อัล อะกีดะฮ์ หลักการ และพื้นฐาน
  จำนวนคนเข้าชม  33345

หลักการอิสลาม

หลักการอิสลามตั้งอยู่บนรากฐานห้าประการ  ซึ่งได้ถูกกล่าวถึงในรายงานโดยท่านอิบนุ อุมัรฺ รฎิฯ ว่าท่านนบี   ได้กล่าวว่า


 
(( بني الإسلام على خمسة : على أن يوحد الله – وفي رواية على خمس - : شهادة أن لا إله إلا الله ، وأن محمدا عبده ورسوله ، وإقام الصلاة ، وإيتاء الزكاة ، وصيام رمضان ، والحج )) . فقال رجل : الحج وصيام رمضان ، قال : لا ، صيام رمضان ، والحج ، هكذا سمعته من رسول الله صلى الله عليه وسلم . [ متفق عليه ] واللفظ لمسلم

“อิสลามตั้งอยู่บนหลักห้าประการคือ การทำความภักดีต่ออัลลอฮฺ องค์เดียว การปฎิญานตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรแก่การเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวและมุฮัมมัดคือบ่าวละรสูลของพระองค์ – การดำรงไว้ซึ่งการนมาซ – การจ่ายซะกาต – การถือศีลอดเดือนรอมฏอน – การประกอบพิธีฮัจญ ณ นครมักกะฮฺ  ชายคนหนึ่งได้กล่าวว่า “ไม่ใช่ การประกอบพิธีฮัจญและถือศีลอดรอมฏอน” ท่านกล่าวว่า “ไม่ใช่ ถือศีลอดและฮัจญ์”

ฉันเคยได้ยินท่านรสูล   กล่าวเช่นนี้   มุตตะฟะกุลอลัย เป็นสำนวนของท่านอิมามมุสลิม

1. การปฏิญานตนว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรแก่การเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺและมุฮัมมัดคือบ่าวและรสูลของอัลลอฮฺ” คือการเชื่อมั่นศรัทธาอย่างแน่วแน่โดยกล่าวออกมาด้วยวาจา เสมือนว่าเขาได้เห็นเป็นภาพเช่นที่เขาตั้งใจอย่างแท้จริง คำปฏิญานนี้เป็นหลักการหนึ่งที่ให้พยานไว้หลายประการมากมาย เช่น

          ก. เนื่องจากท่านนบี   เป็นผู้แจ้งข่าวเกี่ยวกับอัลลอฮฺ   ฉะนั้นการยืนยันถึงการเป็นพระเจ้า (อุบูดียะฮฺ) และสาสน์แห่งอิสลามจึงเป็นส่วนประกอบที่สมบูรณ์ ของการปฏิญาณดังกล่าว

          ข. คำปฏิญาณข้างต้น เป็นพื้นฐานความถูกต้องของกิจการงาน หากกิจการใดไม่ถูกต้องจะไม่ถูกยอมรับ นอกจากต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ    และปฏิบัติตามท่านรสูล   เท่านั้น คำปฎิญานนี้จะสามารถบรรลุผลได้ก็ด้วยความบริสุทธ์ใจ ส่วนการปฏิบัติตามท่านรสูล   นั้นจะทำให้การปฎิญานตนที่ว่า มุฮัมมัดเป็นบ่าวและรสูลของพระองค์เกิดความสัมฤทธ์ผลอย่างแท้จริง

ภาคผลของคำปฎิญาน – ชะฮาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่ คือการปลดปล่อยตนจากการเป็นทาสของสรรพสิ่งที่ถูกสร้างทั้งมวล และไม่ปฏิบัติตามผู้อื่นนอกจากบรรดาท่านรสูล    
   
2. การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด  คือการทำความภักดีต่อเอกองค์อัลลอฮฺ    ด้วยกิริยาท่าทางในการนมาซอย่างมั่นคงและสมบูรณ์ในทุกช่วงเวลา

ภาคผลของการละหมาด คือการเปิดจิตใจให้เป็นที่ชื่นชม การละเว้นจากความชั่วร้ายและข้อห้ามต่างๆ
     
3. การบริจาคซะกาต คือการทำความภักดีต่ออัลลอฮฺ   ด้วยความอุสาหะพยายาม ใช้จ่ายทรัพย์สินในส่วนของซะกาตสำหรับผู้มีสิทธิ์รับซะกาต
   

ภาคผลคือ การซักฟอกจิตใจจากความประพฤติเลวทรามต่ำช้า (ความตะหนี่) และอุปสรรค์ ความจำเป็นของอิสลามและบรรดามุสลิม     

4. การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน คือการทำความภักดีต่ออัลลอฮ   ด้วยการละเว้นจากการกิน การดื่มและข้อห้ามอื่นๆในช่วงเวลากลางวันของเดือนรอมฎอน
    

ภาคผลของการถือศีลอดคือ การฝึกจิตใจตนเองให้ละเว้นต่อสิ่งที่ชอบและหวงแหนเพื่อความพึงพอใจของอัลลอฮฺ                           

5. สำหรับการประกอบพิธีฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮฺ คือ การทำความภักดี ต่ออัลลอฮฺ   ด้วยการมุ่งสู่บัยตุลลอฮฺอัลหะรอม ณ นครมักกะฮฺเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์    

