ฝากสลามถึงนบีขณะท่านเสียชีวิตไปแล้ว
  จำนวนคนเข้าชม  113

ฝากสลามถึงนบีขณะท่านเสียชีวิตไปแล้ว

 

อ.อิสหาก พงษ์มณี

 

     จากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ มัสอูด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า:

 

عن عبدِ اللهِ بنِ مَسعودٍ رَضِيَ اللهُ عنه قال: قال رَسولُ اللهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: ((إنَّ لله مَلائِكةً سيَّاحين في الأرضِ يُبَلِّغوني من أمَّتي السَّلامَ  )) 

.أخرجه النسائي (1282) واللفظ له، وأحمد (3666). صَحَّحه ابن حبان في ((صحيحه)) (914)، وابن باز في ((مجموع الفتاوى)) (9/311)، والألباني في ((صحيح سنن النسائي)) (1282)، والوادعي على شرط مسلم في ((الصحيح المسند)) (885).

 

“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีมะลาอิกะฮ์ที่ออกเดินทางไปทั่วแผ่นดิน พวกเขาจะถ่ายทอดสะลามจากประชาชาติของฉันมายังฉัน”

 

     อัลมัซฮะรีย์ กล่าวว่า:

 

قال المظهري: (يعني: إنَّ اللهَ تعالى أرسل مَلائِكةً على وَجهِ الأرضِ؛ حتى يخبروني عمَّن صَلَّى أو سَلَّم عَلَيَّ) يُنظر:

 ((المفاتيح في شرح المصابيح)) (2/ 163)

 

     “หมายความว่า อัลลอฮ์ทรงส่งมะลาอิกะฮ์ไปยังผืนแผ่นดิน เพื่อแจ้งแก่ฉันว่าใครคือผู้ที่กล่าวศอละวาตหรือให้สะลามแก่ฉัน”

 

    อาลี อัลกอรีย์ กล่าวว่า:

 

وقال علي القاري: ( ((إنَّ لله مَلائِكةً)) أي: جماعةً منهم ((سيَّاحين في الأرض)) أي: سَيَّارين بكثرةٍ في ساحةِ الأرضِ... ((يُبَلِّغوني))... أي: يُوصِلون ((من أمَّتي السَّلامَ)) إذا سلَّموا عليَّ قليلًا أو كثيرًا... وفيه... إيماءٌ إلى قَبولِ السَّلامِ؛ حيث قَبِلَتْه المَلائِكةُ وحمَلَتْه إليه عليه السَّلامُ) 

يُنظر: ((مرقاة المفاتيح)) (2/ 743).

 

     “คำว่า ‘แท้จริงอัลลอฮ์มีมะลาอิกะฮ์’ หมายถึง กลุ่มหนึ่งจากหมู่มะลาอิกะฮ์

     ‘ที่ออกเดินทางไปทั่วแผ่นดิน’ หมายถึง มะลาอิกะฮ์ที่เดินทางไปทั่วในผืนแผ่นดินอย่างมาก ‘พวกเขาถ่ายทอดมายังฉัน’ 

     หมายถึง พวกเขานำส่ง...‘สะลามจากประชาชาติของฉัน’ คือ เมื่อใดที่ประชาชาติของฉันให้สะลามไม่ว่าจะมากหรือน้อย… 

     และในหะดีษนี้มีการบ่งบอกถึงการยอมรับสะลาม เพราะมะลาอิกะฮ์รับมันไว้และนำส่งไปยังท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม”

 

     จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า:

 

وعن أبي هُرَيرةَ رَضِيَ اللهُ عنه قال: قال رَسولُ اللهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: ((لا تجعَلوا بُيوتَكم قُبورًا، ولا تجعَلوا قبري عيدًا، وصَلُّوا عليَّ؛ فإنَّ صَلاتَكم تَبلُغُني حيثُ كُنتُم  ))  أ

خرجه أبو داود (2042) واللَّفظُ له، وأحمد (8804). صَحَّحه الألباني في ((صحيح سنن أبي داود)) (2042)، وصَحَّحه لغيره شعيب الأرناؤوط في تخريج ((سنن أبي داود)) (2042)، وحَسَّنه ابن تيمية في ((الإخنائية)) (265)، ومحمد ابن عبد الهادي في ((الصارم المنكي)) (207)، وابن حجر في ((الفتوحات الربانية)) (3/314).

