บันทึกแห่ง ’สัจธรรม’ 17
  จำนวนคนเข้าชม  183

บันทึกแห่ง ’สัจธรรม’ 17

 

แปลเรียบเรียง...เพจบันทึกฮัก

 

ชัยคฺ ศอและฮฺ อัลอุศ็อยมีย์ -ฮะฟิซ่อฮุลลอฮฺ-

 

     หากท่านอยู่ในฤดูหนาว มีอาหารที่เพียงพอ และมีเสื้อผ้าที่ป้องกันความหนาวเย็นได้ โปรดระลึกถึงและขอดุอาเผื่อผู้ที่ไม่มีในสิ่งที่ท่านมีในหมู่พี่น้องมุสลิม  และจงกล่าวว่า:

(اللَّهمَّ أطْعِمْ جَوعَى المُسلمين، وأَلْبِسْ ضُعَفاءَهم ما يُدْفِئُهُم)

"อัลลอฮุมมะ อัฏอิม เญาอั้ลมุสลิมีน วะอัลบิส ฎุอะฟาอะฮุม มายุดฟิอุฮุม"

     "โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงประทานอาหารแก่ผู้หิวโหยในหมู่มุสลิม และโปรดประทานเสื้อผ้าที่อบอุ่นแก่ผู้ยากไร้ของพวกเขาด้วยเถิด"

١٤ جمادى الآخرة ١٤٤٦

 

 

 

อิบนิ อุษัยมีน -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

     "อัลลอฮ์ ประทานความจำเริญ (บะรอกัต) ในเวลาของมนุษย์ จนเขาสามารถกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จภายในช่วงเวลาอันสั้น

     ในขณะที่ผู้อื่นอาจไม่สามารถกระทำได้แม้มีเวลามากก็ตาม

     และสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ท่านได้รับความจำเริญ คือการขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺในทุกๆการกระทำ 

     โดยทำให้การกระทำของท่านผูกพันกับการขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ เพื่อที่ท่านจะไม่ต้องพึ่งพาตนเอง 

     เพราะหากท่านพึ่งพาตนเอง ท่านจะพึ่งพาต่อสิ่งที่อ่อนแอและไร้ความสามารถ 

     แต่หากอัลลอฮฺทรงช่วยเหลือท่านแล้ว  อย่าถามเลยว่าจะได้รับการงานและความจำเริญมากมายเพียงใด

 شرح حديث جابر في صفة حجة النبي صلى الله عليه وسلم (صـ 144- 145)

 

 

 

ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

     คำว่า "حسبي الله" (ฮัซบิยัลลอฮฺ) ใช้เพื่อปัดเป่าอันตรายและเพื่อนำพาประโยชน์ (ความดี)

     แท้จริงอัลลอฮฺได้กล่าวคำนี้ (حَسْبُنَا اللَّهُ) ในบางอายะฮฺเพื่อ 'ปัดเป่าอันตราย' และในบางอายะฮฺเพื่อ 'นำพาประโยชน์'

ประการแรก (นำพาประโยชน์) : ในคำตรัสของอัลลอฮฺ -ตะอาลา- ที่ว่า :

وَلَوْ أَنَّهُمْ رَضُوا مَا آتَاهُمُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَقَالُوا حَسْبُنَا اللَّهُ سَيُؤْتِينَا اللَّهُ مِن فَضْلِهِ وَرَسُولُهُ إِنَّا إِلَى اللَّهِ رَاغِبُونَ

     "และหากพวกเขาพึงพอใจกับสิ่งที่อัลลอฮฺและร่อซู้ลของพระองค์ได้ประทานแก่พวกเขา

     และกล่าวว่า " حَسْبُنَا اللَّهُ"  อัลลอฮฺและร่อซู้ลของพระองค์จะประทานจากความโปรดปรานของพระองค์แก่เรา" 

(อัตเตาบะฮฺ:59)

ประการที่สอง (ปัดเป่าอันตราย) : ในคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า:

الَّذِينَ قَالَ لَهُمُ النَّاسُ إِنَّ النَّاسَ قَدْ جَمَعُوا لَكُمْ فَاخْشَوْهُمْ فَزَادَهُمْ إِيمَانًا وَقَالُوا حَسْبُنَا اللَّهُ وَنِعْمَ الْوَكِيلُ

     "บรรดาผู้คน ได้กล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงมีผู้คน ได้ชุมนุมสำหรับพวกท่าน ดังนั้นพวกท่านจงกลัวพวกเขาเถิด แล้วมันได้เพิ่มการอีหม่านแก่พวกเขา

