องค์ประกอบการซื้อขาย
  จำนวนคนเข้าชม  60

องค์ประกอบการซื้อขาย

 

อ.อับดุลวาเฮด สุคนธา....เรียบเรียง

 

หลักฐานจากอัลกุรฺอาน

 

     อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

( وَأَحَلَّ اللَّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا )

 

"และอัลลอฮฺทรงอนุมัติการซื้อขาย และทรงห้ามริบา(ดอกเบี้ย)"

 

(อัล-บะเกาะเราะฮฺ 275)

 

หลักฐานจากอัล-หะดีษ

 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถูกถามว่า

(الْكَسْبِ أَطْيَبُ فَقَالَ:عَمَلُ الرَّجُلِ بِيَدهِ ، وَكُلُّ بَيْعٍ مَبْرُوْرٍ)

 

“การประกอบอาชีพอันใดเล่าที่ดีที่สุด ? 

ท่านนบี ตอบว่า : คือ การที่บุคคลทำงานด้วยมือของเขาเอง และทุกๆ การซื้อขายที่ดี”

 (บันทึกโดยหะกิม ตัรฆีบ ตัรฮิบ)

 

     และหะดีษที่รายงานจาก ซุบัยร์ อิบนุ อัลเอาวาม จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

(لأَنْ يَأْ خُذَأَحَدُكُمْ حَبْلَهُ ، فَيَأْتِيْ بِحُزْمَةِالْحَطَبِ عَلٰى ظَهْرِه ، فَيَبِيْعَهَا فَيَكُفَّ اللهُ بِهَاوَجْهَهُ خَيْرٌلَهُ مِنْ أَنْ يَسْأَلَ الَّنَاس ، أَعْطَوه أَوْمَنَعُوْهُ)

 

     “การที่ผู้หนึ่งในหมู่พวกท่านจะเอาเชือกของเขา แล้วเขาก็นำมาด้วยมัดฟืนบนหลังของเขา อันเป็นเหตุให้เขาขายมัดฟืนนั้น

     และเป็นเหตุให้อัลลอฮฺทรงรักษาใบหน้าของเขานั่นย่อมเป็นการดีที่สุดสำหรับเขาผู้นั้น แทนที่เขาจะไปเที่ยวขอผู้คน ไม่ว่าผู้คนจะให้เขาหรือไม่ให้ก็ตามที” 

(บันทึกโดยบุคอรีย์)

 

     จากท่าน อัลมิกดาด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า

 

«مَا أَكَلَ أَحَدٌ طَعَامًا قَطُّ خَيْرًا مِنْ أَنْ يَأْكُلَ مِنْ عَمَلِ يَدِهِ، وَإِنَّ نَبِيَّ اللهِ دَاوُدَ عَلَيْهِ السَّلاَم كَانَ يَأْكُلُ مِنْ عَمَلِ يَدِهِ»

 

“ไม่มีผู้ใดทานอาหารคนใดที่จะดีกว่าผู้ที่ทานอาหารที่ได้จากการทำงานด้วยมือของเขาเอง 

และแท้จริงท่านนบีของอัลลอฮฺ ดาวูด อะลัยหิสสะลาม ท่านจะทานอาหารที่ได้จากการทำงานด้วยมือของท่านเอง” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์)

 

สิ่งต้องห้ามในบัญญัติศาสนามี 2 ประเภท

 

     - สิ่งต้องห้ามที่เป็นวัตถุ เช่น ซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกร สิ่งที่น่ารังเกียจ และสิ่งที่สกปรกต่างๆ

     - สิ่งต้องห้ามที่เป็นการกระทำ เช่น ริบา (ดอกเบี้ย) การพนัน การกักตุนสินค้า การทุจริต การค้าขายที่เสี่ยงต่อความหายนะ และอื่นๆ ที่เป็น การอธรรม และกินทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบ

 

องค์ประกอบการซื้อขาย

 

- ผู้ขายและผู้ซื้อ

- สินค้า

- ราคาสินค้า

- การเสนอขายและการสนองรับ

 

 

     ข้อหนึ่ง การขายสินค้าที่ต้องห้าม(หะรอม)

     เช่น สุรา เบียร์ บุหรี่ เนื้อสุกร หรือหนังสือตำราวิชาไสยศาสตร์หรือตำราเวทมนตร์และตำราเกี่ยวกับการตั้งภาคีหรือเครื่องดนตรีต่างๆ

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

إنَّ اللَّهَ إذا حرَّمَ شيئًا حرَّمَ ثمنَهُ

 

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงห้ามสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น ราคาของมันก็เป็นที่ต้องห้ามเช่นกัน”

( บันทึกโดนอิบนุ หิบบาน)

 

 

     ข้อที่สอง การขายสินค้าในลักษณะที่ไม่รู้ (ลักษณะของสินค้า เช่น จำนวน รูปทรง ปริมาณ)