 

     “พวกท่านอย่าเปลี่ยนบ้านของพวกท่านให้กลายเป็นสุสาน และอย่าทำให้หลุมศพของฉันเป็นที่เฉลิมฉลอง และพวกท่านจงกล่าวศอละวาตให้แก่ฉัน เพราะแท้จริงศอละวาตของพวกท่านจะถูกถ่ายทอดถึงฉันไม่ว่าพวกท่านจะอยู่ที่ไหน”

 

     อิบนุลก็อยยิม (ร่อหิมะฮุ้ลลอฮ์) กล่าวว่า ในหนังสือ อัลฟะวาอิด ว่า:

 

قال ابنُ القَيِّمِ في الفوائِدِ والثَّمَراتِ الحاصِلةِ بالصَّلاةِ عليه صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: (الخامِسةُ والثلاثون: أنَّها سَبَبٌ لعَرضِ اسمِ المصَلِّي عليه صلَّى اللهُ عليه وسلَّم، وذِكْرِه عِندَه، كما تقدَّم قَولُه ((إنَّ صلاتَكم معروضةٌ عَلَيَّ))، وقَولُه صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: ((إنَّ اللهَ وكَّل بقبري مَلائِكةً يُبَلِّغوني عن أمَّتي السَّلامَ)) وكفى بالعبدِ نُبلًا أن يُذكَرَ اسمُه بالخيرِ بين يَدَيْ رَسولِ اللهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم!)

 يُنظر: ((جلاء الأفهام)) (ص: 453)

 

     ข้อที่ 35: การกล่าวศอละวาตเป็นเหตุให้ชื่อของผู้กล่าวศอละวาตถูกนำเสนอต่อท่านศาสนทูต และถูกกล่าวถึงต่อหน้าท่าน ดังที่มีหะดีษว่า: 

 

“แท้จริงศอละวาตของพวกท่านถูกนำเสนอต่อฉัน” 

และคำพูดของท่านว่า: 

“แท้จริงอัลลอฮ์ได้มอบหมายมะลาอิกะฮ์ไว้ที่หลุมศพของฉัน ซึ่งพวกเขาจะถ่ายทอดสะลามจากประชาชาติของฉันมายังฉัน”

 

     ซึ่งเพียงพอแล้วสำหรับบ่าวคนหนึ่งที่จะได้รับเกียรติ ด้วยการที่ชื่อของเขาถูกกล่าวถึงด้วยความดีต่อหน้าท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม !

 

     อิบนุอุษัยมีน (ร่อหิมะฮุ้ลลอฮ์) กล่าวว่า:

 

وقال ابنُ عُثَيمين: (قَولُه: ((فإنَّ صَلاتَكم تَبلُغُني حيث كُنتُم))... كيف تَبلُغُه الصَّلاةُ عليه؟

الجوابُ: نقول: إذا جاء مِثلُ هذا النَّصِّ، وهو من أمورِ الغَيبِ؛ فالواجِبُ أن يُقالَ: الكيفُ مجهولٌ لا نعلَمُ بأيِّ وَسيلةٍ تَبلُغُه، لكِنْ ورد عن النَّبيِّ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: ((أنَّ للهِ مَلائِكةً سَيَّاحين في الأرضِ يُبَلِّغوني من أمَّتي السَّلامَ  )) فإن صَحَّ فهذه هي الكيفيَّةُ) 

يُنظر: ((القول المفيد)) (1/ 

 

     คำพูดของท่านนบีว่า: “แท้จริงศอละวาตของพวกท่านจะถูกถ่ายทอดถึงฉัน ไม่ว่าพวกท่านจะอยู่ที่ไหน” แล้วศอละวาตจะไปถึงท่านได้อย่างไร?