     และพวกเขากล่าวว่า -อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ที่พอเพียงแก่เราแล้ว- และเป็นผู้รับมอบหมายที่ดีเยี่ยม"

( อาละอิมรอน:173)

     และในคำตรัสของอัลลอฮฺ:

وَإِن يُرِيدُوا أَن يَخْدَعُوكَ فَإِنَّ حَسْبَكَ اللَّهُ ۚ هُوَ الَّذِي أَيَّدَكَ بِنَصْرِهِ وَبِالْمُؤْمِنِينَ

"และหากพวกเขาปรารถนาที่จะหลอกลวงเจ้า ก็เพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺสำหรับเจ้า พระองค์คือผู้ทรงช่วยเหลือเจ้าด้วยชัยชนะของพระองค์" 

(อัล-อันฟาล:62)

 

 

 

     มีผู้หญิงคนหนึ่งถามอิหม่ามอบูฮานีฟะฮฺว่า: "พระเจ้าที่ท่านเคารพอิบาดะฮฺนั้นอยู่ที่ไหนกัน?"

     ท่านตอบว่า: "อัลลอฮฺผู้ทรงเกียรติและทรงสูงส่ง อยู่บนฟากฟ้า มิได้อยู่บนแผ่นดิน"

     จากนั้นมีชายคนหนึ่งถามว่า:"แล้วคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า : { وهو معكم } {และพระองค์ทรงอยู่กับพวกท่าน} ล่ะ?"

     ท่านตอบว่า:"มันเหมือนกับเมื่อเจ้าส่งจดหมายถึงชายคนหนึ่งว่า 'ข้าอยู่กับเจ้า' ทั้งที่เจ้าไม่ได้อยู่กับเขา"

 الأسماء والصفات للبيهقي (2/337)]

 

 

 

อิบนุ อุษัยมีน -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

     "การช่วยเหลือผู้ถูกอธรรม หมายถึง การช่วยขจัดให้เขาพ้นจากความอธรรมที่เกิดขึ้น หรือป้องกันไม่ให้เขาถูกอธรรม 

ความแตกต่างระหว่าง 'การขจัด' และ 'การป้องกัน' คือ การขจัดจะเกิดขึ้นหลังจากที่ความอธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว 

ส่วนการป้องกันจะมาก่อนที่ความอธรรมจะเกิดขึ้น เช่น หากท่านสังเกตเห็นว่ามีผู้ไม่ยุติธรรมกำลังตั้งใจที่จะอธรรมพี่น้องของท่าน

หน้าที่ของท่านคือต้องช่วยเขาด้วยการป้องกัน เพราะมันเกิดขึ้นก่อนที่ความอธรรมจะเกิด 

แต่หากท่านรู้ว่าเขาถูกอธรรมแล้ว ท่านต้องช่วยเขาด้วยการขจัดหรือหยุดความอธรรม 

เพราะการช่วยเหลือผู้ถูกอธรรมนั้นเป็นหน้าที่จำเป็น" 

 

 

 

อิบนุ กะษีร -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

     อัลลอฮฺตรัสว่า:

(وَعَاشِرُوهُنَّ بالْمَعْرُوفِ)

"และพวกเจ้าจงอยู่ร่วมกับพวกนางด้วยความดีงาม"

     "หมายถึง พวกเจ้าจงกล่าวคำพูดที่ดีต่อพวกนาง  ปฏิบัติการกระทำที่ดีและแสดงกิริยามารยาทที่งดงามต่อพวกนางตามกำลังความสามารถของพวกเจ้า  เช่นเดียวกับที่พวกเจ้าเองต้องการสิ่งนั้นจากพวกนาง"

(تَفسيرُ ابن كَثير) 

 

 

 

อัลฮาฟิซ อิบนุล เญาซีย์ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

     จากท่าน อิบนิ มัสอู้ด -ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ-"ท่านนบี ﷺ ได้กล่าวกับฉันว่า: 'จงอ่าน (อัลกุรอ่าน) ให้ฉันฟัง' 

     ฉันจึงตอบว่า: 'ฉันจะอ่านให้ท่านฟัง ทั้งที่อัลกุรอ่านนั้นถูกประทานแก่ท่านหรือ?' 