     เช่น บอกว่า ฉันจะขายของที่อยู่ในกระเป๋าใบนี้ ซึ่งเขาไม่รู้เลยว่ามีอะไรอยู่ในเป๋าใบนี้บ้าง หรือบอกว่า ฉันจะขายรถคันนี้ ซึ่งไม่กำหนดหรือบอกว่า รูปลักษณะ สีเป็นแบบใหน ซึ่งที่มันมีผลกับราคาของรถ การขายในรูปแบบนี้ถือต้องห้าม เพราะจะนำไปสู่การหลอกหลวงฉ้อโกงและทะเลาะวิวาท

     เมื่อท่านขายสินค้าอะไรก็ตาม จำเป็นจะต้องบอกถึงรูปลักษณะของสินค้านั้น จนกระทั้งหากสินค้านั้นมีตำหนิ มันจะมีผลต่อราคา และจำเป็นเลยที่จะต้อง อธิบาย ชี้แจง และ รายละเอียดสินค้าที่มีตำหนินั้น เพราะว่าการฉ้อโกงนั้นบาป ต้องห้ามอย่างแน่นอน

 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ غَشَّنَا فَلَيْسَ مِنَّا

 

“ใครก็ตามที่ทำการทุจริตกับเรา เขาผู้นั้นไม่ใช่พรรคพวกของเรา” 

(บันทึกโดย มุสลิม)

 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

البَيِّعانِ بالخِيارِ ما لَمْ يَتَفَرَّقا -أوْ قالَ: حتَّى يَتَفَرَّقا- فإنْ صَدَقا وبَيَّنا بُورِكَ لهما في بَيْعِهِما، وإنْ كَتَما وكَذَبا مُحِقَتْ بَرَكَةُ بَيْعِهِما

 

     “ผู้ชื้อและผู้ขาย จะต้องให้มีการเลือกสินค้ากันได้ตราบใดที่ยังไม่ตกลงกัน ยังไม่แยกกันไป

     ถ้าหากทั้งสองมีสัจจะและนำเสนออย่างเปิดเผย การซื้อขายของทั้งสองก็จะมีศิริมงคล(บารอกัต)  

     แต่ถ้าหากทั้งปกปิดและกล่าวเท็จ การซื้อขายของทั้งสองนั้นก็จะไม่มีศิริมงคล(บารอกัต)” 

(บันทึกโดย บุคอรีย์และมุสลิม)

 

 

     ข้อที่สาม ไม่อนุญาตให้ขายสินค้าที่อนุมัติ(หะลาล) เมื่อคนขายทราบว่าผู้ชื้อนั้นเอาให้ช่วยเหลือสนับสนุนในสิ่งที่ต้องห้าม(หะรอม) 

     เช่น ขายองุ่นซึ่งเราทราบอยู่แล้วว่าเขาจะเอาไปเหล้าสุรา เบียร์ หรือขายอาวุธ ซึ่งเรารู้ว่าเขาเอาไปใช้ละเมิดอธรรม (ทำร้าย ฆ่า) ต่อชีวิตคนอื่นที่ต้องห้าม หรือเช่าร้าน สถานที่ แล้วเรารู้ว่าเขาเอาไปใช้ในการขายเหล้าหรือเอาไปใช้กระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ

     อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

وَتَعَاوَنُوا عَلَى الْبِرِّ وَالتَّقْوَى وَلا تَعَاوَنُوا عَلَى الْإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ

 

“และพวกจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรม และความยำเกรง และจงอย่าช่วยกันในสิ่งที่เป็นบาป และเป็นศัตรูกัน”

 (อัล-มาอิดะฮฺ : 2)

 

 

     ข้อที่สี่ ไม่อนุญาตทำการแย่งซื้อแย่งขาย (ซื้อขายตัดหน้ากัน) กับพี่น้องมุสลิมด้วยกัน และก็ไม่อนุญาตที่จะขายสินค้าของเขาถูกกว่าที่เขาชื้อมา (ของเหมือนกัน) 

     อย่างเช่น เมื่อท่านเห็นบุคคลหนึ่งชื้อสินค้าชิ้นหนึ่งด้วยกับราคา สิบ ดิรฮัม เช่นกันไม่อนุญาตแก่ท่านจะไปบอกว่า ฉันจะขายให้ท่านในราคาที่ถูกกว่านี้เพราะการกระทำแบบนี้จะนำไปสู่การคืนสินค้านั้นแก่ผู้ขายคนแรกแล้วเขาจะมาชื้อสินค้าของท่านแทน และจะทำให้การทะเลาะวิวาทระหว่างเขากับผู้ขายด้วยกันและคนขายคนที่หนึ่งกับคนขายที่สอง

