คำนึงถึงศักดิศรีความเป็นมนุษย์, ไม่คำนึงถึงสิทธิ, รวมถึงเคราะห์กรรมอันใหญ่หลวงอื่นๆที่เกิดขึ้น, ม่ต้องสงสัยว่าสภาพการณ์เช่นนี้ก็ด้วยเหตุแห่งการละเลยแนวทางที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะให้มีแก่ปวงบ่าว ละเลยต่กการเชื่อฟังพระองค์ และการดำรงอยู่บนบทบัญญัติและแนวทางที่พระองค์ทรงประสงค์ให้มีแก่พวกเขา, พวกเขาจึงแตกแยกกันทั้งๆ ที่จำเป็นจะต้องสามัคคีกัน, ความผิด การฝ่าฝืนรูปแบบต่างๆ กลายเป็นที่แพร่หลาย, กระทั่งลุกลามกลายเป็นการเข่นฆ่าและทำสงครามระหว่างกัน, ไม่สนใจคำบัญชาใช้ของอัลลอฮฺและร่อซู้ลของพระองค์ เมื่อนั้นย่อมจะไม่มีทางออกจากสภาพการณ์เช่นนี้ได้นอกจากจะต้องกลับสู่การยึดมั่นในคัมภีร์ของอัลลอฮฺและแนวทางของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอละยฮิวะซัลลัม 

 

          และความจำเป็นสำหรับพวกเราทุกคน  พี่น้องผู้มีเกียรติทั้งหลาย คือการมองความโปรดปรานว่ามันคือความกรุณาที่มาจากอัลลอฮฺ, และการมีผู้คนที่ประพฤติดี เร่งรีบสู่ความดีต่อตัวพวกเขาเองและผู้อื่นนั้น, ทำให้อัลลอฮฺทรงรักษาความโปรดปรานให้คงอยู่และผลักดันการลงโทษให้ออกไป, เพราะสำหรับอัลลอฮฺแล้วไม่มีผู้ใดมีความเกี่ยวข้องกับพระองค์ด้านเชื้อสาย, แท้จริงมันคือการฏออัตเชื่อฟังที่จะได้รับรางวัลการตอบแทน หรือบาปความผิดที่จะนำมาซึ่งการลงโทษ 

 

          และความโปรดปรานที่มาจากพระองค์ หากได้รับการขอบคุณก็จะคงอยู่ แต่หากถูกเนรคุณก็จะหมดไป

     อัลลอฮฺตรัสว่า 

 

( وَلَوْ أَنَّ أَهْلَ الْقُرَى آمَنُوا وَاتَّقَوْا لَفَتَحْنَا عَلَيْهِمْ بَرَكَاتٍ مِنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ وَلَكِنْ كَذَّبُوا فَأَخَذْنَاهُمْ بِمَا كَانُوا يَكْسِبُونَ  )

 

     และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธากันและมีความยำเกรงแล้วไซร้ แน่นอนเราก็เปิดให้แก่พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาความเพิ่มพูนจากฟ้าฟ้า และแผ่นดิน

     แต่ทว่าพวกเขาปฏิเสธ ดังนั้น เราจึงได้ลงโทษพวกเขา เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาขวนขวายไว้”  

(อัล-อะอฺรอฟ  โองการที่ ๙๖ )

 

( وَعَدَ اللَّهُ الَّذِينَ آمَنُوا مِنْكُمْ وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ لَيَسْتَخْلِفَنَّهُمْ فِي الْأَرْضِ كَمَا اسْتَخْلَفَ الَّذِينَ مِنْ قَبْلِهِمْ وَلَيُمَكِّنَنَّ لَهُمْ دِينَهُمُ الَّذِي ارْتَضَى لَهُمْ وَلَيُبَدِّلَنَّهُمْ مِنْ بَعْدِ خَوْفِهِمْ أَمْنًا يَعْبُدُونَنِي لَا يُشْرِكُونَ بِي شَيْئًا وَمَنْ كَفَرَ بَعْدَ ذَلِكَ فَأُولَئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ ) 

 

     “อัลลอฮฺทรงสัญญากับบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้กระทำความดีทั้งหลายว่า 

     แน่นอนพระองค์จะทรงให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบช่วงในแผ่นดิน เสมือนดังที่พระองค์ทรงให้บรรดาชนก่อนพวกเขา เป็นตัวแทนสืบช่วงมาก่อนแล้ว 

     และพระองค์จะทรงทำให้ศาสนาของพวกเขา ซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานเป็นที่มั่นคงเป็นเกียรติแก่พวกเขา

     และแน่นอนพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาได้รับความปลอดภัย หลังจากความกลัวของพวกเขา 

     โดยที่พวกเขาจะต้องเคารพภักดีข้า ไม่ตั้งภาคีอื่นใดต่อข้า และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาหลังจากนั้น ชนเหล่านั้นพวกเขาคือผู้ฝ่าฝืน” 

( อันนูร  โองการที่ ๕๕ )