     ท่านตอบว่า: 'ฉันชอบที่จะฟังอัลกุรอ่านจากผู้อื่น' 

     ดังนั้น ฉันจึงอ่านซูเราะฮฺอันนิซาอฺให้ท่านฟัง จนกระทั่งฉันอ่านถึงอายะฮฺที่ว่า:

 {فَكَيْفَ إِذَا جِئْنَا مِنْ كُلِّ أُمَّةٍ بِشَهِيدٍ وَجِئْنَا بِكَ عَلَى هَؤُلَاءِ شَهِيدًا} [النساء: 

'แล้วจะเป็นเช่นไร เมื่อเรานำพยานจากทุกประชาชาติ และนำตัวเจ้ามาเป็นพยานต่อคนเหล่านี้' 

(อันนิซาอฺ41)

     ท่านจึงกล่าวว่า: 'พอแล้ว'  และปรากฏว่าดวงตาของท่านเอ่อนองไปด้วยน้ำตา"

(บันทึกโดย บุคอรีย์/4582 และ มุสลิม/800)

 

อัลฮาฟิซ อิบนุล เญาซีย์ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ- กล่าวว่า:

     "แท้จริง ท่านนบี  ﷺ ได้ร้องไห้เมื่อได้ยินอายะฮฺนี้ เพราะเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องเป็นพยาน

     และการตัดสินต่อผู้ที่ถูกเป็นพยานนั้นเกิดขึ้นจากคำพูดของพยานเอง (หมายถึงคำให้การของท่านนบีﷺ ในฐานะพยานนั้นจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการตัดสิน)

     และเมื่อท่านเป็นทั้งพยานและผู้ขอชะฟาอะฮฺ (ขออภัยโทษ) ให้แก่ประชาชาติ 

     ท่านจึงร้องไห้เพราะสงสารผู้ที่ละเลยและประมาทเลินเล่อในหน้าที่ของพวกเขา"

 

 

 

     ท่านร่อซู้ล ﷺ กล่าวว่า:"โอ้อบูบักร!! การทำชิริกนั้นซ่อนเร้นยิ่งกว่าเสียงเดินของมดเสียอีก

     ขอสาบานต่อผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ การทำชิริกนั้นซ่อนเร้นยิ่งกว่าเสียงเดินของมดเสียอีก

     เอามั้ยฉันจะบอกท่านถึงสิ่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อท่านได้ปฏิบัติมันแล้ว จะลบล้างชิริกออกจากตัวท่านไม่ว่าจะน้อยหรือจะมากก็ตาม?

     ท่านจงกล่าวเถิดว่า:

اللهمَّ إني أعوذُ بك أنْ أُشرِكَ بِك و أنا أعْلَمُ ، و أستغفرُك لِما لا أعلمُ

"อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุ บิกะ อัน อุชริกะ บิกะ วะอะนะ อะอฺละมุ วะอัสตัฆฟิรุกะ ลิมา ลาอะลัม"

"โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากท่าน  ให้พ้นจากการทำชิริกต่อท่านในขณะที่ข้าพระองค์รับรู้

และขออภัยโทษต่อท่านในสิ่งที่ข้าพระองค์ไม่รู้"

صحيح الأدب المفرد

 

 

 

     "ประเด็นเล็กๆ น้อยๆ (ที่ควรให้ความสำคัญ) คือ การที่คนเราตำหนิตัวเองต่อหน้าผู้อื่น  โดยมีเจตนาแสดงให้เห็นว่าตัวเองถ่อมตน แต่กลับส่งผลให้เขาดูสูงส่งในสายตาคนอื่น และได้รับคำชื่นชม นี่คือหนึ่งในประตูแห่งความโอ้อวดที่แยบยลที่สุด 

     บรรดาสลัฟได้เคยเตือนเรื่องนี้ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยที่ ท่าน มุฏ็อรริฟ อิบนิ อับดุลลอฮฺ อิบนิ อัชชิคคีร กล่าวว่า: 

     "เพียงพอแล้วที่จิตใจจะโอ้อวด ด้วยการที่เขาตำหนิตัวเองในที่สาธารณะ  โดยเหมือนกับว่าการตำหนิตัวเองนั้นกลายเป็นการเสริมความงดงามให้แก่ตัวเอง  และเรื่องนี้ถือเป็นความโง่เขลาในสายตาของอัลลอฮฺ"

 

         ให้เราตรวจสอบเจตนาและการกระทำของตัวเองอยู่เสมอ ว่าการตำหนิตัวเองหรือแสดงความถ่อมตนต่อหน้าผู้อื่นนั้น ทำไปเพื่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง หรือแค่แสวงหาคำชมจากมนุษย์

 

 

 

๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