     ดังนั้นเรื่องของการชื้อขายเมื่อใครก็ตามจะขายสินค้าให้กับพี่น้องของเขา ก็ไม่อนุญาตไปบอกว่า ท่านไปเอาสินค้าไปคืน เดี่ยวฉันจะให้ราคามากกว่าที่ท่านไปขายให้กับคนนั้นอีก เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นการเปิดประตูที่จะนำไปสู่ความทะเลาะวิวาทบาดหมางระหว่างผู้ศรัทธาด้วยกันเอง

 

 

     ข้อห้า จะต้องสินค้าต้องมีอยู่แล้วหรืออยู่ในครอบครองขณะทำข้อตกลงซื้อขาย ศาสนาไม่อนุมัติให้ขายสินค้าที่ยังไม่มี 

     เช่น ขายผลไม้ที่ยังยังไม่ออกผล ปลาอยู่ในน้ำ นกอยู่ในอากาศ หรือขายลูกสัตว์ที่แม่ของมันจะตั้งท้อง ขายลูกสัตว์ที่แม่ของมันกำลังตั้งท้องอยู่ หรือขายน้ำนมที่มีอยู่ในเต้านม เป็นต้น 

      เนื่องจากมีหลักฐานจากอัลหะดีษระบุว่า

 

 (لاَتَبِعْ مَالَيْسَ عِنْدَكَ)   “ท่านอย่าขายสิ่งที่ไม่มี ณ ที่ท่าน” 

(รายงานโดย อบูดาวูด)

 

 

      ข้อที่หก ดอกเบี้ย ในอิสลามถือว่า หะรอม ต้องห้าม มันคือหนึ่งในบาปใหญ่

     อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

( وَأَحَلَّ اللَّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا )

 

"และอัลลอฮฺทรงอนุมัติการซื้อขาย และทรงห้ามริบา(ดอกเบี้ย)

(อัล-บะเกาะเราะฮฺ 275)

 

     ดอกเบี้ย คือ ท่านให้เงินจำนวนหนึ่งกับพี่น้องของท่านโดยวางเงื่อนไขว่า จะต้องคืนในจำนวนที่มากกว่าเดิม หรือไปตั้งเงื่อนไขว่า จะต้องคืนในเวลาที่ตกลงกัน หากว่าล่าช้าจากกำหนดเดิมจะต้องจ่ายค่าปรับ คือ จะต้องคืนทั้งเงินและค่าปรับด้วย ทั้งหมดนี้คือ  ดอกเบี้ย  "ระบบการเงินของอิสลามนั้นจะต้องปราศจากดอกเบี้ย"

 

     นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากฮาดิษที่ได้กล่าวโทษเอาไว้อย่างรุนแรง ดังนี้ รายงานจากท่าน ญาบีร กล่าว

 

لَعَنَ رَسولُ اللهِ صَلَّى اللَّهُ عليه وسلَّمَ آكِلَ الرِّبَا، وَمُؤْكِلَهُ، وَكَاتِبَهُ، وَشَاهِدَيْهِ، وَقالَ: هُمْ سَوَاءٌ.

 

     ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สาปแช่ง  ผู้ที่กินดอกเบี้ย ผู้ให้ ผู้บันทึก และผู้เป็นพยาน (ดอกเบี้ย) ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นผู้ที่ได้รับการสาปแช่งเหมือนกัน” 

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

دِرْهَمُ رِبًا يَأْكُلُهُ الرَّجُلُ وَهُوَ يَعْلَمُ أَشَدُّ مِنْ سِتٍّ وَثَلَاثِينَ زَنْيَةً.

 

     “หนึ่งดิรฮัมที่เป็นดอกเบี้ยชายคนหนึ่งได้กินเข้าไปนั้นมันอันตรายหนักหน่วงและมันมีโทษร้ายแรง การที่เขาไปผิดประเวณีถึง หกสิบสามครั้ง”

(บันทึกฮาดิษโดย อิม่ามอะหมัด)

 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

“ดอกเบี้ยนั้นแบ่งออกเป็น 99 แขนง อย่างต่ำสุดของมันมีโทษร้ายแรง ดังเช่นคนๆหนึ่ง ร่วมเพศกับแม่ของเขา” 

(บันทึกฮาดิษโดยอัดดารุกุฏนีย์)

 

 

     ข้อที่เจ็ด การเอา ของแถมจากร้านค้าต่างๆ ของแถมและรางวัลต่างๆที่บรรดาร้านค้ามอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าของตนที่วางขายถือว่าหะรอม(ต้องห้าม)เพราะมันเป็นการพนัน

     อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

 

«يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنصَابُ وَالأَزْلاَمُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ»

 

     “ “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้น  

     เป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของซัยฎอน  

     ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ”

” (อัล-มาอิดะห์ อายะฮฺที่ 90)

     และการเล่นการพนัน ชื้อหวยถือว่าหะรอม(ต้องห้าม)