ประเด็นที่ 7 เกี่ยวกับการเมือง
  จำนวนคนเข้าชม  37179

ประเด็นที่เจ็ด :
เกี่ยวกับการเมือง

        

  อัลกุรอานได้แจกแจงพื้นฐานที่มา ได้ชี้แนะแนวทาง และได้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องการเมืองไว้นั่นคือ การเมืองมาจากคำว่า ساس يسوس سياسة  คือ การปกครอง การบริหารจัดการ การควบคุมดูแล  ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ  ภายนอก และ ภายใน                                                                                                                            

 สำหรับภายนอกนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานสองประการ คือ 
                                                                                                
 1. การเตรียมสรรพกำลังไว้ให้พร้อมเพื่อกดดัน และปราบปรามศัตรู

 
ดังที่อัลลอฮ์   ได้ตรัสไว้เกี่ยวกับการนี้ว่า

 
"และพวกเจ้าจงจัดเตรียมกำลังไว้สำหรับป้องกัน เท่าที่พวกเจ้าสามารถ อันได้แก่กำลังอย่างหนึ่งอย่างใด และการผูกม้าไว้ เพื่อเป็นการสร้างความหวาดหวั่น ให้กับศัตรูของ  อัลลอฮ์ และศัตรูของพวกเจ้า และพวกอื่นๆอีก ซึ่งพวกเจ้ายังไม่รู้จักพวกเขา แต่อัลลอฮ์ทรงรู้จักพวกเขาดี..."   (อัลอันฟาล : 60)

 
2.  กองกำลังนั้นต้องเป็นเอกภาพ สมบูรณ์แข็งแกร่ง
 
ดังที่อัลลอฮ์    ทรงตรัสว่า

 
"และพวกเจ้าจงยึดสายเชือก (ศาสนา) ของอัลลอฮ์ ไว้ให้มั่น โดยพร้อมเพรียงกันทั้งหมด  และจงอย่าแตกแยกกัน..."   (อาละอิมรอน : 103)
 
 
และอัลลอฮ์   ตรัสว่า

 
“และจงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และเราะซูลของพระองค์เถิด และจงอย่าขัดแย้งกัน เพราะจะทำให้พวกเจ้าย่อท้อ และทำให้ความเข้มแข็งของพวกเจ้าหมดไป และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงอยู่กับผู้ที่อดทนทั้งหลาย" (อัลอันฟาล : 46)  

 
อัลกุรอานยังได้แจ้งให้ปฏิบัติตามสนธิสัญญาการพักรบ หรือสันติภาพ  การยกเลิกสัญญาเมื่อจำเป็น ดังดำรัสของอัลลอฮ์   ที่ว่า
 
 
"...ดังนั้นจงปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้กับพวกเขา จนถึงเวลาของพวกเขาเถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ทรงชอบผู้ที่ยำเกรงทั้งหลาย"   (อัตเตาบะฮ์ : 4)
 

และพระองค์ตรัสว่า

 
"...ดังนั้น ตราบใดที่พวกเขาเที่ยงธรรมต่อพวกเจ้า ก็จงเที่ยงธรรมต่อ พวกเขา แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ทรงชอบบรรดาผู้ที่มีความยำเกรง"    (อัตเตาบะฮ์ : 7)

 
และพระองค์ตรัสว่า

 
"และหากเจ้าเกรงว่าจะมีการทุจริตผิดสัญญา จากกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ก็จงบอกยกเลิกและส่งสัญญานั้นกลับคืนพวกเขาไปโดยตั้งอยู่บนความเท่าเทียม แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ชอบบรรดาผู้ที่ทุจริต"  (อัลอันฟาล : 58)
 

อัลลอฮ์   ตรัสว่า
  
 
“และเป็นประกาศจากอัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ แก่ประชาชนทั้งหลายในวันฮัจญ์อันยิ่งใหญ่ว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงพ้นข้อผูกพันธ์กับบรรดามุชริกีน และศาสนทูตของพระองค์ก็พ้นข้อผูกพันนั้นด้วย...”  (อัตเตาบะฮ์ : 3)                                                                                                
                                              
และพระองค์ยังทรงเตือนให้ระวังอุบายเล่ห์เหลี่ยม และการฉวยโอกาสของพวกนั้น  ดังนั้น พระองค์ทรงตรัสว่า

 
"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย  พวกเจ้าจงยึดถือไว้ซึ่งความระมัดระวัง แล้วจงออกไปเป็นกลุ่มๆ หรือออกไปโดยรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน”   (อันนิซาอ์ : 71)      


และพระองค์ตรัสว่า

 
"...และจงยึดถือไว้ซึ่งความระมัดระวังของพวกเขา และจงระมัดระวังอาวุธของพวกเขา บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น หากพวกเจ้าละเลยต่ออาวุธของพวกเจ้าและสัมภาระของพวกเจ้าแล้ว พวกเขาก็จะจู่โจมพวกเจ้าอย่างรวดเร็ว "   (อันนิซาอ์ : 102)

 
และอายะฮ์ในทำนองนี้ยังมีอีกมากมาย                                                                                                                                                

สำหรับการเมืองภายในนั้น ปัญหาขึ้นอยู่กับ ความสงบปลอดภัยภายในสังคม การขจัดความอธรรม และการคืนสิทธิ์ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นสำคัญ โดยตั้งอยู่บนประเด็นหลัก  ที่สำคัญ  6 ประการดังต่อไปนี้