 

     คำตอบ:

 

     เมื่อมีรายงานแบบนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของสิ่งเร้นลับ (ฆ็อยบียาต) หน้าที่ของเราคือกล่าวว่า “เราไม่ทราบว่าด้วยวิธีใดมันจะไปถึง” แต่อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากท่านนบีว่า: 

 

“แท้จริงอัลลอฮ์มีมะลาอิกะฮ์ที่ออกเดินทางไปทั่วแผ่นดิน พวกเขาจะถ่ายทอดสะลามจากประชาชาติของฉันมายังฉัน”

 

     หากหะดีษนี้ศ่อฮีห์ ก็สิ่งนี้แหละคือวิธีการที่ศอละวาตไปถึง

 

 

คำฟัตวาจากคณะกรรมถาวรฯ

 

     คณะกรรมการถาวรของนักวิชาการ (اللجنة الدائمة) กล่าวว่า:

     การที่บุคคลหนึ่งให้ผู้อื่นถ่ายทอดความศานติ (สะลาม) แทนตนเองไปยังท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หรือไปยังผู้เสียชีวิตคนอื่น ๆ นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ชอบธรรม (ไม่ใช่สิ่งที่มีหลักฐานรับรองทางศาสนา) แต่เป็น บิดอะฮ์ 

 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า: "แท้จริงทุกๆ บิดอะฮ์คือการหลงทาง และทุกการหลงทางอยู่ในไฟนรก"

 

     ดังนั้น จำเป็นต้องละเว้นการกระทำเช่นนี้ และ ต้องตักเตือนผู้ที่กระทำอยู่ให้รู้ว่าเป็นสิ่งไม่อนุญาต

     และเป็นพระมหากรุณาธิคุณของอัลลอฮ์ที่พระองค์ทรงให้ การให้สะลามของเราต่อท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถูกถ่ายทอดไปถึงท่านไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใด ทั้งทิศตะวันออกหรือตะวันตกของโลก และได้ถูกยืนยันว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า:

 

“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีมะลาอิกะฮ์ที่ออกเดินทางไปทั่วแผ่นดิน พวกเขาถ่ายทอดความศานติจากประชาชาติของฉันมายังฉัน” 

(บันทึกโดยอิมามอะห์หมัด, อันนะซาอีย์ และผู้อื่น)

 

     และท่านกล่าวอีกว่า:

     “วันที่ดีที่สุดของพวกท่านคือวันศุกร์ ดังนั้นจงกล่าวศอละวาตต่อฉันให้มากในวันนี้ เพราะแท้จริงศอละวาตของพวกท่านจะไปถึงฉันไม่ว่าพวกท่านจะอยู่ที่ไหน”

 

     และอีกหะดีษหนึ่งว่า:

 

     “อย่าเปลี่ยนหลุมศพของฉันให้เป็นที่เฉลิมฉลอง (อีด) และอย่าเปลี่ยนบ้านของพวกท่านให้เป็นสุสาน และจงกล่าวศอละวาตแก่ฉัน เพราะแท้จริงศอละวาตของพวกท่านจะไปถึงฉันไม่ว่าพวกท่านจะอยู่ที่ใด”

 

หะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก

 

ลงชื่อโดย:

เชคอับดุลอะซีซ บิน บาซ

เชคอับดุลอะซีซ อาลิ เชค

เชคอับดุลลอฮ์ บิน เฆาะดียาน

เชคศอลิห อัลเฝาซาน

เชคบักร อะบูซัยด์

อ้างอิงจาก: “ฟะตาวา คณะกรรมการถาวร” (เล่มที่ 16 หน้า 29-30)