             ภาคผลของฮัจญ์ คือ ความพยายามอุสาหะทางด้านทรัพย์สินและร่างกาย เพื่อความยำเกรง เชื่อฟังอัลลอฮฺ   ด้วยเหตุนี้การประกอบพิธีฮัจญจึงถือเป็นการต่อสู้ในหนทางแห่งอัลลอฮฺ   คือ ญิฮาด ชนิดหนึ่ง                          

              ภาคผลที่กล่าวมาข้างต้นตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักเช่นนี้ หลักการเหล่านี้ทำให้ประชาชาติอิสลามเป็นประชาติที่สมบูรณ์ สะอาดบริสุทธิ์  เคารพและศรัทธาศาสนาแห่งสัจธรรมเพื่ออัลลอฮฺ    ปฏิบัติตนต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยความยุติธรรมและสัตย์จริง    เพราะนอกเหนือจากหลักการชะรีอะฮฺ จะถูกต้องด้วยหลักการพื้นฐานข้างต้น ความถูกต้องของสภาพความเป็นอยู่ในประชาชาติมุสลิม ขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการปฏิบัติกิจการศาสนา หากผู้ใดประสงค์ อิสติบานะฮฺ ให้อ่านพระดำรัสของอัลลอฮฺ    ที่ว่า
             
“ และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธากันและมีความยำเกรงแล้วไซร้  แน่นอนเราจะเปิดสำหรับพวกเขาแล้ว ซึ่งความจำเริญจากฟากฟ้าและแผ่นดิน   แต่ทว่าพวกเขาปฏิเสธ (ต่อนบีทั้งหลาย) ดังนั้นเราจึงได้ลงโทษพวกเขาเนื่องด้วย (ความชั่ว) สิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายไว้ แล้วชาวเมืองนั้นจะปลอดภัยกระนั้นหรือ ในการที่การลงโทษของเราจะมายังพวกเขาในเวลากลางคืน ขณะที่พวกเขาหลับอยู่ (หรืออยู่ในความงมงาย) และชาวเมืองนั้นจะปลอดภัยกระนั้นหรือ ในการที่การลงโทษของเราจะมายังพวกเขาในเวลาสาย ขณะที่พวกเขากำลังเล่นสนุกสนาน(หลงระเริง)อยู่ แล้วพวกเขาจะปลอดภัยจากแผนการของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ  แต่ไม่มีผู้ใดมั่นใจว่าจะปลอดภัยจากแผนการของอัลลอฮฺ นอกจากกลุ่มชนที่ขาดทุนเท่านั้น (เพราะการงานที่ชั่วของตนเท่านั้น พวกเขาจึงคิดเช่นนั้น)”             (อัล อะอรอฟ  96-99)
           
เจ้าจงพิจารณาดูหน้าประวัติศาสตร์ผู้มาก่อนหน้าเจ้า แท้จริงนั่นคืออุทาหรณ์แก่บรรดาผู้ใคร่ครวญ ผู้ใช้สติปัญญาทั้งหลาย แต่มิได้มีการรำลึกนอกเสียจากว่าหัวใจของพวกเขามีม่านกั้นอยู่ (อัลลอฮฺ   ทรงเป็นผู้ช่วยเหลือที่แท้จริงจากสิ่งเหล่านี้) 

         

             

พื้นฐานอะกีดะฮ์

  ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเกี่ยวกับ  อะกีดะฮฺ และ ชะรีอะฮฺ ได้ชี้ให้เห็นถึงหลักการบางส่วนของชะรีอะฮฺ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับหลักการเชื่อมั่นในอิสลาม อะกีดะฮฺ นั้นคือ การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ    บรรดามลาอิกะฮฺ  บรรดาคัมภีร์   บรรดาศาสนทูต วันสิ้นโลก (กิยามะฮฺ) ศรัทธากฎกำหนดสภาวะทั้งดีและชั่ว ดังมีหลักฐานยืนยันแจ้งให้ทราบในอัลกุรอานและสุนนะห์  อัลลอฮฺ   ได้ทรงตรัสไว้ว่า
                 
“หาใช่คุณธรรมไม่ การที่พวกเจ้าผินหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก(ในเวลานมาซ) แต่ทว่าคุณธรรมนั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลก และศรัทธาต่อมลาอิกะฮ ต่อบรรดาคัมภีร์ และบรรดานบีทั้งหลาย.....”                            (อัล บะเกาะเราะฮ 177)
                                             
ทรงตรัสเกี่ยวกับกฎกำหนดสภาวะไว้ว่า
                
“ แท้จริงทุกๆสิ่งนั้น เราได้สร้างมันตามสัดส่วน  และกิจการของเรา (ในการสร้าง) นั้นเพียง(บัญชา)ครั้งเดียว คล้ายกับชั่วพริบตาเดียว”     (อัล เกาะมัร  49 – 50)
             
ตามรายงานในฮะดีษ ของท่านรสูล   ได้กล่าวตอบท่านญิบรีล เมื่อถูกถามเกี่ยวกับการศรัทธาว่า

(( الإيمان أن تؤمن بالله ، وملائكته ، وكتبه ، ورسله ، واليوم الآخر ، وتؤمن بالقدر خيره وشره )) . [ رواه مسلم ]

“การศรัทธาคือ การเชื่อศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺ ต่อบรรดามลาอิกะฮ ของพระองค์ ต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ ต่อบรรดารสูลของพระองค์ ต่อวันสิ้นโลก(วันกิยามะฮฺ)  และศรัทธามั่นต่อกฎกำหนดสภาวะทั้งดีและชั่ว”           

รายงานโดยท่านอิมามมุสลิม

การศรัทธาต่ออัลลอฮ์  Click