 1. ศาสนา : มีบัญญัติให้รักษาศาสนาไว้ด้วยชีวิต ด้วยเหตุนี้ท่านเราะซูล     จึงกล่าวว่า


"ผู้ใดที่เปลี่ยนศาสนา (อิสลาม) ของเขา ก็จงประหารเขาเสีย"
บันทึกโดยอิมามอัลบุคอรีย์ เล่มที่ 12 ฮะดีษเลขที่ 238 รายงานจากท่านอิบนุ อับบ๊าส รอฏิยัลลอฮุอันฮุ

 
ดังกล่าว เป็นการป้องปรามอย่างหนัก  ต่อการเปลี่ยนศาสนา  และการทำให้ศาสนาอิสลามหายไปจากเขา

 
 2. ชีวิต : อัลลอฮ์   ทรงบัญญัติไว้ใน อัลกุรอานให้มีการ "กิศ๊อศ" ประหารชีวิตผู้ที่ฆ่าผู้อื่น ให้ตายตกตามกันไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาชีวิตของผู้อื่นเอาไว้
 
ดังดำรัสของพระองค์ ที่ว่า

 
"และในการประหารชีวิตฆาตกรให้ตายตกตามกันไปนั้น คือการรักษาไว้ซึ่งชีวิตสำหรับพวกเจ้า..."  (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 179)

 
และอัลลอฮ์   ทรงตรัสว่า

 
“โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย การประหารฆาตกรให้ตายตกตามกันนั้น ในกรณีที่มีผู้ถูกฆ่าตายนั้น ได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว...”    (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 178)                

 
อัลลอฮ์   ทรงตรัสว่า
 
 
“…และผู้ใดถูกฆ่าอย่างอยุติธรรม ดังนั้นเราได้ให้อำนาจ กำหนดสิทธิ์แก่ทายาทของผู้ตาย (ผู้ปกครองของเขา)ให้มีอำนาจที่จะทวงสิทธิ์ได้...” (อัลอิสรออ์ : 33)

 
3.สติปัญญา: อัลลอฮ์   ทรงประทาน อัลกุรอานมาเพื่อรักษาไว้ซึ่งสติปัญญา   ดังที่อัลลอฮ์   ทรงตรัสว่า

 
"ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ที่จริงสุรา การพนัน แท่นหินสำหรับเชือดบูชายันต์ และการเสี่ยงติ้วนั้น เป็นสิ่งโสมม อันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสีย  เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ" (อัลมาอิดะฮ์ : 90)

 
และในฮะดีษที่ว่า

             
"สิ่งมึนเมาทุกชนิดเป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม)  สิ่งที่จำนวนมากของมันทำให้มึนเมา จำนวนน้อยของมันก็ย่อมเป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม) ด้วยเช่นกัน"
(รายงานโดย อิมามอะห์มัด เล่มที่ 2 ฮะดีษ เลขที่ 91 อัล บัยฮะกีย์ เล่มที่ 8 ฮะดีษ เลขที่ 296)  


และเพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งสติปัญญา จึงมีบัญญัติให้เฆี่ยนผู้ที่ดื่มสุรา

 
4. เชื้อสาย : เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งเชื้อสายวงศ์ตระกูล อัลลอฮ์   จึงได้ทรงกำหนดบทลงโทษผู้ผิดประเวณี (ทำซินา) ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า

 
"หญิงที่ผิดประเวณี และชายที่ผิดประเวณี พวกเจ้าจงเฆี่ยนเขาสองนั้น  คนละหนึ่งร้อยที ..."  (อันนูร  :  2)

 
5. เกียรติยศ : เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศ ศักดิ์ศรี อัลลอฮ์   จึงทรงกำหนดให้มีการเฆี่ยน แปดสิบทีแก่ผู้ที่ปล่อยข่าวให้ร้ายผู้อื่นโดยปราศจากความจริง
 

ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า

 
"และบรรดาผู้ที่กล่าวโทษบรรดาหญิงบริสุทธิ์(ว่าทำผิดประเวณี) และพวกเขามิได้นำพยานสี่คนมายืนยัน พวกเจ้าจงลงเฆี่ยนพวกเขาแปดสิบที และพวกเจ้าอย่ารับการเป็นพยานของพวกเขาเป็นอันขาด...”  (อันนูร : 4)

 
6. ทรัพย์สิน : เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน อัลลอฮ์   จึงมีบัญญัติให้มีการตัดมือผู้ที่ลักขโมย ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า

 
"และขโมยที่เป็นชาย และขโมยที่เป็นหญิงนั้นจงตัดมือพวกเขาทั้งสองเสีย ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบแทนในสิ่งที่เขาทั้งสองได้ก่อกรรมเอาไว้ เพื่อเป็นเยี่ยงอย่างการลงโทษจากอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์นั้นทรงเดชานุภาพ ทรงปรีชาญาณ"  (อัลมาอิดะฮ์ : 38)
 
 
ดังนั้น จึงเป็นการอธิบายให้เห็นชัดเจนว่า  การดำเนินตามอัลกุรอาน  นั้นเป็นการชี้ให้เห็นถึงแนวทางและการค้ำประกันต่อสังคมโดยรวมว่า สังคมจะพบแต่สิ่งที่ดีงาม    ทั้งภายใน และภายนอก นั่นเอง

ประเด็นที่ 8 >>>>Click